วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Blue Glacier - ภูเขาน้ำแข็งสีน้ำเงินที่เก่าแก่กว่าล้านปีกำลังละลาย!!

ภาพสวยๆของ Blue Glacier (ภูเขาน้ำแข็งสีน้ำเงิน) ที่มีอายุกว่าล้านปี

http://www.alaska-in-pictures.com/data/media/16/blue-glacier-face_6774.jpg
http://www.alaska-in-pictures.com/data/media/16/le-conte-glacier_6772.jpg
http://www.travel-destination-pictures.com/data/media/43/sawyer-glacier-alaska_185.jpg

และวันนี้ผลพวงจาก "Global Warming" ปรากฏการณ์ธรมชาติที่ถูกสร้างขึ้นมาจากความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ได้ และ ความมักง่าย ของมนุษย์โลก ที่ร่วมกันสร้างมานานหลายชั่วอายุคน..
ปรากฏการณ์ที่ทำให้เราได้พบเห็นอีกหลายๆปรากฏการณ์
Global Warming
ปรากฏการณ์ ที่ทำให้ มนุษย์ กระตือรือร้นที่จะรักษ์โลก
ปรากฏการณ์ ที่ทำให้ มนุษย์ หันมาใช้วัสดุธรรมชาติ แทน สิ่งประกิษฐ์แสนล้ำ
ปรากฏการณ์ ที่ทำให้ มนุษย์ มีรายได้มากขึ้น โดยการออกผลิตภัณฑ์รักษ์โลกมาขายมากมาย แทนการรณรงค์ให้นำวัสดุที่มีอยู่แล้วมา re-use

ในฐานะผู้อ่าน บทความนี้เป็นบทความที่แฝงความประชดประชัน
ในฐานะผู้เขียน ขอบอกว่าเราไม่ได้กล่าวหาหรือต่อว่า ใคร เลย
เพราะแท้จริง เรา ก็เป็นหนึ่งในมนุษย์ที่ร่วมสร้างปรากฏการณ์นี้ แต่ เราเขียน เพื่อเตือนสติตัวเราเอง
หลายครั้งหลายคราที่เราฮิตจะรักษ์โลก และ มากกว่าหลายครั้งหลายคราที่เราลืมทำมัน

"Global Warming"
ปรากฏการณ์ที่ทำให้เรารู้ว่า จริงๆมนุษย์ก็ไม่ได้รักโลกเท่าไรเลย

ถ้าเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาทรัพยากรบนโลก.. ถ้าเราสามารถมีชีวิตอยู่ที่ไหนก็ได้บนจักรวาลนี้..
ถ้าทุกที่เป็นเหมือนโลกที่เคยเป็น
เราจะยังรณรงค์ให้รักษ์โลกกันอยู่ไหม หรือ เราก็แค่ย้ายโลกไปเรื่อยๆ
เหมือนเวลาที่เราทำอะไรพังแล้วซ่อมไม่ได้ เราก็ทำแค่ ซื้อใหม่
...........


และวีดีโอที่เรากำลังจะได้ดูต่อไปนี้ คือ หนึ่งในผลงานของสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดที่สุดในโลก ที่เรียกว่า "มนุษย์"
การละลายของภูเขาน้ำแข็งสีน้ำเงินที่เก่าแก่ มีอายุมานานกว่าล้านปี!!




ขอบคุณภาพสวยๆ จาก Alaska และ วีดีโอดีดี จาก Mthai
และที่สำคัญ..
ขอบคุณ "ความเห็นแก่ตัว" "ความมักง่าย" ทั้งหลาย ที่ทำให้เราได้ดูภาพการทำลายที่สวยงามแบบนี้

ขอบคุณ!

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มารู้จักสารในสีของผักและผลไม้ที่เราทานกันเถอะ

หลายคนคงเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไม..ผัก และผลไม้ถึงมีสีสันที่แตกกันทั้งสีเขียว สีม่วง สีเหลือง สีแดง ทราบกันหรือไมว่า..สีสวยๆของผักผลไม้เหล่านี้ ยังมีสารที่ให้ประโยชน์แตกต่างกันด้วยนะค่ะ แล้วสารที่ว่าจะอยู่ในผักผลไม้สีอะไรบ้างนั้นต้องตามมาดูกัน..

คาโรทีนอยด์

คาโรทีนอยด์ คือ เม็ดสีเหลือง แสด ที่ละลายในไขมัน ในผักใบเขียว คาโรทีนอยด์อยู่ในคลอโรพลาสต์ ซึ่งมีคลอโรฟิลล์อยู่ด้วย สีเขียวของคลอโรฟิลล์จะกลบสีเหลืองของคาโรทีนอยด์จนมองไม่เห็น

คาโรทีนอยด์เป็นสารพวกไฮโดรคาร์บอนชนิดไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่ประกอบด้วยคาร์บอน 40 อะตอม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แคโรทีน และเบตาแคโรทีน แคโรทีนมีคุณค่าทางโภชนาการ บางครั้งเรียกว่า โพรวิตามินเอ สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอที่ลำไส้เล็ก

การหุงต้มธรรมดาไม่มีผลต่อสี หรือคุณค่าทางอาหาร คาโรทีนอยด์ไม่ละลายน้ำทำให้เป็นการป้องกันไม่ให้สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ แต่เนื่องจากโมเลกุลของคาโรทีนอยด์ไม่อิ่มตัว จึงถูกออกซิไดส์ได้ เมื่อทิ้งให้ถูกอากาศนานๆ จะทำให้สูญเสียวิตามินเอ และทำให้คาโรทีนอยด์ในอาหารตากแห้งเปลี่ยนสี วิธีป้องกัน คือ การลวกผัก และรมควันกำมะถัน หรือคลุกซัลไฟท์ ก่อนที่จะนำผลไม้ไปตากแห้ง

คลอโรฟีลล์

คลอโรฟีลล์ เป็นเม็ดสีที่ให้สีเขียวแก่พืช อยู่ในคลอโรพลาสต์คลอโรฟีลล์ใช้ในการสังเคราะห์แสงของพืช คลอโรฟีลล์ดูดพลังงานจากแสงแดดไว้เพื่อสร้างคาร์โบไฮเดรตจากน้ำ และก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์
คลอโรฟีลล์เป็นโมเลกุลใหญ่ ในพืชที่ใช้เป็นอาหาร พอคลอโรฟีลล์เอ และบี ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับฮีโมโกลบินในเลือด มีข้อต่างคือ ฮีโมโกลบินมีเหล็ก แต่คลอโรฟีลล์มีแมกนีเซียม เมื่อได้รับความร้อนไฮโดรเจนจะเข้าไปแทนที่แมกนีเซียมในโมเลกุลของ คลอโรฟีลล์ได้ง่าย จะได้สารที่ชื่อว่าฟิโอไฟติน ซึ่งมีสีเขียวอมน้ำตาล

เมื่อแมกนีเซียมถูกแทนที่แล้ว จะเติมแมกนีเซียมกลับเข้าไปในโมเลกุลอีกยาก แต่การเติมเกลืออาซีเตค ของเหล็กสังกะสีและทองแดง จะช่วยให้สีเขียวสดใหม่ แต่วิธีนี้ไม่ใช้กันในการหุงต้มผัก เพราะคลอโรฟีลล์ไม่ละลายน้ำ น้ำต้มผักใบเขียวจึงมีสีเขียวเพียงเล็กน้อย คลอโรฟีลล์ที่บริสุทธิ์สามารถถูกทำลายด้วยไขมัน เมื่อใส่ผักใบเขียวลงในน้ำเดือด จะเขียวสด และดูใสขึ้นเพียงพักเดียว ต่อมาจะกลายเป็นสีอมเหลือง

ฟลาโวนอยด์

ฟลาโวนอยด์ แม้เม็ดสีหลายชนิดที่จัดอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์จะมีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึง กัน แต่ก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันมาก อาจแบ่งฟลาโวนอยด์ออกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มคือ แอนโธซานติน ซึ่งมีสีเหลืองนวล แอนโธไซยานิน ซึ่งมีสีม่วงแดง และแทนนินที่ไม่มีสี แต่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้ง่าย

รู้อย่างนี้แล้ว ก็หันมากินผักและผลไม้กันเยอะๆ จะดีกว่านะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีอยู่คู่กับเราตลอดไปค่ะ


Credit: Dailynews

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สวยใสจากภายใน ด้วย 4 อาหารผิว

Antiaging Medicine หรือ การรับประทานอาหารที่มีสารต่อต้านริ้วรอย ชะลอวัย กำลังมาแรง

สวยใสจากภายใน ด้วย 4 อาหารผิว


Antiaging Medicine หรือ การรับประทานอาหารที่มีสารต่อต้านริ้วรอย ชะลอวัย กำลังมาแรง ทั้งในประเทศอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ส่วนใหญ่สารอาหารดังกล่าวจะคัดสรร สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ การเลือกรับประทานผัก ผลไม้ และอาหารเสริม ที่มีส่วนผสมของสารต่อต้านความชราจึงเป็นอีกทางเลือกของความสวยที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ไม่มีคำว่าช้าเกินไป แต่ใครเริ่มเร็วกว่าก็ยิ่งยืดความอ่อนเยาว์ให้ตัวเองได้ยาวนานกว่า และนี่คือสารอาหารที่จะช่วยคงความงามแห่งผิวพรรณจากภายในสู่ภายนอกที่เราขอแนะนำ


Niacin / Vitamin B3
ไนอาซิน หรือ วิตามินบี 3 เป็นวิตามินตัวเดียวที่ร่างกายสังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโน ช่วยบำรุงสมองและประสาท รักษาสุขภาพของผิวหนัง ลิ้น และเนื้อเยื่อของระบบย่อยอาหาร จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศและช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ไนอาซินมีในอาหารทั่วไปที่ได้จากสัตว์และพืช แหล่งที่มีมากคือ เนื้อสัตว์, เนื้อปลา, ถั่ว, ข้าว, เครื่องในสัตว์ แหล่งที่มีปานกลางได้แก่ มันฝรั่ง, ธัญพืช, แหล่งที่มีน้อยคือ น้ำนม, ไข่, ผัก และผลไม้


วิตามินเอ
วิตามิน เอ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ เรตินอยด์ (Retinoids) และแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) วิตามินเอเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยในเรื่องการป้องกันการเสื่อมอายุของผิวหนัง การซ่อมแซมผิวหนังที่เสียไป นอกจากนี้วิตามินเอยังมีความสำคัญต่อกระบวนการเติบโตของผิวหนัง และเป็นสารสำคัญที่ช่วยทำให้ผิวหนังมีการทำงานอย่างปกติ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันมะเร็งและเสริมสุขภาพตา แหล่งอาหารที่พบคือ ไข่, นม, เนย, ปลาแซลมอน, ปลา Halibut, ผักใบเขียว เช่น บร็อกโคลี, ผักโขม, แอสพารากัส, มะละกอ, แคนตาลูป, มะเขือเทศ, ฟักทอง



วิตามินบี-คอมเพล็กซ์
วิตามิน ในกลุ่มนี้ มีความสำคัญต่อสุขภาพผิวหนังเป็นอย่างมาก ช่วยในกระบวนการผลิตพลังงานภายในเซลล์ เช่น วิตามินบี 2 ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ วิตามินบี 3 ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และทำให้ผิวหนังไม่ซีด วิตามินบี 12 ช่วยในการแบ่งเซลล์ วิตามินบี 9 ช่วยในเรื่องการแบ่งและเจริญเติบโตของเซลล์ นอกจากนี้ กรดโฟลิกยังช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง แหล่งอาหารที่พบมากคือ บร็อกโคลี, มันฝรั่ง, เห็ด, แครอท, มะเขือเทศ, กะหล่ำปลี, ผักโขม, กล้วย, แอปเปิ้ล, มะเขือ, ผลไม้ในกลุ่มส้ม, ไข่, เนื้อไก่, เนื้อปลาแซลมอน และปลาทูน่า


Vitamin C
วิตามิน ซีเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการสังเคราะห์และช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทั้งนี้คอลลาเจนจะไม่สามารถทำงานได้หากขาดวิตามินซี นอกจากนี้วิตามินซียังมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว และชะลอการเกิดริ้วรอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การใส่ใจดูแลตัวเองด้วยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่สม่ำเสมอ นับเป็นหนึ่งในเคล็ดลับความงามที่พูดง่ายแต่ทำยาก แต่ WP ก็เชื่อว่า ถ้าเรามีความตั้งใจจริงก็สามารถสร้างสรรค์ตัวเองให้ดูสวยอ่อนเยาว์ได้โดยไม่ต้องพึ่งเทคนิคศัลยกรรม ยิ่งโดยเฉพาะในยุคนี้ มีอาหารเสริมวิตามินรสชาติอร่อยมากมายมาให้เลือกเป็นทางลัดด้วยแล้วยิ่งสบาย งั้นเรามาเริ่มกินและดื่มเพื่อผิวพรรณกันตั้งแต่นี้เลย...ดีไหม


Credit: นิตยสาร Women Plus

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ภัยคอนแทคเลนส์ "อะแคนทะมีบา"


ดวงตา คือ หน้าต่างที่ทำให้เรามองเห็นโลกกว้าง ถ้าไม่ดูแลรักษาให้ดีก็อาจทำให้เราก้าวเข้าสู่โลกมืด หรือ มีความผิดปกติทางสายตารุนแรงโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากละเลยข้อควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดก็อาจเป็นเหมือนการเปิดประตูต้อน รับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มองไม่เห็นอย่าง "อะแคนทะมีบา" เข้ามารุกรานและทำอันตรายต่อดวงตา

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.พญ.พนิดา โกสียรักษ์วงศ์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "อะแคนทะมีบา" เป็นโปรตัวซัวแบบเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ในน้ำและดิน มีช่วงชีวิต 2 แบบ คือ

1. แบบซีสต์ มีขนาด 10-25 ไมครอน เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เพียงแต่จะฝังตัวอยู่นิ่งๆ
2. แบบโทรโฟซอยต์ ที่เคลื่อนไหว มีขนาด 15-45 ไมครอน จะเปลี่ยนรูปร่างจาก ซีสต์ มีฤทธิ์ทำลายดวงตา


อย่างไรก็ตาม เชื้ออะแคนทะมีบาทั้ง 2 แบบ สามารถทนทานอยู่ได้นานในสิ่งแวดล้อมทุกรูปแบบ เช่น หนาวจัด ร้อนจัด แห้งแล้ง ขาดอาหาร สระว่ายน้ำที่ใส่คลอรีน หรือแม้แต่บ่อน้ำร้อน

เกี่ยวข้องอย่างไรกับคนใส่คอนแทคเลนส์
ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ สามารถพบกระจกตาอักเสบเนื่องจากติดเชื้ออะแคนทะมีบาได้ โดยส่งผลทำให้เกิดอาการดังนี้ ปวดตามาก สู้แสงไม่ได้ กระจกตาขุ่น ฝ้า เป็นแผลอักเสบที่กระจกตา ในบางรายดูคล้ายอักเสบเนื่องจากติดเชื้อไวรัสเริม

วิธีรักษา
ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ในส่วนของการรักษา โดยทั่วไปจะต้องหยอดตาด้วยยาฆ่าเชื้อนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องผสมจากน้ำยาบางชนิดที่ไม่มีขายในท้องตลาด โดยจะต้องหยอดตาบ่อยๆ เป็นเวลานานหลายเดือน หรืออาจเป็นปี และเฝ้าติดตามดูอาการเป็นระยะๆ นานหลายปี เนื่องจากเชื้ออะแคนทะมีบาสามารถมีชีวิตอยู่ในรูปแบบของซีสต์ได้นานหลายสิบ ปี ดังนั้นเมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีเชื้อโรคที่ไปเป็นอาหารชั้นดีของเชื้อ อะแคนทะมีบา ซีสต์ดังกล่าวก็จะแปลงร่างเป็นโทรโฟซอยต์ทำให้ดวงตาอักเสบทันที

ทำอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อ
1. ล้างมือทำความสะอาดโดยการฟอกสบู่หลาย ๆ ครั้ง ก่อนหยิบจับคอนแทคเลนส์
2. น้ำยาทำความสะอาดล้างเลนส์ ควรใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน ไม่เก่าเก็บเกิน 2 เดือนหลังจากเปิดใช้แล้ว
3. ขัดถูล้างเลนส์ทั้ง 2 ด้านเป็นเวลาพอสมควร ตลอดจนล้างขัดถูตลับแช่เลนส์ให้สะอาดทุกครั้งก่อนใส่น้ำยาแช่เลนส์ที่ เปลี่ยนใหม่ทุกวัน เพราะโรคนี้มักพบในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มบ่อยกว่าชนิดแข็ง โดยเฉพาะไม่ล้างทำความสะอาดเลนส์ทุกวันหรือใส่นอน
4. ควรนำตลับแช่เลนส์อบไมโครเวฟทุก 2-3 สัปดาห์ และเปลี่ยนตลับใหม่ทุก 2-3 เดือน เนื่องจากเชื้อโรคนี้อยู่ทนทาน

หากมีอาการหรือพฤติกรรมต่อไปนี้ อย่าใส่คอนแทคเลนส์
1.เปลือกตาอักเสบ
2.ตาแห้ง
3.เป็นโรคภูมิแพ้
4.ไม่มีเวลาดูแลล้างทำความสะอาดคอนแทคเลนส์

เนื่องจากเชื้ออะแคนทะมีบาเป็นสาเหตุสำคัญของอาการกระจกตาอักเสบและยังส่งผลให้เกิดแผลที่ดวงดา ที่ร้ายไปกว่านั้นคือมีความอดทนต่อยาที่ใช้รักษาทุกชนิด ทำให้ต้องหยอดยาเป็นเวลานาน และในบางรายอาจไม่ตอบสนองต่อยา เป็นผลให้เชื้ออาจมีการลุกลามไปทั่วทั้งกระจกตา จนเกิดอาการอักเสบทั้งลูกตาได้

การรักษาต้องหยอดยาเป็นเวลานาน ถ้ามีอาการอักเสบมาก จักษุแพทย์จะทำการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาให้ แต่ก็สามารถกลับมามีเชื้อชนิดนี้ได้อีก จึงต้องเฝ้าติดตามดูอาการเป็นเวลานาน และในบางรายอาจมีอาการหนักถึงขั้นที่ต้องได้รับการผ่าตัดเอาลูกตาออกในที่สุดแม้ว่าจะผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาแล้วก็ตาม เนื่องจากสามารถกลับมามีเชื้อชนิดนี้ได้อีก

ดังนั้นการใส่คอนแทคเลนส์แล้วปฏิบัติตัวไม่ถูกวิธี มีสิทธิติดเชื้อจนตาบอดได้ ยิ่งเห่อใส่ตามแฟชั่น ยิ่งต้องควรระวังมากกว่าปกติ เพราะหากดูแลดวงตาและรักษาคอนแทคเลนส์ไม่ถูกวิธี อาจมีเชื้อโรคเข้าสู่ดวงตาได้ง่าย หรือแค่ฝุ่นละอองปลิวเข้าตา ก็อาจพาเชื้อ อะแคนทะมีบา เข้าไปได้ด้วยเหมือนกัน ส่วนผู้ที่ไม่มีเวลาทำความสะอาดล้างเลนส์ แนะนำให้ใส่ชนิดรายวันแล้วทิ้ง หรือเปลี่ยนเป็นใส่แว่นตาจะปลอดภัยกว่า เพื่อให้ดวงตาคู่สวยของคุณมองเห็นโลกสดใสและจะอยู่คู่ชีวิตคุณได้ตลอดไป.

นวพรรษ บุญชาญ : สัมภาษณ์

Credit: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์