วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

คอนแทคเลนส์ลดเสี่ยงต้อหิน

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์ เนียกล่าวว่า คอนแทคเลนส์แบบใหม่ช่วยให้เข้าใจโรคตาอย่าง ต้อหิน และป้องกันตาบอดได้ดีขึ้น ต้อหินเป็นสาเหตุหลักอันดับ2 ของโลกที่ทำให้ตาบอด
เนื่องจากตัวบ่งชี้อาการโรคต้อหินอย่างความดันภายในลูกตานั้น สามารถผันแปรได้ตลอดเวลา แต่ละวันเปลี่ยนไม่ซ้ำกัน หรือเปลี่ยนแปลงทุกนาทีก็ว่าได้ แต่ปัจจุบันแพทย์จะตรวจวัดทุก 2-3 เดือนเท่านั้น ความถี่ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยต่างจากโรคเรื้อรังอย่างเบาหวานที่สามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้วันละหลายครั้ง

คอนแทคเลนส์ แบบใหม่นี้ทำจากโพลิไดเมทิลไซโลเซน (พีดีเอ็มเอส) วัสดุที่ใกล้เคียงกับที่ใช้ในคอนแทคเลนส์ปัจจุบันเคลือบด้วยตารางนาโนซิลเวอร์ขนาด 8x8 ช่องเหมือนตารางหมากรุก ใช้ตรวจวัดแรงดันในลูกตา 64 จุด แต่ละจุดจะคอยตรวจสอบความดันในตาและส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกค่าแรงดันภายในตา ทีมวิจัยคาดว่ารุ่นต่อไปจะพัฒนาให้มีจุดตรวจวัดถึง 1,000 จุด โดยใช้ตารางนาโนซิลเวอร์แบบล่องหน


คอนแทคเลนส์พิเศษยังเคลือบยาลดแรงดันในลูกตาไว้ด้วยโดยอาศัยประจุไฟฟ้าแบบอ่อน ช่วยผลักยาเข้าไปลดแรงดันและแพทย์สามารถดูผลการใช้ยาผ่านจอภาพได้ ผู้เชี่ยวชาญอีกรายให้ความเห็นที่เป็นกลางว่าคอนเทคเลนส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประจำอยู่แล้ว เมื่อเคลือบยาลดแรงดันเข้าไปด้วยทำให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ ส่วนอุปกรณ์แบบอื่นที่มีอยู่ปัจจุบันสามารถตรวจวัดแรงดันในลูกตาได้แต่ต้องผ่าตัดปลูกถ่ายอุปกรณ์ลงไป แต่คอนแทคเลนส์ใหม่ประยุกต์ให้ใช้งานกับร่างกายได้ทันทีและไม่ต้องผ่าตัดให้ยุ่งยาก


คอนแทคเลนส์รุ่นใหม่นอกจากช่วยคนสายตาสั้นมองภาพได้ชัดแจ๋วไม่ต้องใส่แว่นแล้วนักวิจัย สหรัฐยังเคลือบสารพิเศษทำหน้าที่เหมือนเซ็นเซอร์ตรวจสอบแรงดันภายในลูกตาได้ พร้อมจัดแจงใส่ยาลดแรงดัน ป้องกันความเสี่ยงเกิดโรคต้อหิน


นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียกล่าวว่า คอนแทคเลนส์แบบใหม่ช่วยให้เข้าใจโรคตาอย่าง ต้อหิน และป้องกันตาบอดได้ดีขึ้น ต้อหินเป็นสาเหตุหลักอันดับ 2 ของโลกที่ทำให้ตาบอด เนื่องจากตัวบ่งชี้อาการโรคต้อหินอย่างความดันภายในลูกตานั้น สามารถผันแปรได้ตลอดเวลาแต่ละวันเปลี่ยนไม่ซ้ำกัน หรือเปลี่ยนแปลงทุกนาทีก็ว่าได้ แต่ปัจจุบัน แพทย์จะตรวจวัดทุก 2-3 เดือนเท่านั้น ความถี่ขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ต่างจากโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ที่สามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้วันละหลายครั้ง คอนแทคเลนส์แบบใหม่นี้ทำจากโพลิไดเมทิลไซโลเซน (พีดีเอ็มเอส) วัสดุที่ใกล้เคียงกับที่ใช้ในคอนแทคเลนส์ปัจจุบัน เคลือบด้วยตารางนาโนซิลเวอร์ ขนาด 8x8 ช่องเหมือนตารางหมากรุก ใช้ตรวจวัดแรงดันในลูกตา 64 จุด แต่ละจุดจะคอยตรวจสอบความดันในตา และส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกค่าแรงดันภายในตา ทีมวิจัยคาดว่า รุ่นต่อไปจะพัฒนาให้มีจุดตรวจวัดถึง1,000จุด โดยใช้ตารางนาโนซิลเวอร์แบบล่องหน คอนแทคเลนส์พิเศษยังเคลือบยาลดแรงดันในลูกตาไว้ด้วยโดยอาศัยประจุไฟฟ้าแบบ อ่อนช่วยผลักยาเข้าไปลดแรงดัน และแพทย์สามารถดูผลการใช้ยาผ่านจอภาพได้ ผู้เชี่ยวชาญอีกรายให้ความเห็นที่เป็นกลางว่าคอนเทคเลนส์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประจำอยู่แล้ว เมื่อเคลือบยาลดแรงดันเข้าไปด้วยทำให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าได้รับยาอย่างสม่ำ เสมอ ส่วนอุปกรณ์แบบอื่นที่มีอยู่ปัจจุบัน สามารถตรวจวัดแรงดันในลูกตาได้ แต่ต้องผ่าตัดปลูกถ่ายอุปกรณ์ลงไป แต่คอนแทคเลนส์ใหม่ประยุกต์ให้ใช้งานกับร่างกายได้ทันที และไม่ต้องผ่าตัดให้ยุ่งยาก


ขอขอบคุณบทควมจาก คม ชัด ลึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น