วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

คอนแทคเลนส์แบบใหม่ (เป็นยังไงนะ)

การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า ดิจิตอลคอนแทคเลนส์ เป็นการพัฒนาของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน โดยการนำทีมของนาย Harvey Ho นักศึกษาที่จบการศึกษาแล้ว และได้ไปทำงานทางด้านการค้นคว้าวิจัยที่ห้องทดลอง Sandia National Laboratories ได้มีการนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ในงานประชุมวิชาการนานาชาติของ IEEE เมือง Tucson, Arizona ประเทศสหรัฐอเมริกา

คอนแทคเลนส์แบบใหม่นี้มีความสามารถในการที่จะซูมภาพสิ่งที่เห็นในระยะไกลให้มี ความชัดเจนมากขึ้นได้และมีประสิทธิภาพในการแสดงผลจากการการมองเห็นได้มาก ขึ้นกว่าคอนแทคเลนส์แบบปกติทั่วไป โดยเฉพาะจะไวต่อสิ่งที่ผ่านเข้ามาอย่างรวดเร็วในเลนส์ตา

ซึ่งในส่วนของการพัฒนานั้น ในขั้นแรกทางทีมงานได้ทำการติดวงจรไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กมากและเบาไปยังคอน แทคเลนส์แบบธรรมดา เพื่อพิสูจน์ว่าอุปกรณ์ที่ติดเพิ่มลงไปนั้นปลอดภัยสำหรับดวงตาและไม่เป็น ปัญหาในการมองเห็น โดยไม่สนว่าจะสามารถแสดงผลการมองเห็นว่าเป็นอย่างไร จากนั้นก็มีการพัฒนาต่อเนื่องในขั้นต่อไปในส่วนการแสดงภาพการมองเห็นให้มี ความชัดเจนมากขึ้น สามารถปรับภาพที่อยู่ไกลให้เข้ามามองเห็นชัดเจนเหมือนสิ่งนั้นอยู่ในระยะ ใกล้ได้โดยอัตโนมัติ

ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก สำหรับทีมวิศวกรผู้พัฒนาในส่วนของการทาบติดวงจรไฟฟ้าที่สร้างจากโลหะและมี ความหนาเพียงไม่กี่นาโนเมตร ถือว่าเล็กมากเพราะถ้าเทียบกับเส้นผมคนเราหนึ่งเส้นจะกว้างประมาณ 80000 นาโนเมตร ลงบนคอนแทคเลนส์ที่สร้างขึ้นมาจากสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อดวงตาและร่างกายคน

ได้มีการทดลองใช้คอนแทคเลนส์แบบใหม่นี้กับกระต่ายเป็นเวลาเกือบ 20 นาที และผลที่ได้คือตัวเจ้ากระต่ายไม่มีปัญหาอะไรจากการใส่คอนแทคเลนส์นี้


คอนแทคเลนส์แบบใหม่นี้นับว่ามีประโยชน์ต่อพวกเรามาก เช่น บุคคลที่มีอาชีพเป็นนักบิน ขับยานพาหนะต่างๆ รวมไปถึงผู้ที่มีความจำเป็นต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ คอนแทคเลนส์แบบใหม่นี้ เพราะจะช่วยในการมองเห็นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระยะใกล้หรือระยะไกลก็ตาม และยังช่วยถนอมสายตาได้อีกด้วย


ที่มา : http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?pid=136610

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

ชายหาด 9 สี ที่มีอยู่จริงบนโลกใบนี้

เพื่อนๆ รู้มั้ยว่าบนโลกเราใบนี้มีชายหาด ที่มีหาดทรายสีอะไรบ้าง รู้กันมั้ยเอ่ย?
ถ้าให้เดาหลายคนคงตอบว่า... มีสีขาว สีดำ สีแดง สีเขียว เท่าที่เคยเห็นผ่านตา
กันทั่วๆไป ที่มีทั้งในประเทศ และต่างประเทศใช่หรือไม่

เชื่อไมค่ะว่า อันที่จริงแล้วบนโลกเรามีชายหาดอยู่ด้วยกันถึง 9 สีเลยทีเดียว
แต่จะเป็นสีอะไรบ้างนั้น และมีอยู่ที่ใดบ้าง วันนี้เราจะพาเพื่อนๆไปรู้จักกัน

~หาดสีขาว~ (พบมากที่สุดในโลก) หาดทรายที่ไหนก็ดูขาวไปหมด แต่ที่ Siesta Key Crescent Beach ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เป็นหาดทรายที่เกิดจากการถูกชะล้าง ของภูเขาหินทรายลงสู่แม่น้ำ ไหลเรื่อยมายังชายหาดแห่งนี้ ที่ขาวจัดเพราะในทรายมีส่วนผสมของควอตซ์บริสุทธิ์ถึง 99 เปอร์เซนต์ แถมยังนิ่มละเอียดอย่างกับน้ำตาลป่น แต่เหนือฟ้าย่อมมีฟ้าเพราะที่ Hyams Beach ในออสเตรเลีย ขึ้นชื่อว่าเป็นหาดทรายที่ขาวที่สุดในโลก ถึงขนาดได้รับการันตีบันทึกจากกินเนสบุ๊คเชียวนะ

~หาดสีแดง~ หรือหาดทรายสีเลือด เป็นสีแดงดำ มีเพียง 2-3 แห่งในโลก ที่ขึ้นชื่อก็คือหาด Kaihalulu เกิดจากการผสมสีจากแร่เหล็ก และขี้เถ้าที่ร่วนร่อนจากภูเขาไฟรอบๆ ชายหาด

~หาดสีส้ม~ ขอให้เพื่อนๆนึกถึงสีพื้นลูกรังเข้าไว้ แต่อย่าไปจำสับสนกับทรายที่หาด Ramla il - Hamra บนเกาะ Maltese ประเทศมอลตาล่ะ ทรายสีส้มจัดนี้เกิดจากตะกอนสีส้มที่ทับถมของภูเขาไฟโดยรอบ ไม่เพียงแต่ชายหาด ขนาดภูเขาหินปูนแถบนี้เป็นส้มจัดเหมือนกันเพราะตะกอนของน้ำทะเล

~หาดสีเขียว~ ซึ่งมีความเขียวเหมือนสีมะกอก นอกจากพบที่เกาะกวม และกาลาปากอส แต่ที่ติดโผอีกที่ก็ต้องชายหาด Pu'u Mahana ในฮาวาย เป็นชายหาดที่ผสมกับเถ้าลาวาที่เกร็ดของแร่โอลิวีน หรือแร่รัตนชาติสีมะกอกที่เรียกว่าเพอริดอต เมื่อเวลาผ่านไป น้ำเซาะชายฝั่งก็จะหอบเนื้อทรายไป เหลือแต่แร่ที่ว่านี้เอาไว้ ทำให้ชายหาดดูเขียวเข้มวิบวับ

~หาดสีชมพู~ คุณสมบัติขั้นต้นคือ เป็นชายหาดล้อมรอบด้วยแนวปะการัง เมื่อปะการังตายเศษโครงสร้างสีแดงก็จะถูกซัดเข้ามาผสมกับทรายจนกลายเป็นสี ชมพูอ่อน พบได้ที่บาฮามัส, เปอร์โตริโก, เบอร์มิวดา, บาร์บาดอส, ฟิลิปปินส์ และสก็อตแลนด์

~หาดสีม่วง~ เกิดจากการผสมของฝุ่นแร่พลอยแดงที่ถูกชะล้างจากภูเขารอบๆ หาด มีตั้งแต่โทนสีม่วงเข้ม ม่วงจ้า และม่วงลาเวนเดอร์ หาพบได้ที่ Pfeiffer Beach ในแคลิฟอร์เนีย

~หาดสีน้ำตาลเข้ม~ หรือหาดช็อกโกแลต ด้วยเป็นหาดที่ถูกตีวงล้อมรอบด้วยแนวภูเขาหินปูนที่มีเนื้อสีน้ำเงินเทา และภูเขาไฟเนื้อหินสีเขียว ทรายของหาด Pacifica Beach ในแคลิฟอร์เนีย จึงผสมกลมกลืนตะกอนจากการกัดกร่อนจากภูเขาเหล่านี้ กลายเป็นหาดสีน้ำตาลช็อกโกแลตหวานฉ่ำ น่าหม่ำจริงๆเชียว

~หาดสีรุ้ง~ แค่ชื่อหาดก็บอกแล้วว่า Rainbow Beach อยู่ในออสเตรเลีย ซึ่งมีมากกว่า 70 เฉดสี ในผืนทรายเดียว จากการผสมกับตะกอนที่ร่อนมาทั่วสารทิศ แต่ที่เป็นชัดที่สุด คงเป็นริ้วสีเดียวกับหน้าผายุคน้ำแข็งด้านหลังหาด ที่มีโทนสีไล่เป็นสีรุ้งเชอร์เบ็ต และที่น่าทึ่งกว่า ลึกลงไปใต้พื้นทรายก็ยังไล่เป็นสีรุ้งเช่นกัน

~หาดสีดำ~ หรือหาดทรายดำ เกิดจาก ลาวาที่ประทุจากภูเขาไฟริมหรือใกล้ชายฝั่งเย็นตัวลงเป็นเถ้าสีดำ ถูกน้ำซัดไปปะปนกับพื้นทราย หาดทรายดำจะประกอบด้วยเศษแร่หลายชนิด เช่น โกเมน, ทับทิม, แซฟไฟร์, บุษราคัม และเพชร หลายที่จะนิยมให้บริการฝังตัวกับทรายดำ เชื่อกันว่า รักษาผิว และสุขภาพ พบได้หลายที่ทั่วโลก อย่างที่ Punalu'u Beach ในฮาวาย หรือในบ้านเราก็มีเหมือนกันอยู่ที่ จ.ตราด

และนี่ก็คือความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ที่สร้างขึ้นโดยธรรมชาติ เพื่อจรรโลงโลกนี้ให้สวยงาม หากธรรมชาติจะยังคงสวยงามอยู่ได้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของมนุษย์เรา

แหล่งที่มา:
mcot.net

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ว่าด้วยเรื่อง..ค่าอมน้ำ

* คอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยน รายวัน ค่าอมน้ำ มาก > ชนิดเปลี่ยนรายเดือน-รายสามเดือน มากกว่า > คอนแทคเลนส์ชนิดใช้ได้ถึงหนึ่งปีที่มีอายุการใช้งานยาวนาน

คอนแทคเลนส์รายวัน มีค่าอมน้ำประมาณ 55%

คอนแทคเลนส์รายเดือน มีค่าอมน้ำประมาณ 45%

คอนแทคเลนส์ราย 6 เดือน-1ปี มีค่าอมน้ำประมาณ 38-45%


ความเชื่อ เรื่อง ค่าอมน้ำ ว่าอมน้ำมากแล้วจะใส่สบาย


ความจริงคือการที่จัใส่คอนแทคเลนส์แล้วรู้สึกว่าสบายไม่ได้อยุ่ที่ค่าอมน้ำมาก แต่ความจริง คือ การที่คอนแทคเลนส์นั้นๆ แล้วคอนแทคเลนส์สามารถนำ Oxygen ไหลเวียนให้กับดวงตามากที่สุด (เป็น High Oxygen Permeability)

- ค่า C.T (Centre Thickness) หรือความหนาบางของคอนแทคเลนส์(กำลังสายตา)ก็มีผล
- วัสดุที่ใช้ทำคอนแทคเลนส์ ส่งผลต่อ ความนิ่มของคอนแทคเลนส์ ปัจจุบันนิยมใช้ HEMA *
- วิธีการผลิต เทคนิคในการผลิตเลนส์ เช่น CASTING MOLD , SEMI CASTING MOLD
- เส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์ DIA (DIAMETER) DIA 14.0 จะใส่สบายกว่า DIA 14.5

*** HEMA (poly hydroxyethy methacrylate) เป็นไฮโดเจล ***
*** สารไฮโดรเจล (hydrogel) คือ สารที่มีลักษณะเป็น เจล (gel) และ มีน้ำอยู่ (อมน้ำ) ***

อย่างไรก็ตาม การผลิตคอนแทคเลนส์ทุกวันนี้ยังยึดหลักการที่ว่า คอนแทคเลนส์ที่ดีต้องอุ้มน้ำได้มาก โดยเฉพาะเลนส์ที่อุ้มน้ำได้ถึงร้อยละ 80 ด้วยเชื่อว่าน้ำจะช่วยให้ไม่เคืองตาและเพิ่มออกซิเจนให้เยื่อตา ทั้งที่ความจริงแล้วเลนส์ที่มีน้ำน้อยจะให้ภาพที่ชัดและถูกต้องกว่า

คอนแทคเลนส์ทำจากวัสดุชนิดใด

คอนแทคเลนส์ชนิดต่างๆ

คอนแทคเลนส์นั้นเป็น Optical disc ที่บางมากและมีขนาดใหญ่ประมาณเหรียญ 50 สตางค์ ถึงแม้ว่าเลนส์แบบแข็ง(standard hard lens) ที่เริ่มจำหน่ายมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 จะยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน แต่การพัฒนาวัสดุ ตลอดจนเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมาก็ทำให้เลนส์แบบนี้ค่อยๆ เสื่อมความนิยมไปเองโดยปริยาย ปัจจุบันมีผู้ใช้เลนส์แบบนี้อยู่น้อยกว่า 0.5% ของจำนวนผู้ใช้เลนส์ทั้งหมด เลนส์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 2 แบบหลักๆ และรวมถึงเลนส์แบบพิเศษ

1. เลนส์แบบนิ่ม(Soft lens)

เริ่ม ใช้มาประมาณ 20 ปีแล้ว ทำจากพลาสติกที่สามารถดูดซับน้ำได้และมีความหยุ่นตัวสูง โดยปกติจะดูดซับน้ำได้ 30-80% เลนส์แบบนิ่มนี้มีทั้งแบบที่ใช้เพียงวันเดียวแล้วทิ้งหรือใช้หนึ่งหรือ 2 อาทิตย์ก่อนทิ้งก็ได้ หรือไม่ก็ใช้แบบทั่วไปที่มีอายุการใช้งานนานเป็นปี

2. เลนส์แบบแข็งแต่ยอมให้ก๊าซผ่านได้(Rigid gas permeable: RGP)

ทำจากพลาสติกพิเศษที่คงรูปดีกว่า แต่ยังคงยอมให้ก๊าซออกซิเจนและก๊าซอื่นซึมผ่านได้ เลนส์พวกนี้ใช้ง่ายและมักจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเลนส์แบบนิ่ม นอกจากนี้ยังให้ภาพที่คมชัดและเหมาะกับคนที่สายตาเอียงมากๆ ถึงจะต้องใช้เวลานานในการปรับตัวให้คุ้นเคยกับเลนส์

3. เลนส์แบบพิเศษ

3.1 เลนส์แบบใช้แล้วทิ้ง แบบเปลี่ยนบ่อยๆ และแบบที่กำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนไว้ล่วงหน้า (Frequent and planned replacement soft lens)
3.2 เลนส์ที่ใช้ในการบำบัด (Therapeutic contact lens) ซึ่งใช้ร่วมกับยาเป็นระยะตามกำหนดเพื่อช่วยรักษาดวงตาให้กลับคืนสู่สภาพการมองเห็นตามปกติ
3.3 เลนส์แบบมีสี (Tinted contact lens) บางชนิดมีสมบัติช่วยป้องกันการดูดกลืนแสง UV ด้วย

ประวัติการคิดค้นในเชิงวัสดุและกรรมวิธีในการทำเลนส์แต่ละชนิด

  • เลนส์ที่ให้ถอดทุกวัน (Daily Wear Contact Lens) เลนส์อันแรกมีชื่อว่า Corneoscleral shell ขนาด 18-21 mm. และครอบคลุมทั้งส่วนคอร์เนียของดวงตากับส่วน sclera ไว้ทั้งหมด ทำโดยใช้ตาของกระต่ายและซากศพเป็นแม่พิมพ์ในการเป่าแก้วให้เป็นรูปร่างเลนส์ แต่การทำนั้นยุ่งยากและใส่ไม่สบายอย่างยิ่ง จนปี ค.ศ.1940 ที่มีการนำ poly (methyl methacrylate) หรือ PMMA เข้ามา และได้มีการทำเลนส์ corneal lens ขึ้น ขนาด 9 mm. ที่ปกคลุมเฉพาะส่วนคอร์เนียตรงกลางเท่านั้น PMMA ถือเป็นวัสดุในอุดมคติสำหรับใช้ทำคอนแทคเลนส์แบบแข็งเลยทีเดียว เพราะมีค่าโมดูลัสของความยืดหยุ่นตัวสูง มี surface wettability ดี รวมทั้งมีอายุการใช้งานนาน วิธีทำเลนส์ก็เตรียมจากการทำ bulk radical polymerization ของ methyl methacrylate เพื่อให้เกิดเป็นแท่ง หรือแผ่นแบนๆ แบบกระดุมขึ้นมาก่อน แล้วจึงนำไปทำเป็นเลนส์ต่อไปโดยใช้กระบวนการ secondary lathing operation ต่อมาได้มีการค้นพบไฮโดรเจล HEMA (poly (hydroxyethy methacrylate)) และใช้กระบวนการเตรียมคอนแทคเลนส์จากวัสดุนี้ที่ง่ายดาย เรียกว่า spin casting HEMA เป็นวัสดุใส อ่อนนิ่ม ซึ่งเมื่อมีน้ำอยู่ด้วยจะดูดน้ำไว้ได้ถึง 40% แต่ตัวมันเองไม่ละลายน้ำ เพราะมีการเชื่อมโยงแบบ 3 มิติอยู่ กระบวนการ spin casting จะเกี่ยวข้องกับการ polymerize HEMA monomer ในแม่พิมพ์รูปโค้งที่หมุนอยู่ตลอดเวลา โดยมีการควบคุมกำลังการขยายของเลนส์ โดยการควบคุมอัตราการหมุนและความโค้งของแม่พิมพ์
  • เลนส์ที่ไม่ต้องถอดทุกวัน (Extended Wear Contact Lens) ด้วยเหตุที่ไฮโดรเจลเลนส์แบบที่ให้ถอดทุกวันประสบความสำเร็จมาก นักวิจัยต้องการวัสดุใหม่ที่จะช่วยเพิ่มเวลาให้ใส่คอนแทคเลนส์ได้นานขึ้น สมบัติของวัสดุใหม่ที่จำเป็นต้องมี ก็คือ วัสดุใส ทนต่อความร้อนและสารเคมี มี biocompatibility และ wettable ได้ด้วยน้ำตา และมีสมบัติทางกลที่เหมาะสมด้วย คือมีความแข็งแรงเพียงพอ ไม่ฉีกขาดง่ายเมื่อถูกแรงกระทำ รวมถึงการที่ต้องมีค่าโมดูลัสของความยืดหยุ่นต่ำ ถ้าเป็นกรณีของเลนส์แบบแข็ง จะต้องมีค่าโมดูลัสของการมองเห็นที่คงที่สูง และมีค่าการยืดตัวตลอดจนความทนแรงดึงสูงด้วย เพื่อไม่ให้เลนส์แตกง่าย แต่ที่สำคัญวัสดุนี้จะต้องสามารถเตรียมได้จาก bulk polymerization และสามารถขึ้นรูปเป็นเลนส์ได้ด้วยกระบวนการผลิตเลนส์ที่มีการใช้กันอยู่ใน ปัจจุบัน และประการสุดท้าย วัสดุนี้ต้องยอมให้ออกซิเจนผ่านได้ ซึ่งจะเกี่ยวกับการกำหนดความหนาของเลนส์
  • เลนส์แบบแข็ง (Hard Lens) ทำจากโพลิเมอร์ใสที่มีการเชื่อมโยงในโครงสร้างสูงและมีค่าโมดูลัส มากกว่า 100 MPa ขึ้นไป และมีปริมาณน้ำน้อยกว่า 1% เลนส์แบบแข็งอันแรกที่ประสบความสำเร็จทำจาก poly (methyl methacrylate) ซึ่งข้อดีมากของวัสดุนี้คือ biocompatibility สูง แต่ต้องใช้เวลานานในการปรับตัว กับยอมให้ออกซิเจนผ่านได้น้อย ต่อมาในปี ค.ศ.1975 ได้มีการพัฒนาคอนแทคเลนส์แบบแข็งชนิดแรกที่เป็น siloxane based ขึ้นมาได้ ถือเป็นเลนส์แบบแข็งที่ยอมให้ก๊าซผ่านได้ชนิดแรก วัสดุนี้ได้จากการทำ copolymerization ของ methyl methacrylate กับ methacrylate functionalized siloxanes ได้เป็น MMA ที่มีความคงตัวดีเลิศ ขึ้นรูปง่าย และยอมให้ออกซิเจนผ่านได้
  • เลนส์แบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable Contact Lens) เพื่อลดปัญหาเลนส์กลายเป็นสีเหลือง ในบางครั้งที่เกิดจากการที่ไฮโดรเจนเลนส์ ดูดซับโปรตีนจากดวงตาไว้ที่ผิวหน้าเลนส์ เลนส์ยี่ห้อ Acuvue ได้ถูกออกแบบมาให้ใส่ได้เพียง 7 วันแล้วต้องถอดทิ้ง
ที่มา : "มารู้จักคอนแทคเลนส์กันเถอะ", วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 5-7

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม :

Web Sites

บทความ

  • วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตอนที่ 1-3 มารู้จักคอนแทคเลนส์กันเถอะ วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 5-7
  • คอนแทคเลนส์ วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 29
  • ผิวเคลือบโลหะเพิ่มอายุคอนแทคเลนส์ วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 31

สิ่งที่ต้องรู้เมื่อจะซื้อคอนแทคเลนส์

สิ่งที่ต้องรู้เมื่อจะซื้อ คอนแทคเลนส์
เลนส์ชนิด Disposable หมายถึงเลนส์ที่ใช้แล้วไม่ต้องล้างเลย ใช้แล้วถอดทิ้งเหมือนเราใช้กระดาษทิชชู
และ Planned Replacement หมายถึงเลนส์ที่ใช้แล้วใช้ซ้ำอีกได้ แต่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ มีอายุการใช้งาน
ค่อนข้างสั้น ทุก 2-4 สัปดาห์

เลนส์ทั้งสองประเภท เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เรื่อยๆมีความเข้าใจผิดของผู้ใช้อยู่เสมอว่า เลนส์พวกนี้
เป็นเลนส์ Free size ดังนั้นเมื่อไปหาซื้อเลนส์ ผู้ใช้มักบอกคนขายแต่เพียงว่า ต้องการ ACUVUE
เบอร์ -3.00 หรือ ต้องการ FOCUS เบอร์ -4.75 เท่านั้น และ คนขายก็มักหยิบเลนส์มาให้ได้เสียด้วย

ที่จริงแล้ว บนหน้าซองบรรจุเลนส์ คุณจะเห็นว่านอกจากค่ากำลังของเลนส์ หรือ power -3.00 D หรือ
-4.75D แล้วยังมี
ตัวอักษร B.C. 8.8 หรือ B.C. 8.6 กำกับมาด้วย ให้คุณแน่ใจได้เลยว่า นั่นย่อมไม่ได้หมายความว่าเลนส์
ชิ้นนั้น ผลิตขึ้นก่อนคริสตกาล แต่มันสำคัญอย่างไรด้วยหรือ หรือฝรั่งทำเกินมา เฉยๆ
ค่า B.C. ย่อมาจาก Base Curve หมายถึงรัศมีความโค้งด้านหลังของเลนส์ชิ้นนั้น ซึ่งเป็นด้านจะต้อง
สัมผัสกับดวงตาของเรา เลนส์ที่มี B.C. 8.8 มิลลิเมตร หมายถึงเลนส์ชิ้นนั้น แบนกว่าเลนส์ที่มี B.C. 8.4
มิลลิเมตร ซึ่งจะทำให้ เลนส์ 8.4 ติดแน่น บีบรัดดวงตามากกว่า
ส่วนเลนส์ 8.8 จะรู้สึกหลวมเลื่อนได้มากกว่า

เมื่อคุณซื้อเลนส์ คุณอาจเพิ่มหรือลด กำลังของเลนส์ได้ตามใจชอบ เช่น อยากให้ภาพคมชัดขึ้นอาจลองซื้อ
เลนส์กำลังสูงขึ้นสัก 0.25 แต่ถ้าใส่แล้วไม่ชอบใจ อยากใส่ให้ภาพนุ่มนวลลงก็อาจซื้อเลนส์อ่อนลงสัก 0.25 ได้
ไม่เสียหายอะไรนอกจากรู้สึกมึนๆนิดๆ
แต่การเปลี่ยนค่า Base Curve ขอให้เป็นหน้าที่ของจักษุแพทย์นะครับ เพราะการใส่เลนส์คับหรือหลวม
เกินไปอาจเป็นอันตรายได้ ควรซื้อเลนส์ Base Curve เดิมเสมอ ห้ามเปลี่ยนเองครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ.คำนูณ อธิภาส (จักษุแพทย์)

ว่าด้วยเรื่อง..โรคที่เกิดจากการใช้เลนส์สัมผัส

โรคที่เกิดจากการใช้เลนส์สัมผัส
เกิดตุ่มอักเสบบนหนังตาด้านใน พบมากในผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสชนิดอ่อน สาเหตุเกิดจากการระคายเคือง
เนื่องมาจากเลนส์ถูกดึงขึ้นข้างบนโดยตุ่มที่หนังตาบนด้านใน (papilla) เมื่อเวลาหนังตาบนเคลื่อนไหว
และสารตกค้างบนผิวของเลนส์ยังกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น ส่วนอาการอื่นที่เกิดต่อเนื่องมาคือ ภาวะ
หนังตาตก ตาแดง ระคายเคือง มีการสร้างสารจำพวกโปรตีนที่ละลายได้ (mucoid) มองภาพไม่ชัด
มีน้ำตา ตาไม่สู้แสง

เกิดการอักเสบของกระจกตา และเยื่อตาขาวส่วนที่สัมผัสกับของเลนส์สัมผัส อาการนี้ หากเกิดจากการแพ้
หรือจากพิษข้างเคียงของวัตถุกันเสียหรือสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อ เยื่อตาขาวส่วนล่างจะแสดงอาการอักเสบ
เนื่องจากน้ำยาจะไหลลงมาด้านล่างเป็นอาการแพ้ที่ค่อย ๆ เกิดขึ้น ซึ่งอาจใช้เวลา 2-3 ปี

อาการอักเสบของกระจกตา (Contact Keratoconjunctivitis) พบมากในรายที่ฆ่าเชื้อเลนส์ด้วยวิธีใช้
สารเคมี นอกจากนั้น การเกิดสิ่งสะสมบนเลนส์ หรืออาการตาแห้ง จะทำให้อาการอักเสบเกิดมากขึ้น

อาการตาแห้งซึ่งเกิดจากการแพ้ พบในผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสมานาน 2-3 ปี นอกจากนี้ผู้ใช้ยาขับปัสสาวะ หรือยา
รักษาโรคหัวใจประเภทเบต้าบล๊อกเกอร์ ก็อาจเกิดอาการตาแห้งได้เช่นกัน ปัจจัยอื่นที่ทำให้ตาแห้ง เช่น
- การกระพริบตาที่ผิดปกติที่เกิดจากเส้นประสาทที่ 5 และที่ 7 เป็นอัมพาต
- ตาโปนผิดปกติ (exophthalmos)
- ผิวของลูกตาผิดปกติ เนื่องจากมีจุดเหลือง ๆ บนกระจกตาหรือต้อลม (pingueculum)หรือต้อเนื้อ
(pterygium)
- ผิวเลนส์สัมผัสไม่เรียบ

ผู้ป่วยที่มีอาการตาแห้งจึงไม่ควรใช้เลนส์สัมผัสชนิดที่เข้ากับน้ำได้ดี (hydrophilic) เนื่องจากเลนส์ชนิดนี้
จะดูดซับน้ำตาและสารที่ตาสร้างขึ้นมาเคลือบผิวลูกตาโดยเฉพาะส่วนของกระจกตา

การอักเสบ ลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ ที่เยื่อบุผิวของกระจกตา เนื่องจากเกิดบาดแผลหรือการช้ำที่เยื่อตา ตาแห้ง
มีอาการแพ้ หรือขาดออกซิเจน ซึ่งแผลจุดเล็ก ๆ อาจมารวมกันเข้าเป็นบริเวณใหญ่ และเกิดการติดเชื้อ ซึ่งเป็น
อันตรายได้ จึงจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยหยุดการใช้เลนส์สัมผัส จนกว่าแผลจะหายเสียก่อนการอักเสบของเยื่อตา
บริเวณขอบตาขาวต่อกับตาดำด้านบน เนื่องจากตาแห้ง เป็นโรคภูมิแพ้ หรือขาดออกซิเจน โดยอาการที่พบ
ในขั้นแรก คือกลุ่มเส้นเลือดหรือท่อน้ำเหลืองเกิดขึ้นมากที่บริเวณผิวตื้น ๆ ต่อมาจะมีความผิดปกติของขอบ
กระจกตา มีอาการบวมและมีอาการคล้ายเยื่อมูกอักเสบ หากยังใส่เลนส์ต่อไปจะเกิดมีเนื้อเยื่อแข็งกลายและเป็น
แผลเป็นขึ้นที่กระจกตา

การติดเชื้อ เป็นอาการของโรคที่เกิดจากการใช้เลนส์สัมผัสที่เป็นอันตรายที่สุด เนื่องจากทำให้ตาบอดถาวรได้
พบในผู้ที่ใช้เลนส์ชนิดที่ใส่ติดต่อกันได้นาน ๆ หรือจากการเกิดรอยถลอกเนื่องจากการเคลื่อนไหวของเลนส์
ที่ใส่อยู่เป็นประจำหรือการขาดออกซิเจนและการมีรอยช้ำอยู่ประจำจนทำให้เกิดแผลขึ้น โดยเฉพาะในกรณี
ที่ผู้ใช้มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานก็จะเกิดแผลที่กระจกตาได้ง่ายกว่าปกติ

สาเหตุที่เกิดการติดเชื้อยังอาจมาจากตัวผู้ใช้เอง หรือมาจากน้ำยาที่ใช้กับเลนส์ หรือภาชนะบรรจุเลนส์
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจำนวนคนที่ใช้เลนส์สัมผัสแล้วเกิดการติดเชื้อยังมีไม่มาก ยังคงพบว่าการใช้เลนส์สัมผัส
ชนิดที่ใส่นานๆจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนขึ้น

การป้องกันอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการใช้เลนส์สัมผัส อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับตาในผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสอาจป้องกันได้ ดังนี้
- การคัดเลือกผู้ป่วยอย่างระมัดระวัง เพราะการประกอบเลนส์สัมผัสให้ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงสภาวะของผู้ใช้ว่า
เหมาะสมหรือไม่ มีข้อห้ามอะไรหรือไม่
- การประกอบเลนส์สัมผัสที่เหมาะสมต้องเลือกเลนส์สัมผัสให้เหมาะกับผู้ใช้เฉพาะรายไป
- การสาธิตวิธีการใช้ให้ผู้ใช้ เช่น การใส่ ถอด ทำความสะอาด และวิธีดูแลรักษา การฆ่าเชื้อเลนส์
- นอกจากนี้ต้องแนะนำผู้ใช้รู้จักปรึกษากับผู้ประกอบเลนส์สัมผัสในกรณีมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับตา
- การดูแลในภายหลัง จำเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ใช้เลนส์สัมผัสชนิดที่ใช้ใส่ติดต่อเป็นเวลานาน ๆ
( extended wear) เพราะการใช้เลนส์ชนิดนี้ต้องดูแลระมัดระวังเป็นพิเศษ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ.คำนูณ อธิภาส (จักษุแพทย์)

ว่าด้วยเรื่องของเลนส์สัมผัส..

เลนส์สัมผัส หมายถึง เลนส์ที่ใส่แล้วสัมผัสโดยตรงกับส่วนหน้าของลูกตา เลนส์สัมผัสที่ใช้อยู่
ในปัจจุบันจะเป็นชนิดที่ใส่ปิดครอบคลุมเฉพาะบริเวณกระจกตา

ชนิดของเลนส์สัมผัส
แบ่งตามวัสดุที่ใช้เป็น 2 ชนิด
1.1 เลนส์สัมผัสชนิดแข็ง (hard or rigid lenses) เป็นเลนส์ที่คงรูปร่างในสภาพปกติได้ ทำจาก
พลาสติกชนิดเมททิลเมททราครัยเลท (PMMA)
1.2 เลนส์สัมผัสชนิดอ่อน (soft lenses) เป็นเลนส์ที่ไม่สามารถคงรูปร่างในสภาพปกติได้ เนื่องจาก
ทำด้วยสารไฮโดรเยล (hydrogel) ซึ่งเป็นสารที่มีลักษณะเป็นเยล (gel) และมีน้ำอยู่ อาจผลิตได้โดย
การใช้ของเหลวใส่ลงในแบบพิมพ์ที่หมุนด้วยอัตราความเร็วและอุณหภูมิตามที่กำหนด เพื่อให้ได้เลนส์
ที่มีแบบความโค้ง และกำลังขยายที่ต้องการหรืออาจผลิตโดยใช้เครื่องจักรในการขัดหรือปรับรูปร่างให้ได้
ตามที่ต้องการเลนส์สัมผัสชนิดอ่อนส่วนใหญ่จะทำด้วยสารไฮดร๊อกซีเมททิลเมททราครัยเลท (HEMA)
เป็นพื้นฐาน และผสมด้วยสารโพลีเมอร์ตัวอื่น นอกจากนี้ยังอาจทำจากสารอื่นที่ไม่ใช่ HEMA ได้ เช่น
กลีเซอรอล เมททิลเมท-ทาครัยเลท (glycerol methylmethacrylate)

แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้เป็น 7 ชนิด
2.1 ชนิดใช้ใส่ได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง ต้องถอดออกเวลาหลับ เรียกว่า daily wear lenses
2.2 ชนิดใส่ได้เป็นเวลาติดต่อกันนานเกินกว่า 24 ชั่วโมง เรียกว่า extended wear หรือ
prolonged-wear lenses
2.3 ชนิดที่ผสมสี ใส่เพื่อความสวยงามไม่ใช่เพื่อแก้ไขความบกพร่องทางสายตา เรียกว่า
cosmetic lenses
2.4 ชนิดที่ใช้ปิดคลุมกระจกตา (corneal) เพื่อป้องกันกระจกตาจากภายนอกและช่วยให้แผลที่กระจกตา
หายเร็วขึ้น เรียกว่า bandage lenses
2.5 ชนิดที่ใส่เพื่อแก้ไขอาการสายตาเอียง เรียกว่า toric lenses
2.6 ชนิดที่ใส่ได้เป็นเวลานานแบบ extended wear แต่ใช้ใส่ได้ครั้งเดียว ไม่สามารถนำกลับมาใช้อีก
เรียกว่า disposable lenses
2.7 ชนิดที่ใช้ในรายที่มีอาการสายตาสั้นและสายตายาวอยู่ด้วยกันซึ่งจะมีจุดโฟกัสต่างกันในแต่ละส่วนของ
การมอง (optical zone ) เรียกว่า bifocal หรือ multifocal lense
s

คุณสมบัติของเลนส์สัมผัส
การมีคุณสมบัติตามที่แพทย์สั่ง เลนส์สัมผัสต้องมีรูปร่างลักษณะภายนอก กำลังการหักเห เส้นผ่านศูนย์กลาง
รัศมีความโค้ง ความหนา เป็นไปตามที่แพทย์สั่งโดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินตามที่กำหนด

การมีคุณสมบัติตามที่แพทย์สั่ง เลนส์สัมผัสต้องมีรูปร่างลักษณะภายนอก กำลังการหักเห เส้นผ่านศูนย์กลาง
รัศมีความโค้ง ความหนา เป็นไปตามที่แพทย์สั่งโดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินตามที่กำหนด

คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้
2.1 วัสดุของเลนส์สัมผัสชนิดแข็งต้องไม่มีฟองอากาศ สิ่งแปลกปลอม รอยร้าวอยู่ภายใน
หรือการเปลี่ยนสี และต้องมีเสถียรภาพทางเคมีและฟิสิกส์
2.2 หากเป็นวัสดุที่มีสี สีที่ใช้ต้องเป็นสีไม่ทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ (inert pigment) และการกระจาย
ของสีต้องมีความสม่ำเสมอทั่วเนื้อเลนส์
2.3 กำลังหักเหของวัสดุที่ใช้ ต้องมีความสม่ำเสมอทั่วเนื้อของเลนส์ และคงตัวในอากาศ คุณสมบัติของ
เลนส์สัมผัสสำเร็จรูป
3.1 ปราศจากรอยตำหนิ เช่น จุด รอยขีดข่วน รอยที่เกิดจากการขัด หรือ อื่น ๆ เมื่อขยายด้วยเครื่อง
ที่มีกำลัง 10 เท่า
3.2 ผิวเลนส์ด้านที่ติดกับตา ต้องมีความสม่ำเสมอ เมื่อวัดระยะจากศูนย์กลางไปยังขอบของบริเวณที่มี
กำลังหักเหในจุดต่าง ๆ กัน ต้องมีความคลาดเคลื่อนหรือต่างกันได้ไม่เกินที่กำหนด
ค่าที่กำหนดต่าง ๆ ที่เป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงคุณสมบัติของเลนส์สัมผัส ประกอบด้วยรัศมีความโค้ง
เส้นผ่านศูนย์กลางของทุกส่วนโค้งบนเลนส์ กำลังหักเห ความหนาที่ศูนย์กลางหรือขอบสี และการสลัก
สัญญลักษณ์บนเลนส์สัมผัส


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นพ.คำนูณ อธิภาส (จักษุแพทย์)

คอนแทคเลนส์ลดเสี่ยงต้อหิน

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์ เนียกล่าวว่า คอนแทคเลนส์แบบใหม่ช่วยให้เข้าใจโรคตาอย่าง ต้อหิน และป้องกันตาบอดได้ดีขึ้น ต้อหินเป็นสาเหตุหลักอันดับ2 ของโลกที่ทำให้ตาบอด
เนื่องจากตัวบ่งชี้อาการโรคต้อหินอย่างความดันภายในลูกตานั้น สามารถผันแปรได้ตลอดเวลา แต่ละวันเปลี่ยนไม่ซ้ำกัน หรือเปลี่ยนแปลงทุกนาทีก็ว่าได้ แต่ปัจจุบันแพทย์จะตรวจวัดทุก 2-3 เดือนเท่านั้น ความถี่ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยต่างจากโรคเรื้อรังอย่างเบาหวานที่สามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้วันละหลายครั้ง

คอนแทคเลนส์ แบบใหม่นี้ทำจากโพลิไดเมทิลไซโลเซน (พีดีเอ็มเอส) วัสดุที่ใกล้เคียงกับที่ใช้ในคอนแทคเลนส์ปัจจุบันเคลือบด้วยตารางนาโนซิลเวอร์ขนาด 8x8 ช่องเหมือนตารางหมากรุก ใช้ตรวจวัดแรงดันในลูกตา 64 จุด แต่ละจุดจะคอยตรวจสอบความดันในตาและส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกค่าแรงดันภายในตา ทีมวิจัยคาดว่ารุ่นต่อไปจะพัฒนาให้มีจุดตรวจวัดถึง 1,000 จุด โดยใช้ตารางนาโนซิลเวอร์แบบล่องหน


คอนแทคเลนส์พิเศษยังเคลือบยาลดแรงดันในลูกตาไว้ด้วยโดยอาศัยประจุไฟฟ้าแบบอ่อน ช่วยผลักยาเข้าไปลดแรงดันและแพทย์สามารถดูผลการใช้ยาผ่านจอภาพได้ ผู้เชี่ยวชาญอีกรายให้ความเห็นที่เป็นกลางว่าคอนเทคเลนส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประจำอยู่แล้ว เมื่อเคลือบยาลดแรงดันเข้าไปด้วยทำให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ ส่วนอุปกรณ์แบบอื่นที่มีอยู่ปัจจุบันสามารถตรวจวัดแรงดันในลูกตาได้แต่ต้องผ่าตัดปลูกถ่ายอุปกรณ์ลงไป แต่คอนแทคเลนส์ใหม่ประยุกต์ให้ใช้งานกับร่างกายได้ทันทีและไม่ต้องผ่าตัดให้ยุ่งยาก


คอนแทคเลนส์รุ่นใหม่นอกจากช่วยคนสายตาสั้นมองภาพได้ชัดแจ๋วไม่ต้องใส่แว่นแล้วนักวิจัย สหรัฐยังเคลือบสารพิเศษทำหน้าที่เหมือนเซ็นเซอร์ตรวจสอบแรงดันภายในลูกตาได้ พร้อมจัดแจงใส่ยาลดแรงดัน ป้องกันความเสี่ยงเกิดโรคต้อหิน


นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียกล่าวว่า คอนแทคเลนส์แบบใหม่ช่วยให้เข้าใจโรคตาอย่าง ต้อหิน และป้องกันตาบอดได้ดีขึ้น ต้อหินเป็นสาเหตุหลักอันดับ 2 ของโลกที่ทำให้ตาบอด เนื่องจากตัวบ่งชี้อาการโรคต้อหินอย่างความดันภายในลูกตานั้น สามารถผันแปรได้ตลอดเวลาแต่ละวันเปลี่ยนไม่ซ้ำกัน หรือเปลี่ยนแปลงทุกนาทีก็ว่าได้ แต่ปัจจุบัน แพทย์จะตรวจวัดทุก 2-3 เดือนเท่านั้น ความถี่ขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ต่างจากโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ที่สามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้วันละหลายครั้ง คอนแทคเลนส์แบบใหม่นี้ทำจากโพลิไดเมทิลไซโลเซน (พีดีเอ็มเอส) วัสดุที่ใกล้เคียงกับที่ใช้ในคอนแทคเลนส์ปัจจุบัน เคลือบด้วยตารางนาโนซิลเวอร์ ขนาด 8x8 ช่องเหมือนตารางหมากรุก ใช้ตรวจวัดแรงดันในลูกตา 64 จุด แต่ละจุดจะคอยตรวจสอบความดันในตา และส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกค่าแรงดันภายในตา ทีมวิจัยคาดว่า รุ่นต่อไปจะพัฒนาให้มีจุดตรวจวัดถึง1,000จุด โดยใช้ตารางนาโนซิลเวอร์แบบล่องหน คอนแทคเลนส์พิเศษยังเคลือบยาลดแรงดันในลูกตาไว้ด้วยโดยอาศัยประจุไฟฟ้าแบบ อ่อนช่วยผลักยาเข้าไปลดแรงดัน และแพทย์สามารถดูผลการใช้ยาผ่านจอภาพได้ ผู้เชี่ยวชาญอีกรายให้ความเห็นที่เป็นกลางว่าคอนเทคเลนส์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประจำอยู่แล้ว เมื่อเคลือบยาลดแรงดันเข้าไปด้วยทำให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าได้รับยาอย่างสม่ำ เสมอ ส่วนอุปกรณ์แบบอื่นที่มีอยู่ปัจจุบัน สามารถตรวจวัดแรงดันในลูกตาได้ แต่ต้องผ่าตัดปลูกถ่ายอุปกรณ์ลงไป แต่คอนแทคเลนส์ใหม่ประยุกต์ให้ใช้งานกับร่างกายได้ทันที และไม่ต้องผ่าตัดให้ยุ่งยาก


ขอขอบคุณบทควมจาก คม ชัด ลึก

เรื่องของสายตา..

สายตาสั้น (Myopia)
สายตาสั้นเป็นภาวะที่แสงผ่านกระจกตาและเลนส์ตา มาโฟกัสหน้าจอประสาทตา ทำให้ภาพที่ตกบนจอประสาทตาไม่ชัดเจน อาจเกิดจากการที่ดวงตามีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวเกินไป หรือกำลังรวมแสงของกระจกตาและเลนส์มากเกินไป ทำให้แสงที่ผ่านกระจกตาและเลนส์ตา มาโฟกัสหน้าจอประสาทตา ภาพที่เห็นจึงไม่คมชัด การทีจะเห็นได้ชัดเจนต้องใช้เลนส์เว้ากระจายแสงออกเพื่อให้แสงไปตกที่จอ ประสาทตาพอดี

ส่วนการที่มองวัตถุใกล้ได้ชัดเจนโดยไม่ต้องใส่แว่น เนื่องจากแสงจากวัตถุจะไปโฟกัสที่จอประสาทได้พอดี ทำให้มองเห็นชัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความสั้นของตา

อาการของสายตาสั้นและการแก้ไข
ภาพระยะไกลพร่ามัวแก้ไขโดยใช้แว่นสายตา
เกิดอาการเพลียตาแก้ไขโดยใส่คอนแทคเลนส์หรือการผ่าตัด


สายตายาว (Hyperopia)

เป็นภาวะที่ตรงข้ามกับสายตาสั้น คือ แสงผ่านที่กระจกตาและเลนส์มาโฟกัสหลังจอประสาทตา แต่ร่างกายสามารถแก้ไขให้ชัด โดยใช้เลนส์ตาช่วยปรับโฟกัสได้ โดยใช้การเพ่ง (Accomodation) ตลอดเวลา ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตา ปวดศรีษะได้ และเมื่ออายุมากขึ้นกำลังการเพ่งจะลดลง จนไม่สามารถจะโฟกัสแสงได้อีกก็ทำให้เห็นภาพไม่ชัด วิธีการแก้ไขคือการใส่แว่นเลนส์นูน

อาการและการแก้ไข
1. มองภาพระยะใกล้ไม่ชัดแก้ไขโดยใช้แว่นสายตา
2. เพลียตา ปวดตา น้ำตาไหล แพ้แสง อาการเหล่านี้มักเกิดร่วมกับการใช้สายตาระยะใกล้ หรือที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ แก้ไขโดยใส่คอนแทคเลนส์
3. รู้สึกตาขวางๆหรือหนักตาเมื่อทำงานระยะใกล้ๆ แก้ไขโดยใส่คอนแทคเลนส์หรือผ่าตัด


สายตาเอียง (Astigmatism)

ภาวะสายตาเอียง หมายถึง การที่กระจกตามีความโค้งในแต่ละแนวไม่เท่ากัน เปรียบผิวของกระจกตาได้กับผิวของลูกรักบี้ ส่วนสายตาปกติจะมีผิวของกระจกตาเหมือนความโค้งของลูกฟุตบอล ทำให้ตาไม่สามารถจะโฟกัสแสงในแต่ละแกน ให้เป็นจุดเดียวกัน การแก้ไขคือการใส่แว่นที่มีกำลังของเลนส์ในแกนหนึ่งมากกว่าอีกแกนหนึ่ง หรือการใช้เลนส์สัมผัส

สาเหตุของสายตาเอียงอีกอย่างที่พบได้บ่อย คือ จากการที่มีก้อนเนื้อมากดลูกตา เช่น คนไข้เป็นกุ้งยิง หรือมีก้อนเลือดที่เปลือกตามากดกระจกตา ทำให้กระจกตาเบี้ยวหรือเอียงไป และในคนที่มีต้อเนื้อด้วย บริเวณหัวตาหรือหางตามาถึงกระจกตาในกรณีหลังสามารถแก้ไขโดยการรักษาที่ สาเหตุที่มาดึงหรือกดกระจกตานั้น

อาการและการแก้ไข
1. การมองเห็นภาพซ้อนพร่ามัวปวดตาเพลียตา และอาจปวดหัวแก้ไขโดยใช้แว่นตา
2. แสบตาหรือน้ำตาไหลแก้ไขโดยใส่คอนแทคเลนส์


สายตาคนสูงอายุ (Presbiopia)


สายตาประเภทนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะต้องเกิดกับทุกคน เมื่อมีอายุประมาณ40 ปี ขึ้นไป เกิดจากการเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อภายในเลนส์ตา (Crystalline Lens) ที่จะสูญเสียความยืดหยุ่นเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งต้องใช้แว่นสำหรับดูใกล้หรืออ่านหนังสือ




ผู้ใดควรใส่คอนแทคเลนส์!?

ผู้ที่เหมาะจะใส่คอนแทคเลนส์

1. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาดังนี้
• สายตาสั้น • สายตายาว • สายตาเอียง • สายตาคนสูงอายุ
2. ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดต้อกระจกทั้งชนิด ข้างเดียวหรือ 2 ข้าง
3. ผู้ที่มีอาการตาสั่น (nystagmus) และควรแนะนำเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม
4. ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวเป็นอุปสรรค
5. ผู้ที่มีกระจกตาโค้งมากกว่าปกติ (Keratoconus) เช่น 6.9, 5.4 และกระจกตาบางมาก ควรแนะนำเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (HCL)
6. ผู้ที่เป็น "TRICHIASIS" คือมีความผิดปกติของขนตาที่งอนเข้าไปแยงกระจกตา เป็นสาเหตุทำให้น้ำตาไหล แก้ไขได้โดยใส่คอนแทคเลนส์ขนิดนิ่ม (SCL)
7.ผู้ที่เป็น "ENTROPION" คือขอบตาเปิดเข้าด้านในมากกว่าปกติ แก้ไขได้โดยใส่คอนแทคเลนส์ขนิดนิ่ม (SCL)

ข้อดี-ข้อเสีย เปรียบเทียบคอนแทคเลนส์กับแว่นตา

คอนแทคเลนส์และแว่นตาต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ต่อไปนี้เป็นข้อเปรียบเทียบระหว่างทั้งสองชนิด

ข้อดี ของคอนแทคเลนส์เมื่อเทียบกับแว่นตา
1. มีมุมมองภาพมากกว่าแว่นตา
2. ขนาดของวัตถุที่มองเห็นผ่านคอนแทคเลนส์ จะใกล้เคียงความเป็นจริงมากกว่าแว่นตาโดยคอนแทคเลนส์จะมีการขยายและย่อภาพน้อยกว่าแว่นตา เฉพาะสายตาหลังการผ่าตัดชนิดข้างเดียวและสองข้าง และมีค่าสายตาสั้นหรือยาวมากดังนี้
คอนแทคเลนส์ : ภาพที่เห็นจะขยายและย่อกว่าปกติ 3%
แว่นตา : ภาพที่เห็นจะขยายและย่อกว่าปกติ 10%

3. เพิ่มความสวยงามโดยเฉพาะคนที่มีค่าสายตาสูง
4. สามารถใส่เล่นกีฬาได้สะดวกและปลอดภัยมากกว่าแว่นตา
5. ไม่มีเงาสะท้อนเหมือนแว่นตา
6. ไม่มีรอยน่าเกลียดบนใบหน้าเช่น รอยคล้ำที่จมูกหรือเป็นแผลตรงขมับ
7. สามารถใส่แว่นกันแดดได้ตามความพอใจ
8. ใช้ได้ดีกันคนไข้ที่เป็น "ลูกตาสั่น" (Nystagmus)
9. คนไข้สามารถมองผ่านส่วนที่เป็นจุดกึ่งกลางของเลนส์อยู่ตลอดเวลา

ข้อเสีย ของคอนแทคเลนส์เมื่อเทียบกับแว่นตา
1. ใช้เวลามากในการใส่ โดยเฉพาะในช่วงแรกของการใช้งาน
2. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเช่น ค่าน้ำยา
3. ต้องอาศัยระยะเวลาในการปรับตา
4. ไม่สามารถใช้ได้ดีกับคนไข้ที่มีปริซึม
5. สำหรับคอนแทคเลนส์ 2 ชั้นต้องใช้เวลานานมากในการฝึกใช้และปรับสายตา
6. ฉีกขาดได้ง่ายถ้าไม่ระมัดระวัง
7. ความคมชัดของภาพน้อยกว่าแว่น โดยเฉพาะถ้ามีสายตาเอียง
8. มีโอกาสแพ้น้ำยาและแพ้เลนส์ได้ ในกรณีคนที่ไม่เคยใช้มาก่อน
9. ตาอักเสบได้ถ้าคนที่ใช้รักษาความสะอาดไม่ดี