วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การแพ้คอนแทคเลนส์ G.P.C. (Giant Papillary Conjunctivitis)

ภาวะการแพ้คอนแทคเลนส์ G.P.C. (Giant Papillary Conjunctivitis) เป็นอาการที่พบได้อยู่เสมอโดยเฉพาะกลุ่มที่ใส่เลนส์ข้ามคืนเป็นประจำ เนื่องจากเลนส์ที่ใส่นอนได้มักมีปริมาณน้ำในเนื้อเลนส์สูง ทำให้เกิดคราบโปรตีนเกาะได้ง่าย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราอยู่ในภาวะการแพ้คอนแทคเลนส์ G.P.C. หรือไม่ เราสามารถสังเกตุได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้ค่ะ

อาการของผู้ที่แพ้คอนแทคเลนส์

- ใส่เลนส์ไม่ทน แสบ เคืองตา คันตา
- ตื่นนอนตอนเช้ามักมีขี้ตาเสมอ
- ตามัวบ่อยๆ เวลากระพริบตา เลนส์จะเลื่อน ภาพมัว
- ต้องเปลี่ยนเลนส์ย่อยๆ กรณีใส่เลนส์ชั่วคราว

สาเหตุของการแพ้คอนแทคเลนส์
- เลนส์เก่าเกินอายุใช้งาน
- การทำความสะอาดไม่ดีพอ คราบโปรตีนเกาะมาก
- เนื้อเลนส์อมน้ำมาก และโปรตีนเกาะง่าย
- เลนส์ไม่เกาะตา จากความโค้งไม่เหมาะสม
- เลนส์มีขอบหนา ระคายเคือง
- ผู้ใส่มีโรคภูมิแพ้ หรือแพ้สารเคมีในน้ำยาแช่เลนส์

การรักษา
- แนะนำวิธีดูแลเลนส์ที่เหมาะสม
- ถ้าจำเป็นต้องใส่เลนส์ ให้ใช้เลนส์ชั่วคราว และเปลี่ยนเลนส์ใหม่ถ้ารู้สึกไม่ สบายตา
- เปลี่ยนความโค้งและชนิดเลนส์ให้เหมาะสม
- เปลี่ยนน้ำยาที่เหมาะสม
- ให้ยาระงับอาการ และปรับสภาพเยื่อบุตา
- ถ้าจำเป็น อาจต้องใช้เลนส์กึ่งแข็งกึ่งนิ่ม
- ห้ามไม่ให้ใส่เลนส์นอน หรือติดต่อกันมากวัน

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น