วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ปุจฉา-วิสัชชนา

ใน 1 วันสามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้กี่ชั่วโมงและควรจะทำอย่างไร เมื่อเคยเป็นโรคตาแห้งจากการใส่คอนแทคเลนส์เป็นระยะเวลานานๆ ?

ระยะเวลาที่แนะนำคือ 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่ช่วงเวลาของการใส่อาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาวะของลูกตาที่แตกต่าง กันไปของผู้ที่ใส่ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีอาการตาแห้งจากการใส่คอนแทคเลนส์เพียงแค่ 4 ชั่วโมง ซึ่งขณะที่บางคนอาจจะได้รับบาดเจ็บจากดวงตาและบางครั้งอาจจะเกิดจากการใส่ คอนแทคเลนส์เพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ดังนั้นโปรดปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา และดูแลรักษาสุขภาพตาของคุณอยู่เสมอ ถ้าคุณรู้สึกว่าตาแห้งขณะที่สวมใส่คอนแทคเลนส์ มันอาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่คุณอยู่ในขณะนั้น เช่น แอร์คอนดิชั่น, มีลมแรง, ระดับความชื้นต่ำ และอื่นๆ,การใช้สารหล่อลื่นของคอนแทคเลนส์ เช่นเดียวกับ ยาหยอดตายี่ห้อ Blink ที่มีส่วนผสมของ Sodium Hyaluronate ( HA ), ส่วนผสมจากโดยธรรมชาติที่สามารถค้นพบได้ในร่างกายของคุณ .นั่นคือสามารถที่จะอมน้ำ 1,000 เท่าน้ำหนักของมัน ,อีกทั้ง มันไม่เป็นอันตรายต่อดวงตาของคุณเพราะปราศจากสารกันเสีย


การใส่คอนแทคเลนส์ในเวลานอนจะปลอดภัยหรือไหม ?
ไม่แนะนำและไม่ปลอดภัยสำหรับคอนแทคเลนส์ที่ใช้ใส่ทุกวัน เพราะดวงตาของคุณจะรับความเสี่ยงมากขึ้นจากการขาดอ๊อกซิเจน โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ถ้าคุณต้องการใส่คอนแทคเลนส์ในเวลานอน


การใส่คอนแทคเลนส์ว่ายน้ำจะปลอดภัยหรือไม่ ?
เราแนะนำให้คุณสวมใส่แว่นตาเพื่อความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณต้องใส่คอนแทคเลนส์สำหรับว่ายน้ำ กรุณาเลือกคอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยนทิ้งแบบรายวัน เพราะไม่ต้องมีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค อย่างไรก็ตาม น้ำจากสระว่ายน้ำ และน้ำทะเลมีสิ่งสกปรก และเชื้อจุลินทรีย์ และมันจะเพิ่มอัตราของการติดเชื้อที่กระจกตา เมื่อเวลาที่ใส่คอนแทคเลนส์ (กระบวนการ Metabolism ลดลงเนื่องจากการขาดออกซิเจน )คอนแทคเลนส์แบบราย 2 สัปดาห์, เลนส์ที่ใช้แล้วทิ้งแบบรายเดือนและ คอนแทคเลนส์ถาวร จึงไม่แนะนำให้ใช้ใส่สำหรับว่ายน้ำเพราะสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เหมือนกับ เชื้อ acanthamoeba สามารถพบได้ในสระว่ายน้ำ,และคอนแทคเลนส์ของคุณสามารถติดเชื้อโรคเหล่านี้ได้

ฉันสามารถใส่คอนแทคเลนส์ร่วมกับเพื่อนได้ไหม ?
คอนแทคเลนส์เป็นอุปกรณ์การรักษาทางการแพทย์ และเหมาะสมสำหรับใช้ส่วนตัวของแต่ละคน การแลกเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ยังสามารถแพร่เชื้อแบคทีเรียเป็นอันตรายต่อกันได้, ซึ่งสามารถนำไปสู่การติดโรคติดต่อทางตาหรือสภาวะอันตรายต่อดวงตาอื่นๆได้

ฉันจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคอนแทคเลนส์เลนส์ของฉันสะอาด?
โปรดปฏิบัติตามขั้นตอนทั้ง 7 ขั้นตอน เพื่อการใส่คอนแทคเลนส์ที่มีคุณภาพ

  1. ล้างมือให้สะอาดและทำให้แห้งก่อนที่จะใส่หรือถอด คอนแทคเลนส์
  2. ทำความสะอาดตลับใส่คอนแทคเลนส์และทำให้แห้งอยู่เสมอ
  3. ถูทำความสะอาดคอนแทคเลนส์เพื่อการทำความสะอาดเป็นพิเศษ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
  4. ห้ามใส่คอนแทคเลนส์เกินระยะเวลาที่กำหนดไว้
  5. ไม่ควรนำน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์ที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีก
  6. ไม่ควรสัมผัสปลายขวดของน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์
  7. ถอดและหยุดใส่คอนแทคเลนส์ ถ้าเกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับตาของคุณ
ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณสามารถทำได้มากกว่านั้นถ้าคุณต้องการความสะอาดและความปลอดภัยในการสวมใส่

ฉันควรจะใส่คอนแทคเลนส์ก่อนหรือหลังจากการแต่งหน้า?
คุณควรใส่คอนแทคเลนส์ก่อนแต่งหน้า และควรถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อนการล้างเครื่องสำอางของคุณ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ เนื่องจากน้ำมันจากเครื่องสำอาง สิ่งแปลกปลอมที่เป็นสารเคมีในเครื่องสำอางหรือแม้กระทั่งสารต่างๆที่ติดอยู่บนนิ้ว จะทำให้คอนแทคเลนส์สกปรกค่ะ สัมผัสกับคอนแทคเลนส์

ผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์ควรดูแลรักษาดวงตาอย่างไรในขณะเดินทาง?
ถ้าเป็นการเดินทางโดยทางบก ทำการดูแลรักษาเช่นเดียวกับปกติ ควรถอดคอนแทคเลนส์ก่อนนอนทุกครั้ง สำหรับในการเดินทางไกล มีข้อแนะนำดังนี้
1.อากาศบนเครื่องที่ค่อนข้างแห้ง จะทำให้คอนแทคเลนส์สูญเสียความชื้นไปอย่างรวดเร็ว ให้ใช้น้ำยาหยอดตาทุกๆ สองชั่วโมงเพื่อคงความชุ่มชื้นให้กับดวงตา และให้ทำเช่นเดียวกันกับการเดินทางไปประเทศที่มีอากาศหนาว
2. นำแว่นตาไปในระหว่างการเดินทางด้วย เพื่อเปลี่ยนใส่กับคอนแทคเลนส์หรือสำรองไว้ในกรรีที่คอนแทคเลนส์มีปัญหาหรือสูญหาย
3. นำแว่นกันแดดไปด้วยเพื่อปกป้องดวงตาจากแสงแดดและการสะท้อนของแสงยูวี
4.ถอดคอนแทคเลนส์เมื่อคุณรู้สึกไม่สบายตา ทำความสะอาดและแช่ไว้ในน้ำยา Multi-purpose อาจจะลองใส่คอนแทคเลนส์อีกครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้ายังคงมีปัญหาเช่นเดิม ให้ถอดออกและอย่าพยายามใส่อีกเพื่อป้องกันความบาดเจ็บที่อาจจะเกิดกับดวงตา
5. นำยาหยอดตาที่มียาปฏิชีวนะ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เกร็ดความรู้สำหรับผู้เริ่มใส่คอนแทคเลนส์

สำหรับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์แล้วเรื่องการดูแลรักษานั้นถือเป็นเรื่องปกติค่ะ แต่สำหรับมือใหม่หัดแอ๊บแล้วอาจจะยังไม่รู้เทคนิคมากนัก วันนี้เรามีเกร็ด เคล็ดลับเล็กๆน้อยๆ ในการดูแลคอนแทคเลนส์มาฝากค่ะ

1. หมั่นตัดเล็บ ดูแลไม่ให้คม อาจเกี่ยวให้เลนส์ขาดได้
2. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งที่จับเลนส์
3. ใส่เลนส์ให้เรียบร้อยจึงแต่งหน้า และถอดเลนส์ก่อนล้างเครื่องสำอางออก
4. ถ้าไม่สบายตาขณะใส่เลนส์
- ลองหยดน้ำตาเทียม (Lens Lubricant) ช่วยหล่อลื่นให้เลนส์มี การเคลื่อนไหวอาจสบายขึ้น
- ถ้าไม่หาย ให้ถอดเลนส์ออก ทำความสะอาด และลองใส่ใหม่
- ลองส่องดูว่า เลนส์มีรอยฉีกขาด เพราะขอบที่คมอาจขูดผิวตาดำ ทำให้เคือง
- ถ้าถอดเลนส์แล้วยังไม่หายเคือง ต้องรีบมาพบแพทย์
5. ถ้าตาแดง มีขี้ตามาก น้ำตาไหลผิดปกติ ให้หยุดใส่เลนส์
6. คุณควรมีแว่นตาสำรองเพื่อเวลาต้องถอดเลนส์จะได้ไม่ลำบาก
7. คุณควรมีตลับเล็กๆ บรรจุน้ำยา CL ไว้สำรองในกระเป๋า เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน คุณสามารถถอด เลนส์ได้เสมอ ไม่ปล่อยให้ตาอักเสบมากจนเกินไป
8. คุณควรหาเวลาไปพบแพทย์เป็นระยะสม่ำเสมอถ้าคุณใส่เลนส์ถอดทุกว้น คุณควรพบแพทย์ทุก 4-6 เดือนถ้าคุณใส่เลนส์นอน คุณควรพบแพทย์ทุก 3 เดือน
9. ทุกครั้งที่มีปัญหา เจ็บและเคืองผิดปกติ คุณควรหาโอกาสตรวจดูตาคุณ ทันทีที่ทำได้

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ค่ะ

การแพ้คอนแทคเลนส์ G.P.C. (Giant Papillary Conjunctivitis)

ภาวะการแพ้คอนแทคเลนส์ G.P.C. (Giant Papillary Conjunctivitis) เป็นอาการที่พบได้อยู่เสมอโดยเฉพาะกลุ่มที่ใส่เลนส์ข้ามคืนเป็นประจำ เนื่องจากเลนส์ที่ใส่นอนได้มักมีปริมาณน้ำในเนื้อเลนส์สูง ทำให้เกิดคราบโปรตีนเกาะได้ง่าย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราอยู่ในภาวะการแพ้คอนแทคเลนส์ G.P.C. หรือไม่ เราสามารถสังเกตุได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้ค่ะ

อาการของผู้ที่แพ้คอนแทคเลนส์

- ใส่เลนส์ไม่ทน แสบ เคืองตา คันตา
- ตื่นนอนตอนเช้ามักมีขี้ตาเสมอ
- ตามัวบ่อยๆ เวลากระพริบตา เลนส์จะเลื่อน ภาพมัว
- ต้องเปลี่ยนเลนส์ย่อยๆ กรณีใส่เลนส์ชั่วคราว

สาเหตุของการแพ้คอนแทคเลนส์
- เลนส์เก่าเกินอายุใช้งาน
- การทำความสะอาดไม่ดีพอ คราบโปรตีนเกาะมาก
- เนื้อเลนส์อมน้ำมาก และโปรตีนเกาะง่าย
- เลนส์ไม่เกาะตา จากความโค้งไม่เหมาะสม
- เลนส์มีขอบหนา ระคายเคือง
- ผู้ใส่มีโรคภูมิแพ้ หรือแพ้สารเคมีในน้ำยาแช่เลนส์

การรักษา
- แนะนำวิธีดูแลเลนส์ที่เหมาะสม
- ถ้าจำเป็นต้องใส่เลนส์ ให้ใช้เลนส์ชั่วคราว และเปลี่ยนเลนส์ใหม่ถ้ารู้สึกไม่ สบายตา
- เปลี่ยนความโค้งและชนิดเลนส์ให้เหมาะสม
- เปลี่ยนน้ำยาที่เหมาะสม
- ให้ยาระงับอาการ และปรับสภาพเยื่อบุตา
- ถ้าจำเป็น อาจต้องใช้เลนส์กึ่งแข็งกึ่งนิ่ม
- ห้ามไม่ให้ใส่เลนส์นอน หรือติดต่อกันมากวัน

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ค่ะ

ภาวะตาแห้ง คืออะไร

ภาวะตาแห้ง เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อดวงตาข้างใดข้างหนึ่งผลิตน้ำตาออกมาน้อย หรือน้ำตาที่ผลิตออกมาขาดส่วนประกอบที่จะช่วยหล่อลื่นและป้องกันพื้นผิวของดวงตา

น้ำตามีความสำคัญอย่างไร
น้ำตาเป็นขบวนการป้องกันทางธรรมชาติ ถูกผลิตโดยต่อมน้ำตารอบๆ ดวงตา หลั่งออกมาเพื่อป้องกันและให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวรอบๆ ดวงตา

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะตาแห้ง
1. อายุ โดยทั่วไปอายุเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากอัตราการไหลของน้ำตา และประสิทธภาพของฟิล์มน้ำตาจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น เช่น อายุ 40 ปี จะมีการ ผลิตน้ำตาเพียงครึ่งหนึ่งของอายุ 10 ปี และภาวะตาแห้งนี้ จะเกิดทั้งผู้ชายและ ผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนจะเกิดได้มากกว่า
2. สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะตาแห้งได้ เช่น การใช้ สายตา หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ การดูทีวี การอยู่ในห้องปรับอากาศ รวมทั้งภาวะ มลพิษทางอากาศ
3. คอนแทคเลนส์ ประมาณ 20-30% ของผู้ใส่คอนแทคเลนส์ จะเกิด ภาวะตาแห้ง เนื่องจากเลนส์จะมีคุณสมบัติชอบดูดน้ำ
4. ปัจจัยอื่นๆ เช่น การใช้ยาบางชนิด พยาธิสภาพของโรคบางอย่าง

อาการทั่วไป
โดยทั่วไป ภาวะตาแห้งจะมีอาการดังต่อไปนี้
* แสบตา ตาแดง
* น้ำตาไหล
* ตาแห้ง
* เคืองตา
* แพ้แสง
* ระคายเคืองคล้ายมีผงในตา

การรักษา
เริ่มต้นบรรเทาภาวะตาแห้ง โดยใช้สารหล่อลื่นบริเวณดวงตา ซึ่งสารเหล่านี้จะมีสภาวะคล้ายน้ำตามนุษย์ ช่วยป้องกันและให้ความชุ่มชื่นแก่ดวงตา ที่เรียกกันว่า น้ำตาเทียม ส่วนการรักษาที่แท้จริงยังไม่มี วิธีที่ดีที่สุดคือพบจักษุแพทย์ เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจและแนะนำวิธีป้องกัน และบรรเทาอาการภาวะตาแห้งที่เกิดขึ้น


ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ค่ะ

กรณีศึกษา: ภูมิแพ้ตา

สาวๆที่ใส่คอนแทคเลนส์ทั้งคงจะเคยเห็นคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มใส่คอนแทคเลนส์จากร้านขายคอนแทคเลนส์แล้วว่า คุณควรไปพบจักษุแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อทำการตรวจสุขภาพของดวงตาก่อนที่จะใส่คอนแทคเลนส์นะคะ เพื่อตรวจสอบว่าดวงตาของคุณมีการติดเชื้อใดๆที่ยังไม่ปรากฏอาการออกมาหรือไม่ คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ตาหรือไม่ ดวงตาของคุณมีการผลิตน้ำตาออกมาน้อยหรือที่เรียกว่าตาแห้งหรือไม่ แล้วค่าสายตาที่เหมาะสมสำหรับคอนแทคเลนส์ของคุณนั้นคือเท่าไร คุณแพ้วัสดุที่ใช้ในการผลิตคอนแทคเลนส์ชนิดใดบ้าง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของดวงตาคุณเอง คือ เมื่อคุณรู้สถานะของดวงตาคุณแล้ว คุณจะสามารถหลีกเลี่ยง หรือรู้ว่าคุณเองเหมาะที่จะใส่คอนแทเลนส์หรือไม่

เมื่อหลายวันก่อนแอฟบังเอิญไปอ่านเจอกระทู้หนึ่งของจีบัน กล่าวถึง การเตือนภัยคอนแทคเลนส์กับภูมิแพ้ตา เลยเอามาโพสท์ไว้ให้เพื่อนๆอ่านเพื่อเป็นกรณีศึกษาค่ะ ถ้าหากเพื่อนๆเกิดอาการคล้ายคลึงกับเจ้าของบทความข้างล่างนี้ล่ะก็ อย่าชะล่าใจไปนะคะ รีบไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงทีค่ะ :D
-----------------------------------------------------------------------------



เกริ่นเลยแล้วกันนะคะ ; DDD

จินเป็นคนสายตาสั้นค่ะ แต่ไม่ปลื้มการใส่แว่นน(>д<)°°
เลยใส่คอนเทคแบบใสๆค่ะ ใส่มาก็นานแล้วเหมือนกัน 2 ปีกว่าา
แต่พอมีเจ้า maxim ออกมา ก็ซื้อใส่แทนเลนส์ใสไปเลยค่ะ

แล้วก็ใส่มากนานมากกกกก ,, ,
ร่วมปี จนกระทั่งเริ่มมีความผิดปกติที่ตาค่ะ。。。(ノд・。)
คือเหมือนกับว่า เจ้าแม๊กซิมนี่จะชอบไปติดอยู่ครึ่งๆตาค่ะ
เหมือนกับมันไม่ยอมลงมาครอบตาดำทั้งหมด แต่จะครอบแค่ครึ่งเดียว

ตอนนั้นก็ไม่เอะใจค่ะ ก็เอานิ้วนี่แหละ จิ้มๆดึงๆมันลงมา
(;¬д¬) บางทีก็คิดว่าเปนเพราะคอนเทค / น้ำยา หรือ ว่าตาอาจจะแห้ง
ก็เลยเปลี่ยนเลนส์คู่ใหม่ทุกครั้งที่เป็นค่ะ

เป็นมาหลายเดือนเหมือนกัน
จนกระทั่งตรงบริเวณหัวตาเริ่มๆเป็นเส้นเลือดฝอยๆ ออกมา
แล้วตรงดิ่งเข้าลูกตาดำค่ะ แล้วก็เคืองตามากก(TдT)
สีตาดำก็เริ่มจางลงง แต่รู้ไหมคะ ? (>д<) ตอนนั้นดีใจ ๕๕๕๕
เพราะมันสวยมากกก ( ไม่รู้เรื่องเล๊ยยย )

แล้วก็มีเหมือนกับเป็นคราบโปรตีนเปนก้อนเลยนะคะ (ノд・。)
ก้อนแบบนิ่มๆ ที่หัวตา สีขาววๆ
ตอนนั้นก็ยังไม่ไปหาหมอค่ะ ( อินี่ดื้อด้านมาก )
คิดว่าเปนเพราะเลนส์สี เลยเปลี่ยนมาใส่เลนส์ใส

แต่ก็ไม่ช่วยอะไรค่ะ ยังเหมือนเดิม (/д\)
จนกระทั่งมันไม่ไหวแล้ววว ขอบตาดำเปนแดงงๆน่ากลัวมากกก
เลยไปหาหมอค่ะ



หมอก็บอกว่า .. . .. ..
ถ้ามาช้ากว่านี้อีกซักอาทิตย์นึงจินต้องควักลูกตาออก!(ノ゚д゚)ノ
ตกใจมากกกกกก ไม่คิดว่ามันจะอะไรขนาดนี้ค่ะ แล้วหมอก็บอกอีกว่า
เพิ่งจะผ่าตาคนไข้ไปเมื่อวานเองค่ะ ใส่คอนเทคเหมือนกัน
แล้วหมอก็ด่าาาาาๆ - - คือ ไม่เชิงด่าหรอกค่ะ
เหมือนจะตักเตือนแล้วก็ตำหนิเรามากกว่า (>д<)

คุณหมอบอกว่าเลนส์สีจะมีรูออกซิเจนน้อยกว่าเลนส์ใสค่ะ
แล้วตาดำของเราก็ต้องการออกซิเจนด้วยแล้วเหมือนกับว่า
เลนส์ใสก็มีรูออกซิเจนน้อยอยู่แล้ว
แต่เรายังทำให้รู้มันน้อยลงไปอีกด้วยการใส่เลนส์สี
ทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยออกมาจากหัวตาค่ะ

แล้วผนังตาด้านในก็เปนผื่นค่ะ
หมอบอกเยอะมากกกกกกกกกกกกกกกกก
ไอเจ้าผื่นๆนี่แหละค่ะที่น่ากลัว (゚д゚)

เพราะต่อไปเจ้าผื่นนี่มันก็จะบวมมมม
เกิดหนองง แล้วก็จะติดเชื้อ ทำให้ต้องควักลูกตาออกไปเลยค่ะ (ノ゚д゚)ノ

หมอบอกว่าส่วนหนึ่งอาจจะเพราะ เราเป็นภูมิแพ้ตา แพ้สารเคมีในคอนเทค
เพราะการที่เราไปซื้อคอนเทคตามร้าน เค้าไม่ตรวจตาให้เราหรอกค่ะ
เค้าแค่จะวัดสายตาแค่นั้น คุณหมอบอกว่าจริงๆคนเราควรจะตรวจเชคสภาพตา
ว่าเราใส่คอนเทคได้รึเปล่า เราเป็นภูิมแพ้ไหม น้ำตาเราแห้งรึเปล่า

คุณหมอก็จ่ายยามา ยาเยอะมากกกกก 3 ชุด
กับหยอดอีกหนึ่ง แล้วก็ยาแก้แพ้อีกหนึ่ง
คุณหมอบอกตาเราแพ้ได้หลายอย่าง แพ้ลมแอร์ แพ้ฝุ่น แพ้เกสร แพ้นู่นแพ้นี่
เราไม่อาจทราบได้ค่ะ เลยต้องป้องกันไว้ โดยการหยอดยากันแพ้ค่ะ
แล้วหมอก็บอกว่า ห้ามใส่คอนเทคเลนส์ตลอดชีวิต!
Ψ(´д`)Ψ

แต่ตอนนั้นทั้งตกใจทั้งกลัวเลยไม่ใส่อีกเลย ๕๕๕
บางทีก็ไม่ใส่แว่น เดินน เพื่อนก้็ถามว่า มองเห็นหรอ
คือมองเห็นน่ะเห็นอยู่หรอกค่ะ แต่มันไม่เหนรายละเอียดด ;[[
แต่ถ้าอยู่บ้านก็ใส่นะคะ


ตอนนี้ผ่านมา 5 เดือนแล้วค่ะะ (*^д^)
ไปซื้อยาแก้แพ้ทุกเดือน บางทีก็ซื้อมาตุนหลายๆขวด หยอดแล้วรู้สึกดีมากๆเลยค่ะ
แล้วก็กลับมาใส่คอนเทคอีกครั้งง ๕๕๕๕๕๕ o(*≧д≦)o แบบใสนะคะ
ภรรยาของคุณหมอแอบบอกไว้ค่ะ ตอนไปซื้อยาแก้แพ้
ว่าคนเปนภูมิแพ้ใส่ได้นะคะคอนเทค แต่ต้องหยอดยาแก้แพ้ไปด้วย ทุกๆ 3 ชั่วโมง
แล้วก็ไม่ควรใส่เกิน 6 ชม. ต่อวันค่ะ


ตอนนี้เลยใส่เฉพาะตอนไปมหาลัยค่ะ
จะไปแล้วถึงใส่ พอกลับมาก็รีบถอดค่ะ กลัวววว

พูดมาซะยาวเลยย ๕๕๕๕

อยากถามสาวๆว่าคนไหนเป็นภูมิแพ้บางจ๊า?? ; DD
แล้วก็บางคนถ้าไม่จำเป็นก็อย่าใส่เลยนะคะเจ้าคอนเทคเนี่ยยย
มันน่ากลัวจิงๆค่ะ เจอกับตัวถึงรู้ค่ะ

-----------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณบทความ ★ เตือนภัยคอนเทค กับ ภูมิแพ้ตา ค่ะ :] จากคุณ JiNN♥ และ เวปจีบันค่ะ


โพสท์เสร็จแล้วก็วิตกว่ายอดขายฉันจะร่วงมั้ยนี่ อึ๋ยยยย~
("_ _)

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เคล็ดไม่ลับ กับ การดูแลคอนแทคเลนส์!

จริงๆแล้วการใช้คอนแทคเลนส์นั้นไม่ได้ยากเย็นและอันตรายอย่างที่ใครๆคิดกัน แต่เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของการใส่คอนแทคเลนส์นั้นอยู่ที่การดูแลรักษาความสะอาด ถึงแม้ว่าคอนแทคเลนส์ที่คุณใส่จะเป็นแบบรายเดือนคือมีอายุแค่ 30 วันก็ตามที แต่การดูแลรักษาความสะอาดก็เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากคอนแทคเลนส์นั้นต้องสัมผัสกับดวงตาโดยตรง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและความสบายของดวงตา การดูแลรักษาคอนแทคเลนส์จึงป็นเรื่องสำคัญมาก ทุกครั้งที่เราทำการถอดคอนแทคเลนส์ เราต้องทำความสะอาดเสมอเพื่อทำการฆ่าเชื้อโรค ด้วยผลิตภัณฑ์สำหรับคอนแทคเลนส์โดยเฉพาะ เช่น น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ น้ำยาละลายคราบโปรตีน เป็นต้น

การทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ด้วยการล้างน้ำยาทุกครั้งนั้น จะช่วยให้เมือกตาหรือสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานนั้นให้หลุดออกไป ซึ่งส่วนมากจะเป็นสารจำพวกโปรตีนเสื่อมสภาพที่เข้ามาเกาะสะสมบนคอนแทคเลนส์ ส่วนการแช่น้ำยานั้น จะเป็นการช่วยกำจัดเชื้อโรคอีกทางหนึ่งซึ่งถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะมันสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคที่จะเป็นอันตรายกับดวงตาสวยๆ ของคุณที่กำลังตามมาเป็นขบวน (หากคุณไม่รักษาความสะอาดดีๆ) และเพื่อเป็นการเพิ่มความกระจ่างในการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ เราก็มีเคล็บลับบ้าง ไม่ลับบ้าง มาแบ่งปันให้เพื่อนรู้กันค่ะ เพื่อที่จะช่วยให้คอนแทคเลนส์ของคุณ สะอากสดใสตลอดอายุขัยก่อนที่มันจะไปแห้งกรอบอยู่ในถังขยะกทม.

- ปฏิบัติตามคำแนะนำการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ โดยอ่านคำแนะนำข้างขวดอย่างละเอียด เพราะน้ำยาดูแลรักษาคอนแทคเลนส์บางชนิด อาจเหมาะสมกับคอนแทคเลนส์บางชนิดเท่านั้น ไม่ควรมิกซ์แอนด์แมทช์ น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ต่างชนิดกัน เพราะมันอาจจะเป็นอริกัน แล้วจะพาลสร้างความเดือนร้อนให้กับคอนแทคเลนส์ ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ของคุณเอาได้

- การเก็บรักษา ควรแช่คอนแทคเลนส์ในน้ำยาและเก็บไว้ในตลับแช่คอนแทคเลนส์ แล้วปิดฝาให้สนิทไม่อย่างนั้นเชื้อโรคอาจจะเข้าไปสร้างความเดือดเนื้อร้อนตาเอาได้นะคะ

- เมื่อหยิบคอนแทคออกจากตลับแช่เลนส์แล้ว ควรเทน้ำยาแช่นั้นทิ้ง ไม่ต้องเสียดาย ทิ้งเลยคะ (ประหยัดกับตาติดเชื้อเลือกเอาอันไหนจ๊ะ) เสร็จแล้วล้างตลับแช่ด้วยน้ำยาคอนแทคเลนส์ เปิดฝาทิ้งไว้ให้แห้งสักพัก พอถึงเวลาใช้งาน ก็เติมน้ำยาแช่เลนส์ และใส่เลนส์ลงไปเก็บไว้เหมือนเดิม

- อย่าล้างคอนแทคเลนส์ด้วยน้ำประปา เนื่องจากน้ำประปาอาจจะมีสิ่งเจือปนอยู่ ซึ่งจะทำให้คอนแทคเลนส์สกปรกได้ ที่สำคัญคือคอนแทคเลนส์อาจจะหายไปกับสายน้ำขณะที่ล้างได้ อันนี้จะทำให้คุณเปลืองเงินซื้อคอนแทคเลนส์คู่ใหม่ซะเปล่าๆ (แต่ถ้าบ้านรวยก็แล้วไป จึ๋ยยย~)

วิธีการง่ายๆเหล่านี้ อาจจะดูเหมือนไม่ค่อยสำคัญเท่าไรนัก แต่ถ้าสาวๆมองข้ามขั้นตอนเหล่านี้ไป นอกจากจะทำให้คอนแทคเลนส์อยู่กับเราได้ไม่นานแล้ว ยังจะมีผลกระทบต่อดวงตาสวยๆ ของสาวๆ อย่างใหญ่หลวงเลยทีเดียวค่ะ เพราะฉะนั้นสาวมั่นทั้งหลายไม่ควรจะมองข้ามเรื่องเล็กๆน้อยๆเหล่านี้นะจ๊ะ

ข้อแนะนำในการใช้คอนแทคเลนส์
1. ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ในที่ๆมีลมแรงๆโดยไม่มีแว่นกันลม (ฝุ่นจะเข้าตา และทำให้ระคายเคือง)
2. ถ้ามีโอกาสถอดคอนแทคเลนส์บ่อยเท่าไร ยิ่งดี เพื่อให้ดวงตาได้พัก
3. ไม่ควรใส่ทั้งวันและทั้งคืน หรือใส่นอน เพราะตื่นขึ้นมาคุณจะรู้สึกว่าขี้ตาเต็มเบ้าตาเลย (ร่างกายไม่ยอมรับส่งแปลก ปลอมอะ) และจะทำให้ดวงตาคุณแย่ลง ทั้งเรื่องเชื้อโรค และน้ำในตาอะ
4. ถ้าเงินถึงและต้องการรักษาสุขภาพดวงตา ซื้อแบบรายวัน เพื่อลดสิ่งสะสมของคอนแทคเลนส์ (ฝุ่น หรือพวกโปรตีน)
5. มั่นล้างทำความสะอาด คอนแทคเลนส์ของท่านอย่างสมำเสมอ (บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้)
6. น้ำยายี้ห้อไหนที่ใช้แล้วรู้สึกระคายเคืองให้ทำการเปลี่ยนยี้ห้อทันที
7. อย่าเผลอใส่คอนแทคเลนส์ลงว่ายน้ำโดยเด็ดขาด (มันจะหายไปโดยไม่รู้ตัว)
8. ถ้าคอนแทคเลนส์หลุด ห้ามใช้น้ำประปาในการใส่คอนแทคเลนส์โดยเด็ดขาด (ถ้าจำเป็นจริงๆก็ได้ หนูเคยทำ แต่แสบตามากไม่แนะนำ)
9. ข้อให้สนุกกับการมองเห็นที่แตกต่างครับ (ตอนที่ไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์)

ใคร..ไม่เหมาะจะใส่คอนแทคเลนส์

ปัจจุบันนี้ เราคงต้องยอมรับว่า ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็จะเห็นสาวๆตาแบ๊วกันเต็มไปหมด จากที่ฮิตเป็นแฟชั่นจนกลายเป็นหนึ่งในสิ่งที่ขาดไม่ได้ของสาวๆ (บางคน) แต่ใครจะรู้บ้างว่าไม่ใช่ทุกคนนะคะ ที่จะสามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้ เพราะยังมีคนบางประเภทที่ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ แล้วคุณจะเป็นหนึ่งในบุคคลที่ไม่ควรสวมใส่คอนแทคเลนส์หรือไม่ ลองมาดูกันค่ะ

1. ผู้ที่มีสุขภาพตาไม่ดี เช่น
  • เป็นต้อลม
  • ต้อเนื้อ
  • ตาแดง
  • กระจกตาไม่รับรู้ความรู้สึก
  • ตาแห้ง
  • ตาบวมและผู้ที่กระพริบตาครึ่งตา
  • ... เป็นต้น
2. มีโรคประจำตัวบางโรค เช่น
  • โรคเบาหวานมีอาการบวมเป็นแผลถลอก แผลหายช้าและอักเสบง่าย ค่าสายตาไม่คงที
  • โรคไขข้ออักเสบ ทำให้ตาแห้งการทำความสะอาดเลนส์และการใส่ต้องตรวจและติดตามผลบ่อยกว่าปกติ
  • โรคความดันโลหิตสูง มีผลทำให้น้ำในร่างกายไม่คงที่
  • โรคภูมิแพ้ มีโอกาสแพ้เนื้อวัสดุที่ผลิตคอนแทคเลนส์และแพ้น้ำยาได้ จะทำให้มีอาการตาแดง, ตาแห้งและคันตา
  • ตั้งครรภ์ ทุกอย่างในร่างกายจะปรับสภาพใหม่ มีผลทำให้กระจกตาบวม ควรแนะนำให้ใส่หลังคลอดแล้ว 3-4 เดือน
3. ผู้ที่ต้องทานยาบางประเภทเป็นประจำ เช่น
  • ยา ANTIHISTAMINE รักษาโรคภูมิแพ้
  • ยา ANTIDIABETIC รักษาโรคเบาหวาน
  • ทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานหลายปี มีผลทำให้น้ำที่กระจกตามีมากขึ้น 78% จะมีอาการกระจกตาบวม
4. ผู้ที่ทำงานบางประเภทที่ต้องประสบกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นประจำ เช่น
  • มีฝุ่นละอองมาก
  • มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจำ
  • มีควันบุหรี่หรือควันพิษ รวมถึงเขม่าต่างๆ
  • มีไอระเหยของสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตราย
5. ผู้ที่อายุไม่เหมาะสม เช่น เด็กเกินไปหรือมีอายุมากเกินไป ไม่สามารถรับผิดชอบตัวเองได้


นอกเหนือจากบุคคล 5 ประเภทข้างบนนี้แล้ว ก็สามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้หมดค่ะ
แต่เพื่อความมั่นใจยิ่งๆขึ้นไป ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนสวมใส่นะคะ ^^

ด้วยความปรารถนาดีจาก Qtlens.com ค่ะ
XD

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข้อดี ข้อเสีย ของคอนแทคเลนส์แต่ละประเภท

การเลือกใช้คอนแทคเลนส์ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับตนเองนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากคอนแทคเลนส์มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น คอนแทคเลนส์รายปี คอนแทคเลนส์รายวัน คอนแทคเลนส์รายเดือน หรือ คอนแทคเลนส์รายสัปดาห์ นอกจากนี้การเลือกคอนแทคเลนส์ยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งเรื่องของวัตถุดิบที่ใช้ผลิต เรื่องของความโค้งและขนาดเลนส์ โดยวันนี้เราจะพูดถึงเฉพาะ Soft Contact Lens กันอย่างเดียวก่อนนะคะ เนื่องจาก Soft Contact Lens เป็นเลนส์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน (ปัจจุบันเลนส์แบบ Hard และ RGP ไม่เป็นที่นิยมแล้ว)

การเลือกประเภทของเลนส์ตามระยะเวลาการใช้งาน

คอนแทคเลนส์ ชนิด เปลี่ยนรายปี
ข้อดี - คอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยนรายปี เป็นคอนแทคเลนส์ที่มีความคงทนสูง มีให้เลือกหลายประเภท ทั้งสำหรับสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง รวมทั้งคอนแทคเลนส์สีหรือแฟชั่น สำหรับค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อนำมาคำนวณเฉลี่ยต่อวันแล้วถือได้ว่าคอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยนรายปีนี้มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดค่ะ
ข้อเสีย - คอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยนรายปีต้องการความเอาใจใส่ในการดูแลรักษาเลนส์ค่อนข้างมาก

คอนแทคเลนส์ ชนิด เปลี่ยนรายเดือน
ข้อดี - สะดวกในการใช้งานระดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับคอนแทคเลนส์แบบรายปี เนื่องจากมีขั้นตอนในการดูแล และ ทำความสะอาดน้อยกว่าคอนแทคเลนส์แบบรายปี อีกทั้งคอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยนรายเดือนยังมีรุ่นที่สามารถแก้ไขสายตาเอียงได้ดี
ข้อเสีย - ยังมีค่าใช้จ่ายและความจำเป็นต้องดูแลรักษาอยู่บ้าง เลนส์ที่ผลิตในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักไม่สามารถใส่ต่อเนื่องได้เกิน 8 - 10 ชั่วโมง หากใส่นานกว่านี้อาจเป็นอันตรายต่อกระจกตาได้ เว้นแต่เป็นรุ่นที่ออกแบบมาพิเศษอย่างเช่น Ciba O2-Optix เนื่องจากใช้ ซิลิโคน ไฮโดรเจล เป็นส่วนประกอบในการผลิต ทำให้กระจกตารับ O2 ได้มากขึ้น โดนสามารถใส่ได้ประมาณ 10-16 ชั่วโมง/วัน แต่บางท่านก็ไม่สามารถใส่เลนส์รุ่นนี้ได้ เนื่องจากเป็นเลนส์ที่มีส่วนประกอบของน้ำน้อย ทำให้ตัวเลนส์ค่อนข้างแข็งกว่าบางยี่ห้อที่มีส่วนประกอบของน้ำเยอะ แต่ข้อเสียหลักของเลนส์ที่มีส่วนประกอบของน้ำสูงคือตาแห้งง่ายแต่ข้อดีก็คือจะใส่ค่อนข้างสบายกว่าพวกที่มีน้ำประกอบน้อย

คอนแทคเลนส์ ชนิด เปลี่ยนราย 2 สัปดาห์
ข้อดี - มีลักษณะจำเพาะใกล้เคียงกับคอนแทคเลนส์แบบรายเดือน แต่กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะออกแบบเลนส์ออกมาดีกว่าแบบรายเดือน ไม่ว่าจะเป็นความหนา หรือ วัสดุในการผลิต ทำให้ใส่ค่อนข้างสบายกว่าคอนแทคเลนส์แบบรายเดือน จึงนิยมใช้มากในกลุ่มคนทำงานรายได้ปานกลาง เนื่องจากราคาเฉลี่ยเมื่อคิดต่อวันแล้วสูงขึ้นกว่า 2 แบบแรกเพียงเล็กน้อย
ข้อเสีย - ยังมีค่าใช้จ่าย และความจำเป็นต้องดูแลรักษาอยู่บ้าง เลนส์ที่ผลิตในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักไม่สามารถใส่ต่อเนื่องได้เกิน 8 - 10 ข.ม. แต่ก็มีบางรุ่นที่ให้ใส่ต่อเนื่องได้นาน แต่อายุการใช้งานก็จะสั้นลง เหลือประมาณ 1 สัปดาห์

คอนแทคเลนส์ ชนิด เปลี่ยนรายวัน
ข้อดี - เหมาะสมอย่างยิ่งกับทุกเพศทุกวัย เนื่องจากเป็นเลนส์ที่ต้องการการดูแลรักษาน้อยที่สุดไม่ต้องล้าง ไม่เปลืองน้ำยาอีกทั้งเลนส์รายวันส่วนใหญ่ ยังสามารถให้ระยะเวลาในการใส่ต่อวันที่ยาวนานกว่า โดยเฉพาะหลายๆ ท่าน ที่เป็นนักแรมทาง ที่ชอบท่องเที่ยวไปที่ต่างๆ ที่ไม่ค่อยสะดวกในการทำความสะอาด เพียงแค่ถอดทิ้งก่อนนอน เมื่อตื่นเช้ามา ก็จะพบกับเลนส์คู่ใหม่ ที่ปราศจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ และให้ภาพที่ชัดใสสบายตา
ข้อเสีย - ราคาเฉลี่ยค่อนข้างสูง อีกทั้งในตลาดเมืองไทย ยังมีขายไม่แพร่หลาย ส่วนใหญ่แต่ละร้านจะมีให้เลือกไม่มากนัก และยังไม่มีชนิดที่แก้ไขสายตาเอียงได้นั่นเอง


เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็เลือกคอนแทคเลนส์ใส่ให้เหมาะกับการใช้ของตัวเองนะคะ

ขอให้มีความสุขกับคอนแทคเลนส์ของคุณค่ะ

วันนี้ Qtlens สวัสดี..

XD

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การทำเลสิก

การทำเลสิก (LASIK) มาจากคำว่า Laser Insitu Keratomoleusis ซึ่งเป็นวิธีการรักษาสายตาสั้นด้วยเลเซอร์ โดยจะทำการผ่ากระจกตาออกมาก่อน แล้วยิงเลเซอร์เข้าไปเพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้แบนลง เนื่องจากคนสายตาสั้นมีจุดโฟกัสของแสงไปตกอยู่ที่หน้าจอประสาทตา การยิงเลเซอร์จะทำให้เกิดการหักเหของแสงเปลี่ยนไป และมาตกที่จุดโฟกัสตรงจอประสาทตาพอดี และเมื่อยิงเลเซอร์เสร็จแล้ว จึงค่อยนำกระจกตามาปิดเหมือนเดิม

คนที่จะทำเลสิกได้ต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสายตาสั้นคงที่เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี และไม่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ต้อ เป็นต้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการทำเลสิกตกประมาณข้างละ 2 หมื่นกว่าบาท สำหรับโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชน หากเป็นโรงพยาบาลของรัฐก็อาจจะถูกกว่าข้างละ 3,000-4,000 บาท

ข้อดีของเลสิกก็คือเราไม่ต้องมานั่งสวมแว่น กลัวแว่นจะหลุด หรือ ใส่คอนแท็กเลนส์

ข้อเสีย เป็นเรื่องของการเห็นแสงฟุ้ง แสงมัว โดยรายงานในต่างประเทศที่ทำวิจัยผลกระทบจากการทำเลสิกพบว่า คนที่ทำเลสิกจะพบกับปรากฏการณ์ที่ เรียกว่า “TLARE” หรือ “HALO” คือจะเห็นลำแสงเป็นแฉกเป็นรุ้ง จึงไม่แนะนำ ให้คนขับรถบรรทุกที่ต้องเดินทางตอนกลางคืนทำเลสิก เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างมาก

ส่วนอีกปรากฏการณ์หนึ่งก็คือ CONTRAST SENTIVITY คือการเปรียบเทียบแสงที่อาจจะวูบลงไป หรือมองเห็นแสงไม่แจ่มนั่นเอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำผู้ที่สนใจจะทำเลสิกด้วยว่าก่อนจะตัดสินใจ ต้องชั่งข้อดีข้อเสียให้ชัดเจนเสียก่อน เหมือนกับการมองสิ่งอื่นๆที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียทั้งนั้น



ขอขอบคุณวีดีโอจาก mthai ค่ะ

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คอนแทคเลนส์.. เขาทำกันยังไงนะ!?

บังเอิญไปเจอคลิปรายการ How's It Made ของช่อง The Sciene Channel, Discovery มาค่ะ ซึ่งมันเป็นตอน How's It Made Contact Lenses พอดีเลย..
พอดูเสร็จแอปก็รีบเอามาฝากเพื่อนๆ เลยค่ะ เผื่อว่าจะมีใครอยากรู้อยากเห็นเหมือนแอปว่า คอนแทคเลนส์ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่นี้ มีขั้นตอนการผลิตอย่างไรบ้าง.. มาดูกันเลยดีกว่าค่ะ Let's Go!!



ขอบคุณความรู้ดีๆ จาก รายการ How's It Made, Discovery Channel