วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เคล็ดลับการใช้ search ของ google ให้มีประสิทธิภาพ

1. Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)

2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris

3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +x

4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย

5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF

6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"

7. Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเว็บ)

8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ

Adobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ pdf)
Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ ps)
Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)
MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)
Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)
Microsoft PowerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)
Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)
Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)
Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)
Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)
Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)

วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)

9. Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)

10. Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็น ห่วงเรื่อง keyword

11. Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น link:www.google.com แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้

12. Google สามารถค้นหาเว็บที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu

13. ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย

14. Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ

15. Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์

first name (or first initial), last name, city (state is optional)
first name (or first initial), last name, state
first name (or first initial), last name, area code
first name (or first initial), last name, zip code
phone number, including area code
last name, city, state
last name, zip code
แล้วแต่ว่าคุณจะใช้แบบไหน

16. Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com)
17. Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือก ใน Google ไทย

------------------------------ เพิ่มเติมวิชามาร -------------------------

วิชามาร ใน Google ที่ให้ได้มาซึ่งทุกอย่าง ที่อยากดาวน์โหลด ในอินเตอร์เน็ต คำแนะนำ คุณสามารถใช้วิธีนี้ ในการหาดาวน์โหลดโปรแกรม แคร็ก ซีดี คีย์ หรือต่างๆนานา ที่คุณอยากได้ แต่ผมขอแนะนำว่า คุณควรจะดาวน์โหลด มาเพื่อการทดลอง ทดสอบ หรือการศึกษาเท่านั้น

วิธีที่หนึ่ง
พิมพ์คำเหล่านี้ ใน Google Search
(1)
" parent directory " /spectralab 4.3213/ -xxx -html -htm -php -shtml -opendivx -md5 -md5sums
(2)
" parent directory " DVDRip -xxx -html -htm -php -shtml -opendivx -md5 -md5sums
(3)
" parent directory "Xvid -xxx -html -htm -php -shtml -opendivx -md5 -md5sums
(4)
" parent directory " Gamez -xxx -html -htm -php -shtml -opendivx -md5 -md5sums
(5)
" parent directory " MP3 -xxx -html -htm -php -shtml -opendivx -md5 -md5sums
(6)
" parent directory " Name of Singer or album -xxx -html -htm -php -shtml -opendivx -md5 -md5sums
หมายเหตุ ให้คุณเปลี่ยน คำที่ตามหลัง parent directory เช่น MP3 Gamez appz DVDRip เป็นสิ่งที่คุณอยากได้ แล้วก้อค้นหา คุณจะพบกับ ความมหัศจรรย์ใน Google

วิธีที่สอง
พิมพ์คำต่อไปนี้ใน Google

?intitle:index.of? mp3
จากนั้นแค่เพิ่มชื่อ เพลง อัลบั้ม นักร้อง ลงไป เช่น ?intitle:index.of? mp3 myfavoritesongs

วิธีที่สาม
พิมพ์คำต่อไปนี้ใน Google

inurl:micr0s0f filetype:iso

จากนั้น ก้อเปลี่ยน คำว่า micr0s0f กับคำว่า iso เป็นคำที่คุณต้องการ เช่น inurl:myc0mpany filetype:zip

credit: จำไม่ได้ว่าได้มาจากที่ใด เพราะ copy ไว้นานแล้ว อย่างไรก็ตาม "ขอบคุณ" นะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

คอนแทคเลนส์แบบใหม่ (เป็นยังไงนะ)

การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า ดิจิตอลคอนแทคเลนส์ เป็นการพัฒนาของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน โดยการนำทีมของนาย Harvey Ho นักศึกษาที่จบการศึกษาแล้ว และได้ไปทำงานทางด้านการค้นคว้าวิจัยที่ห้องทดลอง Sandia National Laboratories ได้มีการนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ในงานประชุมวิชาการนานาชาติของ IEEE เมือง Tucson, Arizona ประเทศสหรัฐอเมริกา

คอนแทคเลนส์แบบใหม่นี้มีความสามารถในการที่จะซูมภาพสิ่งที่เห็นในระยะไกลให้มี ความชัดเจนมากขึ้นได้และมีประสิทธิภาพในการแสดงผลจากการการมองเห็นได้มาก ขึ้นกว่าคอนแทคเลนส์แบบปกติทั่วไป โดยเฉพาะจะไวต่อสิ่งที่ผ่านเข้ามาอย่างรวดเร็วในเลนส์ตา

ซึ่งในส่วนของการพัฒนานั้น ในขั้นแรกทางทีมงานได้ทำการติดวงจรไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กมากและเบาไปยังคอน แทคเลนส์แบบธรรมดา เพื่อพิสูจน์ว่าอุปกรณ์ที่ติดเพิ่มลงไปนั้นปลอดภัยสำหรับดวงตาและไม่เป็น ปัญหาในการมองเห็น โดยไม่สนว่าจะสามารถแสดงผลการมองเห็นว่าเป็นอย่างไร จากนั้นก็มีการพัฒนาต่อเนื่องในขั้นต่อไปในส่วนการแสดงภาพการมองเห็นให้มี ความชัดเจนมากขึ้น สามารถปรับภาพที่อยู่ไกลให้เข้ามามองเห็นชัดเจนเหมือนสิ่งนั้นอยู่ในระยะ ใกล้ได้โดยอัตโนมัติ

ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก สำหรับทีมวิศวกรผู้พัฒนาในส่วนของการทาบติดวงจรไฟฟ้าที่สร้างจากโลหะและมี ความหนาเพียงไม่กี่นาโนเมตร ถือว่าเล็กมากเพราะถ้าเทียบกับเส้นผมคนเราหนึ่งเส้นจะกว้างประมาณ 80000 นาโนเมตร ลงบนคอนแทคเลนส์ที่สร้างขึ้นมาจากสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อดวงตาและร่างกายคน

ได้มีการทดลองใช้คอนแทคเลนส์แบบใหม่นี้กับกระต่ายเป็นเวลาเกือบ 20 นาที และผลที่ได้คือตัวเจ้ากระต่ายไม่มีปัญหาอะไรจากการใส่คอนแทคเลนส์นี้


คอนแทคเลนส์แบบใหม่นี้นับว่ามีประโยชน์ต่อพวกเรามาก เช่น บุคคลที่มีอาชีพเป็นนักบิน ขับยานพาหนะต่างๆ รวมไปถึงผู้ที่มีความจำเป็นต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ คอนแทคเลนส์แบบใหม่นี้ เพราะจะช่วยในการมองเห็นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระยะใกล้หรือระยะไกลก็ตาม และยังช่วยถนอมสายตาได้อีกด้วย


ที่มา : http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?pid=136610

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

ชายหาด 9 สี ที่มีอยู่จริงบนโลกใบนี้

เพื่อนๆ รู้มั้ยว่าบนโลกเราใบนี้มีชายหาด ที่มีหาดทรายสีอะไรบ้าง รู้กันมั้ยเอ่ย?
ถ้าให้เดาหลายคนคงตอบว่า... มีสีขาว สีดำ สีแดง สีเขียว เท่าที่เคยเห็นผ่านตา
กันทั่วๆไป ที่มีทั้งในประเทศ และต่างประเทศใช่หรือไม่

เชื่อไมค่ะว่า อันที่จริงแล้วบนโลกเรามีชายหาดอยู่ด้วยกันถึง 9 สีเลยทีเดียว
แต่จะเป็นสีอะไรบ้างนั้น และมีอยู่ที่ใดบ้าง วันนี้เราจะพาเพื่อนๆไปรู้จักกัน

~หาดสีขาว~ (พบมากที่สุดในโลก) หาดทรายที่ไหนก็ดูขาวไปหมด แต่ที่ Siesta Key Crescent Beach ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เป็นหาดทรายที่เกิดจากการถูกชะล้าง ของภูเขาหินทรายลงสู่แม่น้ำ ไหลเรื่อยมายังชายหาดแห่งนี้ ที่ขาวจัดเพราะในทรายมีส่วนผสมของควอตซ์บริสุทธิ์ถึง 99 เปอร์เซนต์ แถมยังนิ่มละเอียดอย่างกับน้ำตาลป่น แต่เหนือฟ้าย่อมมีฟ้าเพราะที่ Hyams Beach ในออสเตรเลีย ขึ้นชื่อว่าเป็นหาดทรายที่ขาวที่สุดในโลก ถึงขนาดได้รับการันตีบันทึกจากกินเนสบุ๊คเชียวนะ

~หาดสีแดง~ หรือหาดทรายสีเลือด เป็นสีแดงดำ มีเพียง 2-3 แห่งในโลก ที่ขึ้นชื่อก็คือหาด Kaihalulu เกิดจากการผสมสีจากแร่เหล็ก และขี้เถ้าที่ร่วนร่อนจากภูเขาไฟรอบๆ ชายหาด

~หาดสีส้ม~ ขอให้เพื่อนๆนึกถึงสีพื้นลูกรังเข้าไว้ แต่อย่าไปจำสับสนกับทรายที่หาด Ramla il - Hamra บนเกาะ Maltese ประเทศมอลตาล่ะ ทรายสีส้มจัดนี้เกิดจากตะกอนสีส้มที่ทับถมของภูเขาไฟโดยรอบ ไม่เพียงแต่ชายหาด ขนาดภูเขาหินปูนแถบนี้เป็นส้มจัดเหมือนกันเพราะตะกอนของน้ำทะเล

~หาดสีเขียว~ ซึ่งมีความเขียวเหมือนสีมะกอก นอกจากพบที่เกาะกวม และกาลาปากอส แต่ที่ติดโผอีกที่ก็ต้องชายหาด Pu'u Mahana ในฮาวาย เป็นชายหาดที่ผสมกับเถ้าลาวาที่เกร็ดของแร่โอลิวีน หรือแร่รัตนชาติสีมะกอกที่เรียกว่าเพอริดอต เมื่อเวลาผ่านไป น้ำเซาะชายฝั่งก็จะหอบเนื้อทรายไป เหลือแต่แร่ที่ว่านี้เอาไว้ ทำให้ชายหาดดูเขียวเข้มวิบวับ

~หาดสีชมพู~ คุณสมบัติขั้นต้นคือ เป็นชายหาดล้อมรอบด้วยแนวปะการัง เมื่อปะการังตายเศษโครงสร้างสีแดงก็จะถูกซัดเข้ามาผสมกับทรายจนกลายเป็นสี ชมพูอ่อน พบได้ที่บาฮามัส, เปอร์โตริโก, เบอร์มิวดา, บาร์บาดอส, ฟิลิปปินส์ และสก็อตแลนด์

~หาดสีม่วง~ เกิดจากการผสมของฝุ่นแร่พลอยแดงที่ถูกชะล้างจากภูเขารอบๆ หาด มีตั้งแต่โทนสีม่วงเข้ม ม่วงจ้า และม่วงลาเวนเดอร์ หาพบได้ที่ Pfeiffer Beach ในแคลิฟอร์เนีย

~หาดสีน้ำตาลเข้ม~ หรือหาดช็อกโกแลต ด้วยเป็นหาดที่ถูกตีวงล้อมรอบด้วยแนวภูเขาหินปูนที่มีเนื้อสีน้ำเงินเทา และภูเขาไฟเนื้อหินสีเขียว ทรายของหาด Pacifica Beach ในแคลิฟอร์เนีย จึงผสมกลมกลืนตะกอนจากการกัดกร่อนจากภูเขาเหล่านี้ กลายเป็นหาดสีน้ำตาลช็อกโกแลตหวานฉ่ำ น่าหม่ำจริงๆเชียว

~หาดสีรุ้ง~ แค่ชื่อหาดก็บอกแล้วว่า Rainbow Beach อยู่ในออสเตรเลีย ซึ่งมีมากกว่า 70 เฉดสี ในผืนทรายเดียว จากการผสมกับตะกอนที่ร่อนมาทั่วสารทิศ แต่ที่เป็นชัดที่สุด คงเป็นริ้วสีเดียวกับหน้าผายุคน้ำแข็งด้านหลังหาด ที่มีโทนสีไล่เป็นสีรุ้งเชอร์เบ็ต และที่น่าทึ่งกว่า ลึกลงไปใต้พื้นทรายก็ยังไล่เป็นสีรุ้งเช่นกัน

~หาดสีดำ~ หรือหาดทรายดำ เกิดจาก ลาวาที่ประทุจากภูเขาไฟริมหรือใกล้ชายฝั่งเย็นตัวลงเป็นเถ้าสีดำ ถูกน้ำซัดไปปะปนกับพื้นทราย หาดทรายดำจะประกอบด้วยเศษแร่หลายชนิด เช่น โกเมน, ทับทิม, แซฟไฟร์, บุษราคัม และเพชร หลายที่จะนิยมให้บริการฝังตัวกับทรายดำ เชื่อกันว่า รักษาผิว และสุขภาพ พบได้หลายที่ทั่วโลก อย่างที่ Punalu'u Beach ในฮาวาย หรือในบ้านเราก็มีเหมือนกันอยู่ที่ จ.ตราด

และนี่ก็คือความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ที่สร้างขึ้นโดยธรรมชาติ เพื่อจรรโลงโลกนี้ให้สวยงาม หากธรรมชาติจะยังคงสวยงามอยู่ได้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของมนุษย์เรา

แหล่งที่มา:
mcot.net

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

ว่าด้วยเรื่อง..ค่าอมน้ำ

* คอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยน รายวัน ค่าอมน้ำ มาก > ชนิดเปลี่ยนรายเดือน-รายสามเดือน มากกว่า > คอนแทคเลนส์ชนิดใช้ได้ถึงหนึ่งปีที่มีอายุการใช้งานยาวนาน

คอนแทคเลนส์รายวัน มีค่าอมน้ำประมาณ 55%

คอนแทคเลนส์รายเดือน มีค่าอมน้ำประมาณ 45%

คอนแทคเลนส์ราย 6 เดือน-1ปี มีค่าอมน้ำประมาณ 38-45%


ความเชื่อ เรื่อง ค่าอมน้ำ ว่าอมน้ำมากแล้วจะใส่สบาย


ความจริงคือการที่จัใส่คอนแทคเลนส์แล้วรู้สึกว่าสบายไม่ได้อยุ่ที่ค่าอมน้ำมาก แต่ความจริง คือ การที่คอนแทคเลนส์นั้นๆ แล้วคอนแทคเลนส์สามารถนำ Oxygen ไหลเวียนให้กับดวงตามากที่สุด (เป็น High Oxygen Permeability)

- ค่า C.T (Centre Thickness) หรือความหนาบางของคอนแทคเลนส์(กำลังสายตา)ก็มีผล
- วัสดุที่ใช้ทำคอนแทคเลนส์ ส่งผลต่อ ความนิ่มของคอนแทคเลนส์ ปัจจุบันนิยมใช้ HEMA *
- วิธีการผลิต เทคนิคในการผลิตเลนส์ เช่น CASTING MOLD , SEMI CASTING MOLD
- เส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์ DIA (DIAMETER) DIA 14.0 จะใส่สบายกว่า DIA 14.5

*** HEMA (poly hydroxyethy methacrylate) เป็นไฮโดเจล ***
*** สารไฮโดรเจล (hydrogel) คือ สารที่มีลักษณะเป็น เจล (gel) และ มีน้ำอยู่ (อมน้ำ) ***

อย่างไรก็ตาม การผลิตคอนแทคเลนส์ทุกวันนี้ยังยึดหลักการที่ว่า คอนแทคเลนส์ที่ดีต้องอุ้มน้ำได้มาก โดยเฉพาะเลนส์ที่อุ้มน้ำได้ถึงร้อยละ 80 ด้วยเชื่อว่าน้ำจะช่วยให้ไม่เคืองตาและเพิ่มออกซิเจนให้เยื่อตา ทั้งที่ความจริงแล้วเลนส์ที่มีน้ำน้อยจะให้ภาพที่ชัดและถูกต้องกว่า

คอนแทคเลนส์ทำจากวัสดุชนิดใด

คอนแทคเลนส์ชนิดต่างๆ

คอนแทคเลนส์นั้นเป็น Optical disc ที่บางมากและมีขนาดใหญ่ประมาณเหรียญ 50 สตางค์ ถึงแม้ว่าเลนส์แบบแข็ง(standard hard lens) ที่เริ่มจำหน่ายมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 จะยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน แต่การพัฒนาวัสดุ ตลอดจนเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมาก็ทำให้เลนส์แบบนี้ค่อยๆ เสื่อมความนิยมไปเองโดยปริยาย ปัจจุบันมีผู้ใช้เลนส์แบบนี้อยู่น้อยกว่า 0.5% ของจำนวนผู้ใช้เลนส์ทั้งหมด เลนส์ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 2 แบบหลักๆ และรวมถึงเลนส์แบบพิเศษ

1. เลนส์แบบนิ่ม(Soft lens)

เริ่ม ใช้มาประมาณ 20 ปีแล้ว ทำจากพลาสติกที่สามารถดูดซับน้ำได้และมีความหยุ่นตัวสูง โดยปกติจะดูดซับน้ำได้ 30-80% เลนส์แบบนิ่มนี้มีทั้งแบบที่ใช้เพียงวันเดียวแล้วทิ้งหรือใช้หนึ่งหรือ 2 อาทิตย์ก่อนทิ้งก็ได้ หรือไม่ก็ใช้แบบทั่วไปที่มีอายุการใช้งานนานเป็นปี

2. เลนส์แบบแข็งแต่ยอมให้ก๊าซผ่านได้(Rigid gas permeable: RGP)

ทำจากพลาสติกพิเศษที่คงรูปดีกว่า แต่ยังคงยอมให้ก๊าซออกซิเจนและก๊าซอื่นซึมผ่านได้ เลนส์พวกนี้ใช้ง่ายและมักจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเลนส์แบบนิ่ม นอกจากนี้ยังให้ภาพที่คมชัดและเหมาะกับคนที่สายตาเอียงมากๆ ถึงจะต้องใช้เวลานานในการปรับตัวให้คุ้นเคยกับเลนส์

3. เลนส์แบบพิเศษ

3.1 เลนส์แบบใช้แล้วทิ้ง แบบเปลี่ยนบ่อยๆ และแบบที่กำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนไว้ล่วงหน้า (Frequent and planned replacement soft lens)
3.2 เลนส์ที่ใช้ในการบำบัด (Therapeutic contact lens) ซึ่งใช้ร่วมกับยาเป็นระยะตามกำหนดเพื่อช่วยรักษาดวงตาให้กลับคืนสู่สภาพการมองเห็นตามปกติ
3.3 เลนส์แบบมีสี (Tinted contact lens) บางชนิดมีสมบัติช่วยป้องกันการดูดกลืนแสง UV ด้วย

ประวัติการคิดค้นในเชิงวัสดุและกรรมวิธีในการทำเลนส์แต่ละชนิด

  • เลนส์ที่ให้ถอดทุกวัน (Daily Wear Contact Lens) เลนส์อันแรกมีชื่อว่า Corneoscleral shell ขนาด 18-21 mm. และครอบคลุมทั้งส่วนคอร์เนียของดวงตากับส่วน sclera ไว้ทั้งหมด ทำโดยใช้ตาของกระต่ายและซากศพเป็นแม่พิมพ์ในการเป่าแก้วให้เป็นรูปร่างเลนส์ แต่การทำนั้นยุ่งยากและใส่ไม่สบายอย่างยิ่ง จนปี ค.ศ.1940 ที่มีการนำ poly (methyl methacrylate) หรือ PMMA เข้ามา และได้มีการทำเลนส์ corneal lens ขึ้น ขนาด 9 mm. ที่ปกคลุมเฉพาะส่วนคอร์เนียตรงกลางเท่านั้น PMMA ถือเป็นวัสดุในอุดมคติสำหรับใช้ทำคอนแทคเลนส์แบบแข็งเลยทีเดียว เพราะมีค่าโมดูลัสของความยืดหยุ่นตัวสูง มี surface wettability ดี รวมทั้งมีอายุการใช้งานนาน วิธีทำเลนส์ก็เตรียมจากการทำ bulk radical polymerization ของ methyl methacrylate เพื่อให้เกิดเป็นแท่ง หรือแผ่นแบนๆ แบบกระดุมขึ้นมาก่อน แล้วจึงนำไปทำเป็นเลนส์ต่อไปโดยใช้กระบวนการ secondary lathing operation ต่อมาได้มีการค้นพบไฮโดรเจล HEMA (poly (hydroxyethy methacrylate)) และใช้กระบวนการเตรียมคอนแทคเลนส์จากวัสดุนี้ที่ง่ายดาย เรียกว่า spin casting HEMA เป็นวัสดุใส อ่อนนิ่ม ซึ่งเมื่อมีน้ำอยู่ด้วยจะดูดน้ำไว้ได้ถึง 40% แต่ตัวมันเองไม่ละลายน้ำ เพราะมีการเชื่อมโยงแบบ 3 มิติอยู่ กระบวนการ spin casting จะเกี่ยวข้องกับการ polymerize HEMA monomer ในแม่พิมพ์รูปโค้งที่หมุนอยู่ตลอดเวลา โดยมีการควบคุมกำลังการขยายของเลนส์ โดยการควบคุมอัตราการหมุนและความโค้งของแม่พิมพ์
  • เลนส์ที่ไม่ต้องถอดทุกวัน (Extended Wear Contact Lens) ด้วยเหตุที่ไฮโดรเจลเลนส์แบบที่ให้ถอดทุกวันประสบความสำเร็จมาก นักวิจัยต้องการวัสดุใหม่ที่จะช่วยเพิ่มเวลาให้ใส่คอนแทคเลนส์ได้นานขึ้น สมบัติของวัสดุใหม่ที่จำเป็นต้องมี ก็คือ วัสดุใส ทนต่อความร้อนและสารเคมี มี biocompatibility และ wettable ได้ด้วยน้ำตา และมีสมบัติทางกลที่เหมาะสมด้วย คือมีความแข็งแรงเพียงพอ ไม่ฉีกขาดง่ายเมื่อถูกแรงกระทำ รวมถึงการที่ต้องมีค่าโมดูลัสของความยืดหยุ่นต่ำ ถ้าเป็นกรณีของเลนส์แบบแข็ง จะต้องมีค่าโมดูลัสของการมองเห็นที่คงที่สูง และมีค่าการยืดตัวตลอดจนความทนแรงดึงสูงด้วย เพื่อไม่ให้เลนส์แตกง่าย แต่ที่สำคัญวัสดุนี้จะต้องสามารถเตรียมได้จาก bulk polymerization และสามารถขึ้นรูปเป็นเลนส์ได้ด้วยกระบวนการผลิตเลนส์ที่มีการใช้กันอยู่ใน ปัจจุบัน และประการสุดท้าย วัสดุนี้ต้องยอมให้ออกซิเจนผ่านได้ ซึ่งจะเกี่ยวกับการกำหนดความหนาของเลนส์
  • เลนส์แบบแข็ง (Hard Lens) ทำจากโพลิเมอร์ใสที่มีการเชื่อมโยงในโครงสร้างสูงและมีค่าโมดูลัส มากกว่า 100 MPa ขึ้นไป และมีปริมาณน้ำน้อยกว่า 1% เลนส์แบบแข็งอันแรกที่ประสบความสำเร็จทำจาก poly (methyl methacrylate) ซึ่งข้อดีมากของวัสดุนี้คือ biocompatibility สูง แต่ต้องใช้เวลานานในการปรับตัว กับยอมให้ออกซิเจนผ่านได้น้อย ต่อมาในปี ค.ศ.1975 ได้มีการพัฒนาคอนแทคเลนส์แบบแข็งชนิดแรกที่เป็น siloxane based ขึ้นมาได้ ถือเป็นเลนส์แบบแข็งที่ยอมให้ก๊าซผ่านได้ชนิดแรก วัสดุนี้ได้จากการทำ copolymerization ของ methyl methacrylate กับ methacrylate functionalized siloxanes ได้เป็น MMA ที่มีความคงตัวดีเลิศ ขึ้นรูปง่าย และยอมให้ออกซิเจนผ่านได้
  • เลนส์แบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable Contact Lens) เพื่อลดปัญหาเลนส์กลายเป็นสีเหลือง ในบางครั้งที่เกิดจากการที่ไฮโดรเจนเลนส์ ดูดซับโปรตีนจากดวงตาไว้ที่ผิวหน้าเลนส์ เลนส์ยี่ห้อ Acuvue ได้ถูกออกแบบมาให้ใส่ได้เพียง 7 วันแล้วต้องถอดทิ้ง
ที่มา : "มารู้จักคอนแทคเลนส์กันเถอะ", วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 5-7

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม :

Web Sites

บทความ

  • วัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตอนที่ 1-3 มารู้จักคอนแทคเลนส์กันเถอะ วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 5-7
  • คอนแทคเลนส์ วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 29
  • ผิวเคลือบโลหะเพิ่มอายุคอนแทคเลนส์ วารสารเทคโนโลยีวัสดุ ฉบับที่ 31

สิ่งที่ต้องรู้เมื่อจะซื้อคอนแทคเลนส์

สิ่งที่ต้องรู้เมื่อจะซื้อ คอนแทคเลนส์
เลนส์ชนิด Disposable หมายถึงเลนส์ที่ใช้แล้วไม่ต้องล้างเลย ใช้แล้วถอดทิ้งเหมือนเราใช้กระดาษทิชชู
และ Planned Replacement หมายถึงเลนส์ที่ใช้แล้วใช้ซ้ำอีกได้ แต่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ มีอายุการใช้งาน
ค่อนข้างสั้น ทุก 2-4 สัปดาห์

เลนส์ทั้งสองประเภท เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เรื่อยๆมีความเข้าใจผิดของผู้ใช้อยู่เสมอว่า เลนส์พวกนี้
เป็นเลนส์ Free size ดังนั้นเมื่อไปหาซื้อเลนส์ ผู้ใช้มักบอกคนขายแต่เพียงว่า ต้องการ ACUVUE
เบอร์ -3.00 หรือ ต้องการ FOCUS เบอร์ -4.75 เท่านั้น และ คนขายก็มักหยิบเลนส์มาให้ได้เสียด้วย

ที่จริงแล้ว บนหน้าซองบรรจุเลนส์ คุณจะเห็นว่านอกจากค่ากำลังของเลนส์ หรือ power -3.00 D หรือ
-4.75D แล้วยังมี
ตัวอักษร B.C. 8.8 หรือ B.C. 8.6 กำกับมาด้วย ให้คุณแน่ใจได้เลยว่า นั่นย่อมไม่ได้หมายความว่าเลนส์
ชิ้นนั้น ผลิตขึ้นก่อนคริสตกาล แต่มันสำคัญอย่างไรด้วยหรือ หรือฝรั่งทำเกินมา เฉยๆ
ค่า B.C. ย่อมาจาก Base Curve หมายถึงรัศมีความโค้งด้านหลังของเลนส์ชิ้นนั้น ซึ่งเป็นด้านจะต้อง
สัมผัสกับดวงตาของเรา เลนส์ที่มี B.C. 8.8 มิลลิเมตร หมายถึงเลนส์ชิ้นนั้น แบนกว่าเลนส์ที่มี B.C. 8.4
มิลลิเมตร ซึ่งจะทำให้ เลนส์ 8.4 ติดแน่น บีบรัดดวงตามากกว่า
ส่วนเลนส์ 8.8 จะรู้สึกหลวมเลื่อนได้มากกว่า

เมื่อคุณซื้อเลนส์ คุณอาจเพิ่มหรือลด กำลังของเลนส์ได้ตามใจชอบ เช่น อยากให้ภาพคมชัดขึ้นอาจลองซื้อ
เลนส์กำลังสูงขึ้นสัก 0.25 แต่ถ้าใส่แล้วไม่ชอบใจ อยากใส่ให้ภาพนุ่มนวลลงก็อาจซื้อเลนส์อ่อนลงสัก 0.25 ได้
ไม่เสียหายอะไรนอกจากรู้สึกมึนๆนิดๆ
แต่การเปลี่ยนค่า Base Curve ขอให้เป็นหน้าที่ของจักษุแพทย์นะครับ เพราะการใส่เลนส์คับหรือหลวม
เกินไปอาจเป็นอันตรายได้ ควรซื้อเลนส์ Base Curve เดิมเสมอ ห้ามเปลี่ยนเองครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ.คำนูณ อธิภาส (จักษุแพทย์)

ว่าด้วยเรื่อง..โรคที่เกิดจากการใช้เลนส์สัมผัส

โรคที่เกิดจากการใช้เลนส์สัมผัส
เกิดตุ่มอักเสบบนหนังตาด้านใน พบมากในผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสชนิดอ่อน สาเหตุเกิดจากการระคายเคือง
เนื่องมาจากเลนส์ถูกดึงขึ้นข้างบนโดยตุ่มที่หนังตาบนด้านใน (papilla) เมื่อเวลาหนังตาบนเคลื่อนไหว
และสารตกค้างบนผิวของเลนส์ยังกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น ส่วนอาการอื่นที่เกิดต่อเนื่องมาคือ ภาวะ
หนังตาตก ตาแดง ระคายเคือง มีการสร้างสารจำพวกโปรตีนที่ละลายได้ (mucoid) มองภาพไม่ชัด
มีน้ำตา ตาไม่สู้แสง

เกิดการอักเสบของกระจกตา และเยื่อตาขาวส่วนที่สัมผัสกับของเลนส์สัมผัส อาการนี้ หากเกิดจากการแพ้
หรือจากพิษข้างเคียงของวัตถุกันเสียหรือสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อ เยื่อตาขาวส่วนล่างจะแสดงอาการอักเสบ
เนื่องจากน้ำยาจะไหลลงมาด้านล่างเป็นอาการแพ้ที่ค่อย ๆ เกิดขึ้น ซึ่งอาจใช้เวลา 2-3 ปี

อาการอักเสบของกระจกตา (Contact Keratoconjunctivitis) พบมากในรายที่ฆ่าเชื้อเลนส์ด้วยวิธีใช้
สารเคมี นอกจากนั้น การเกิดสิ่งสะสมบนเลนส์ หรืออาการตาแห้ง จะทำให้อาการอักเสบเกิดมากขึ้น

อาการตาแห้งซึ่งเกิดจากการแพ้ พบในผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสมานาน 2-3 ปี นอกจากนี้ผู้ใช้ยาขับปัสสาวะ หรือยา
รักษาโรคหัวใจประเภทเบต้าบล๊อกเกอร์ ก็อาจเกิดอาการตาแห้งได้เช่นกัน ปัจจัยอื่นที่ทำให้ตาแห้ง เช่น
- การกระพริบตาที่ผิดปกติที่เกิดจากเส้นประสาทที่ 5 และที่ 7 เป็นอัมพาต
- ตาโปนผิดปกติ (exophthalmos)
- ผิวของลูกตาผิดปกติ เนื่องจากมีจุดเหลือง ๆ บนกระจกตาหรือต้อลม (pingueculum)หรือต้อเนื้อ
(pterygium)
- ผิวเลนส์สัมผัสไม่เรียบ

ผู้ป่วยที่มีอาการตาแห้งจึงไม่ควรใช้เลนส์สัมผัสชนิดที่เข้ากับน้ำได้ดี (hydrophilic) เนื่องจากเลนส์ชนิดนี้
จะดูดซับน้ำตาและสารที่ตาสร้างขึ้นมาเคลือบผิวลูกตาโดยเฉพาะส่วนของกระจกตา

การอักเสบ ลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ ที่เยื่อบุผิวของกระจกตา เนื่องจากเกิดบาดแผลหรือการช้ำที่เยื่อตา ตาแห้ง
มีอาการแพ้ หรือขาดออกซิเจน ซึ่งแผลจุดเล็ก ๆ อาจมารวมกันเข้าเป็นบริเวณใหญ่ และเกิดการติดเชื้อ ซึ่งเป็น
อันตรายได้ จึงจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยหยุดการใช้เลนส์สัมผัส จนกว่าแผลจะหายเสียก่อนการอักเสบของเยื่อตา
บริเวณขอบตาขาวต่อกับตาดำด้านบน เนื่องจากตาแห้ง เป็นโรคภูมิแพ้ หรือขาดออกซิเจน โดยอาการที่พบ
ในขั้นแรก คือกลุ่มเส้นเลือดหรือท่อน้ำเหลืองเกิดขึ้นมากที่บริเวณผิวตื้น ๆ ต่อมาจะมีความผิดปกติของขอบ
กระจกตา มีอาการบวมและมีอาการคล้ายเยื่อมูกอักเสบ หากยังใส่เลนส์ต่อไปจะเกิดมีเนื้อเยื่อแข็งกลายและเป็น
แผลเป็นขึ้นที่กระจกตา

การติดเชื้อ เป็นอาการของโรคที่เกิดจากการใช้เลนส์สัมผัสที่เป็นอันตรายที่สุด เนื่องจากทำให้ตาบอดถาวรได้
พบในผู้ที่ใช้เลนส์ชนิดที่ใส่ติดต่อกันได้นาน ๆ หรือจากการเกิดรอยถลอกเนื่องจากการเคลื่อนไหวของเลนส์
ที่ใส่อยู่เป็นประจำหรือการขาดออกซิเจนและการมีรอยช้ำอยู่ประจำจนทำให้เกิดแผลขึ้น โดยเฉพาะในกรณี
ที่ผู้ใช้มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานก็จะเกิดแผลที่กระจกตาได้ง่ายกว่าปกติ

สาเหตุที่เกิดการติดเชื้อยังอาจมาจากตัวผู้ใช้เอง หรือมาจากน้ำยาที่ใช้กับเลนส์ หรือภาชนะบรรจุเลนส์
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจำนวนคนที่ใช้เลนส์สัมผัสแล้วเกิดการติดเชื้อยังมีไม่มาก ยังคงพบว่าการใช้เลนส์สัมผัส
ชนิดที่ใส่นานๆจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนขึ้น

การป้องกันอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการใช้เลนส์สัมผัส อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับตาในผู้ที่ใช้เลนส์สัมผัสอาจป้องกันได้ ดังนี้
- การคัดเลือกผู้ป่วยอย่างระมัดระวัง เพราะการประกอบเลนส์สัมผัสให้ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงสภาวะของผู้ใช้ว่า
เหมาะสมหรือไม่ มีข้อห้ามอะไรหรือไม่
- การประกอบเลนส์สัมผัสที่เหมาะสมต้องเลือกเลนส์สัมผัสให้เหมาะกับผู้ใช้เฉพาะรายไป
- การสาธิตวิธีการใช้ให้ผู้ใช้ เช่น การใส่ ถอด ทำความสะอาด และวิธีดูแลรักษา การฆ่าเชื้อเลนส์
- นอกจากนี้ต้องแนะนำผู้ใช้รู้จักปรึกษากับผู้ประกอบเลนส์สัมผัสในกรณีมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับตา
- การดูแลในภายหลัง จำเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ใช้เลนส์สัมผัสชนิดที่ใช้ใส่ติดต่อเป็นเวลานาน ๆ
( extended wear) เพราะการใช้เลนส์ชนิดนี้ต้องดูแลระมัดระวังเป็นพิเศษ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก นพ.คำนูณ อธิภาส (จักษุแพทย์)

ว่าด้วยเรื่องของเลนส์สัมผัส..

เลนส์สัมผัส หมายถึง เลนส์ที่ใส่แล้วสัมผัสโดยตรงกับส่วนหน้าของลูกตา เลนส์สัมผัสที่ใช้อยู่
ในปัจจุบันจะเป็นชนิดที่ใส่ปิดครอบคลุมเฉพาะบริเวณกระจกตา

ชนิดของเลนส์สัมผัส
แบ่งตามวัสดุที่ใช้เป็น 2 ชนิด
1.1 เลนส์สัมผัสชนิดแข็ง (hard or rigid lenses) เป็นเลนส์ที่คงรูปร่างในสภาพปกติได้ ทำจาก
พลาสติกชนิดเมททิลเมททราครัยเลท (PMMA)
1.2 เลนส์สัมผัสชนิดอ่อน (soft lenses) เป็นเลนส์ที่ไม่สามารถคงรูปร่างในสภาพปกติได้ เนื่องจาก
ทำด้วยสารไฮโดรเยล (hydrogel) ซึ่งเป็นสารที่มีลักษณะเป็นเยล (gel) และมีน้ำอยู่ อาจผลิตได้โดย
การใช้ของเหลวใส่ลงในแบบพิมพ์ที่หมุนด้วยอัตราความเร็วและอุณหภูมิตามที่กำหนด เพื่อให้ได้เลนส์
ที่มีแบบความโค้ง และกำลังขยายที่ต้องการหรืออาจผลิตโดยใช้เครื่องจักรในการขัดหรือปรับรูปร่างให้ได้
ตามที่ต้องการเลนส์สัมผัสชนิดอ่อนส่วนใหญ่จะทำด้วยสารไฮดร๊อกซีเมททิลเมททราครัยเลท (HEMA)
เป็นพื้นฐาน และผสมด้วยสารโพลีเมอร์ตัวอื่น นอกจากนี้ยังอาจทำจากสารอื่นที่ไม่ใช่ HEMA ได้ เช่น
กลีเซอรอล เมททิลเมท-ทาครัยเลท (glycerol methylmethacrylate)

แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้เป็น 7 ชนิด
2.1 ชนิดใช้ใส่ได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง ต้องถอดออกเวลาหลับ เรียกว่า daily wear lenses
2.2 ชนิดใส่ได้เป็นเวลาติดต่อกันนานเกินกว่า 24 ชั่วโมง เรียกว่า extended wear หรือ
prolonged-wear lenses
2.3 ชนิดที่ผสมสี ใส่เพื่อความสวยงามไม่ใช่เพื่อแก้ไขความบกพร่องทางสายตา เรียกว่า
cosmetic lenses
2.4 ชนิดที่ใช้ปิดคลุมกระจกตา (corneal) เพื่อป้องกันกระจกตาจากภายนอกและช่วยให้แผลที่กระจกตา
หายเร็วขึ้น เรียกว่า bandage lenses
2.5 ชนิดที่ใส่เพื่อแก้ไขอาการสายตาเอียง เรียกว่า toric lenses
2.6 ชนิดที่ใส่ได้เป็นเวลานานแบบ extended wear แต่ใช้ใส่ได้ครั้งเดียว ไม่สามารถนำกลับมาใช้อีก
เรียกว่า disposable lenses
2.7 ชนิดที่ใช้ในรายที่มีอาการสายตาสั้นและสายตายาวอยู่ด้วยกันซึ่งจะมีจุดโฟกัสต่างกันในแต่ละส่วนของ
การมอง (optical zone ) เรียกว่า bifocal หรือ multifocal lense
s

คุณสมบัติของเลนส์สัมผัส
การมีคุณสมบัติตามที่แพทย์สั่ง เลนส์สัมผัสต้องมีรูปร่างลักษณะภายนอก กำลังการหักเห เส้นผ่านศูนย์กลาง
รัศมีความโค้ง ความหนา เป็นไปตามที่แพทย์สั่งโดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินตามที่กำหนด

การมีคุณสมบัติตามที่แพทย์สั่ง เลนส์สัมผัสต้องมีรูปร่างลักษณะภายนอก กำลังการหักเห เส้นผ่านศูนย์กลาง
รัศมีความโค้ง ความหนา เป็นไปตามที่แพทย์สั่งโดยมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินตามที่กำหนด

คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้
2.1 วัสดุของเลนส์สัมผัสชนิดแข็งต้องไม่มีฟองอากาศ สิ่งแปลกปลอม รอยร้าวอยู่ภายใน
หรือการเปลี่ยนสี และต้องมีเสถียรภาพทางเคมีและฟิสิกส์
2.2 หากเป็นวัสดุที่มีสี สีที่ใช้ต้องเป็นสีไม่ทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ (inert pigment) และการกระจาย
ของสีต้องมีความสม่ำเสมอทั่วเนื้อเลนส์
2.3 กำลังหักเหของวัสดุที่ใช้ ต้องมีความสม่ำเสมอทั่วเนื้อของเลนส์ และคงตัวในอากาศ คุณสมบัติของ
เลนส์สัมผัสสำเร็จรูป
3.1 ปราศจากรอยตำหนิ เช่น จุด รอยขีดข่วน รอยที่เกิดจากการขัด หรือ อื่น ๆ เมื่อขยายด้วยเครื่อง
ที่มีกำลัง 10 เท่า
3.2 ผิวเลนส์ด้านที่ติดกับตา ต้องมีความสม่ำเสมอ เมื่อวัดระยะจากศูนย์กลางไปยังขอบของบริเวณที่มี
กำลังหักเหในจุดต่าง ๆ กัน ต้องมีความคลาดเคลื่อนหรือต่างกันได้ไม่เกินที่กำหนด
ค่าที่กำหนดต่าง ๆ ที่เป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงคุณสมบัติของเลนส์สัมผัส ประกอบด้วยรัศมีความโค้ง
เส้นผ่านศูนย์กลางของทุกส่วนโค้งบนเลนส์ กำลังหักเห ความหนาที่ศูนย์กลางหรือขอบสี และการสลัก
สัญญลักษณ์บนเลนส์สัมผัส


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นพ.คำนูณ อธิภาส (จักษุแพทย์)

คอนแทคเลนส์ลดเสี่ยงต้อหิน

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์ เนียกล่าวว่า คอนแทคเลนส์แบบใหม่ช่วยให้เข้าใจโรคตาอย่าง ต้อหิน และป้องกันตาบอดได้ดีขึ้น ต้อหินเป็นสาเหตุหลักอันดับ2 ของโลกที่ทำให้ตาบอด
เนื่องจากตัวบ่งชี้อาการโรคต้อหินอย่างความดันภายในลูกตานั้น สามารถผันแปรได้ตลอดเวลา แต่ละวันเปลี่ยนไม่ซ้ำกัน หรือเปลี่ยนแปลงทุกนาทีก็ว่าได้ แต่ปัจจุบันแพทย์จะตรวจวัดทุก 2-3 เดือนเท่านั้น ความถี่ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยต่างจากโรคเรื้อรังอย่างเบาหวานที่สามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้วันละหลายครั้ง

คอนแทคเลนส์ แบบใหม่นี้ทำจากโพลิไดเมทิลไซโลเซน (พีดีเอ็มเอส) วัสดุที่ใกล้เคียงกับที่ใช้ในคอนแทคเลนส์ปัจจุบันเคลือบด้วยตารางนาโนซิลเวอร์ขนาด 8x8 ช่องเหมือนตารางหมากรุก ใช้ตรวจวัดแรงดันในลูกตา 64 จุด แต่ละจุดจะคอยตรวจสอบความดันในตาและส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกค่าแรงดันภายในตา ทีมวิจัยคาดว่ารุ่นต่อไปจะพัฒนาให้มีจุดตรวจวัดถึง 1,000 จุด โดยใช้ตารางนาโนซิลเวอร์แบบล่องหน


คอนแทคเลนส์พิเศษยังเคลือบยาลดแรงดันในลูกตาไว้ด้วยโดยอาศัยประจุไฟฟ้าแบบอ่อน ช่วยผลักยาเข้าไปลดแรงดันและแพทย์สามารถดูผลการใช้ยาผ่านจอภาพได้ ผู้เชี่ยวชาญอีกรายให้ความเห็นที่เป็นกลางว่าคอนเทคเลนส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประจำอยู่แล้ว เมื่อเคลือบยาลดแรงดันเข้าไปด้วยทำให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ ส่วนอุปกรณ์แบบอื่นที่มีอยู่ปัจจุบันสามารถตรวจวัดแรงดันในลูกตาได้แต่ต้องผ่าตัดปลูกถ่ายอุปกรณ์ลงไป แต่คอนแทคเลนส์ใหม่ประยุกต์ให้ใช้งานกับร่างกายได้ทันทีและไม่ต้องผ่าตัดให้ยุ่งยาก


คอนแทคเลนส์รุ่นใหม่นอกจากช่วยคนสายตาสั้นมองภาพได้ชัดแจ๋วไม่ต้องใส่แว่นแล้วนักวิจัย สหรัฐยังเคลือบสารพิเศษทำหน้าที่เหมือนเซ็นเซอร์ตรวจสอบแรงดันภายในลูกตาได้ พร้อมจัดแจงใส่ยาลดแรงดัน ป้องกันความเสี่ยงเกิดโรคต้อหิน


นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียกล่าวว่า คอนแทคเลนส์แบบใหม่ช่วยให้เข้าใจโรคตาอย่าง ต้อหิน และป้องกันตาบอดได้ดีขึ้น ต้อหินเป็นสาเหตุหลักอันดับ 2 ของโลกที่ทำให้ตาบอด เนื่องจากตัวบ่งชี้อาการโรคต้อหินอย่างความดันภายในลูกตานั้น สามารถผันแปรได้ตลอดเวลาแต่ละวันเปลี่ยนไม่ซ้ำกัน หรือเปลี่ยนแปลงทุกนาทีก็ว่าได้ แต่ปัจจุบัน แพทย์จะตรวจวัดทุก 2-3 เดือนเท่านั้น ความถี่ขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ต่างจากโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน ที่สามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้วันละหลายครั้ง คอนแทคเลนส์แบบใหม่นี้ทำจากโพลิไดเมทิลไซโลเซน (พีดีเอ็มเอส) วัสดุที่ใกล้เคียงกับที่ใช้ในคอนแทคเลนส์ปัจจุบัน เคลือบด้วยตารางนาโนซิลเวอร์ ขนาด 8x8 ช่องเหมือนตารางหมากรุก ใช้ตรวจวัดแรงดันในลูกตา 64 จุด แต่ละจุดจะคอยตรวจสอบความดันในตา และส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกค่าแรงดันภายในตา ทีมวิจัยคาดว่า รุ่นต่อไปจะพัฒนาให้มีจุดตรวจวัดถึง1,000จุด โดยใช้ตารางนาโนซิลเวอร์แบบล่องหน คอนแทคเลนส์พิเศษยังเคลือบยาลดแรงดันในลูกตาไว้ด้วยโดยอาศัยประจุไฟฟ้าแบบ อ่อนช่วยผลักยาเข้าไปลดแรงดัน และแพทย์สามารถดูผลการใช้ยาผ่านจอภาพได้ ผู้เชี่ยวชาญอีกรายให้ความเห็นที่เป็นกลางว่าคอนเทคเลนส์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประจำอยู่แล้ว เมื่อเคลือบยาลดแรงดันเข้าไปด้วยทำให้ผู้ป่วยมั่นใจว่าได้รับยาอย่างสม่ำ เสมอ ส่วนอุปกรณ์แบบอื่นที่มีอยู่ปัจจุบัน สามารถตรวจวัดแรงดันในลูกตาได้ แต่ต้องผ่าตัดปลูกถ่ายอุปกรณ์ลงไป แต่คอนแทคเลนส์ใหม่ประยุกต์ให้ใช้งานกับร่างกายได้ทันที และไม่ต้องผ่าตัดให้ยุ่งยาก


ขอขอบคุณบทควมจาก คม ชัด ลึก

เรื่องของสายตา..

สายตาสั้น (Myopia)
สายตาสั้นเป็นภาวะที่แสงผ่านกระจกตาและเลนส์ตา มาโฟกัสหน้าจอประสาทตา ทำให้ภาพที่ตกบนจอประสาทตาไม่ชัดเจน อาจเกิดจากการที่ดวงตามีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวเกินไป หรือกำลังรวมแสงของกระจกตาและเลนส์มากเกินไป ทำให้แสงที่ผ่านกระจกตาและเลนส์ตา มาโฟกัสหน้าจอประสาทตา ภาพที่เห็นจึงไม่คมชัด การทีจะเห็นได้ชัดเจนต้องใช้เลนส์เว้ากระจายแสงออกเพื่อให้แสงไปตกที่จอ ประสาทตาพอดี

ส่วนการที่มองวัตถุใกล้ได้ชัดเจนโดยไม่ต้องใส่แว่น เนื่องจากแสงจากวัตถุจะไปโฟกัสที่จอประสาทได้พอดี ทำให้มองเห็นชัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความสั้นของตา

อาการของสายตาสั้นและการแก้ไข
ภาพระยะไกลพร่ามัวแก้ไขโดยใช้แว่นสายตา
เกิดอาการเพลียตาแก้ไขโดยใส่คอนแทคเลนส์หรือการผ่าตัด


สายตายาว (Hyperopia)

เป็นภาวะที่ตรงข้ามกับสายตาสั้น คือ แสงผ่านที่กระจกตาและเลนส์มาโฟกัสหลังจอประสาทตา แต่ร่างกายสามารถแก้ไขให้ชัด โดยใช้เลนส์ตาช่วยปรับโฟกัสได้ โดยใช้การเพ่ง (Accomodation) ตลอดเวลา ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตา ปวดศรีษะได้ และเมื่ออายุมากขึ้นกำลังการเพ่งจะลดลง จนไม่สามารถจะโฟกัสแสงได้อีกก็ทำให้เห็นภาพไม่ชัด วิธีการแก้ไขคือการใส่แว่นเลนส์นูน

อาการและการแก้ไข
1. มองภาพระยะใกล้ไม่ชัดแก้ไขโดยใช้แว่นสายตา
2. เพลียตา ปวดตา น้ำตาไหล แพ้แสง อาการเหล่านี้มักเกิดร่วมกับการใช้สายตาระยะใกล้ หรือที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ แก้ไขโดยใส่คอนแทคเลนส์
3. รู้สึกตาขวางๆหรือหนักตาเมื่อทำงานระยะใกล้ๆ แก้ไขโดยใส่คอนแทคเลนส์หรือผ่าตัด


สายตาเอียง (Astigmatism)

ภาวะสายตาเอียง หมายถึง การที่กระจกตามีความโค้งในแต่ละแนวไม่เท่ากัน เปรียบผิวของกระจกตาได้กับผิวของลูกรักบี้ ส่วนสายตาปกติจะมีผิวของกระจกตาเหมือนความโค้งของลูกฟุตบอล ทำให้ตาไม่สามารถจะโฟกัสแสงในแต่ละแกน ให้เป็นจุดเดียวกัน การแก้ไขคือการใส่แว่นที่มีกำลังของเลนส์ในแกนหนึ่งมากกว่าอีกแกนหนึ่ง หรือการใช้เลนส์สัมผัส

สาเหตุของสายตาเอียงอีกอย่างที่พบได้บ่อย คือ จากการที่มีก้อนเนื้อมากดลูกตา เช่น คนไข้เป็นกุ้งยิง หรือมีก้อนเลือดที่เปลือกตามากดกระจกตา ทำให้กระจกตาเบี้ยวหรือเอียงไป และในคนที่มีต้อเนื้อด้วย บริเวณหัวตาหรือหางตามาถึงกระจกตาในกรณีหลังสามารถแก้ไขโดยการรักษาที่ สาเหตุที่มาดึงหรือกดกระจกตานั้น

อาการและการแก้ไข
1. การมองเห็นภาพซ้อนพร่ามัวปวดตาเพลียตา และอาจปวดหัวแก้ไขโดยใช้แว่นตา
2. แสบตาหรือน้ำตาไหลแก้ไขโดยใส่คอนแทคเลนส์


สายตาคนสูงอายุ (Presbiopia)


สายตาประเภทนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะต้องเกิดกับทุกคน เมื่อมีอายุประมาณ40 ปี ขึ้นไป เกิดจากการเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อภายในเลนส์ตา (Crystalline Lens) ที่จะสูญเสียความยืดหยุ่นเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งต้องใช้แว่นสำหรับดูใกล้หรืออ่านหนังสือ




ผู้ใดควรใส่คอนแทคเลนส์!?

ผู้ที่เหมาะจะใส่คอนแทคเลนส์

1. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาดังนี้
• สายตาสั้น • สายตายาว • สายตาเอียง • สายตาคนสูงอายุ
2. ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดต้อกระจกทั้งชนิด ข้างเดียวหรือ 2 ข้าง
3. ผู้ที่มีอาการตาสั่น (nystagmus) และควรแนะนำเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม
4. ผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวเป็นอุปสรรค
5. ผู้ที่มีกระจกตาโค้งมากกว่าปกติ (Keratoconus) เช่น 6.9, 5.4 และกระจกตาบางมาก ควรแนะนำเป็นคอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง (HCL)
6. ผู้ที่เป็น "TRICHIASIS" คือมีความผิดปกติของขนตาที่งอนเข้าไปแยงกระจกตา เป็นสาเหตุทำให้น้ำตาไหล แก้ไขได้โดยใส่คอนแทคเลนส์ขนิดนิ่ม (SCL)
7.ผู้ที่เป็น "ENTROPION" คือขอบตาเปิดเข้าด้านในมากกว่าปกติ แก้ไขได้โดยใส่คอนแทคเลนส์ขนิดนิ่ม (SCL)

ข้อดี-ข้อเสีย เปรียบเทียบคอนแทคเลนส์กับแว่นตา

คอนแทคเลนส์และแว่นตาต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ต่อไปนี้เป็นข้อเปรียบเทียบระหว่างทั้งสองชนิด

ข้อดี ของคอนแทคเลนส์เมื่อเทียบกับแว่นตา
1. มีมุมมองภาพมากกว่าแว่นตา
2. ขนาดของวัตถุที่มองเห็นผ่านคอนแทคเลนส์ จะใกล้เคียงความเป็นจริงมากกว่าแว่นตาโดยคอนแทคเลนส์จะมีการขยายและย่อภาพน้อยกว่าแว่นตา เฉพาะสายตาหลังการผ่าตัดชนิดข้างเดียวและสองข้าง และมีค่าสายตาสั้นหรือยาวมากดังนี้
คอนแทคเลนส์ : ภาพที่เห็นจะขยายและย่อกว่าปกติ 3%
แว่นตา : ภาพที่เห็นจะขยายและย่อกว่าปกติ 10%

3. เพิ่มความสวยงามโดยเฉพาะคนที่มีค่าสายตาสูง
4. สามารถใส่เล่นกีฬาได้สะดวกและปลอดภัยมากกว่าแว่นตา
5. ไม่มีเงาสะท้อนเหมือนแว่นตา
6. ไม่มีรอยน่าเกลียดบนใบหน้าเช่น รอยคล้ำที่จมูกหรือเป็นแผลตรงขมับ
7. สามารถใส่แว่นกันแดดได้ตามความพอใจ
8. ใช้ได้ดีกันคนไข้ที่เป็น "ลูกตาสั่น" (Nystagmus)
9. คนไข้สามารถมองผ่านส่วนที่เป็นจุดกึ่งกลางของเลนส์อยู่ตลอดเวลา

ข้อเสีย ของคอนแทคเลนส์เมื่อเทียบกับแว่นตา
1. ใช้เวลามากในการใส่ โดยเฉพาะในช่วงแรกของการใช้งาน
2. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเช่น ค่าน้ำยา
3. ต้องอาศัยระยะเวลาในการปรับตา
4. ไม่สามารถใช้ได้ดีกับคนไข้ที่มีปริซึม
5. สำหรับคอนแทคเลนส์ 2 ชั้นต้องใช้เวลานานมากในการฝึกใช้และปรับสายตา
6. ฉีกขาดได้ง่ายถ้าไม่ระมัดระวัง
7. ความคมชัดของภาพน้อยกว่าแว่น โดยเฉพาะถ้ามีสายตาเอียง
8. มีโอกาสแพ้น้ำยาและแพ้เลนส์ได้ ในกรณีคนที่ไม่เคยใช้มาก่อน
9. ตาอักเสบได้ถ้าคนที่ใช้รักษาความสะอาดไม่ดี

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อุปกรณ์ที่จำเป็นพร้อมวิธีใช้

อุปกรณ์ต่างๆที่ต้องใช้ในการใส่คอนแทคเลนส์หลักๆนั้นมีอยู่ 2 อย่างค่ะ นั้นก็คือ น้ำยาแช่ หรือ น้ำยาล้าง และ ตลับแช่นั่นเองค่ะ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆนั้นก็ควรจะมีเสริมไว้เพื่อความสะอาดและสบายตาของเราค่ะ อุปกรณ์เหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ร้านแว่นที่ขายคอนแทคเลนส์ รวมถึงร้าน Boots และร้าน Watsons ด้วยค่ะ สำหรับการซื้อใช้ครั้งแรก ควรปรึกษาเภสัชกรในร้านและอ่านฉลากก่อนใช้ด้วยค่ะ



1. น้ำยาแช่ หรือ น้ำยาล้าง

น้ำยา ตัวนี้จะอาไว้ใช้แช่และล้างเลนส์นะคะ หรือบางทีถ้าขาดแคลนน้ำตาเทียม เราก็สามารถนำมันมาหยอดตาได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามน้ำยาแช่ หรือ น้ำยาล้างบางยี่ห้อก็ห้ามนำมาหยอดตาโดยตรงนะคะ



2. ตลับแช่เลนส์

ส่วน ใหญ่จะแถมมากับน้ำยาแช่/ล้างอยู่แล้ว เป็นตลับที่มี 2 ช่องสำหรับใส่คอนแทคเลนส์ด้านซ้ายและด้านขวาของเรานั่นเองค่ะ ตลับแช่นี่จะใช้ร่วมกับน้ำยาแช่ด้านบนค่ะ และเราควรจะเปลี่ยนตลับประมาณ 3 เดือนครั้ง เพื่อความสะอาดค่ะ



3. น้ำยาละลายคราบโปรตีน

น้ำยา ละลายคราบโปรตีนจะแตกต่างกับน้ำยาแช่ด้านบนตรงที่ความเข้มข้นจะเยอะกว่ามาก วิธีใช้ คือ ใช้หยอดทีละ 1-2 หยด ลงไปในน้ำยาแช่อีกที แล้วแช่ไว้ข้างคืนตามปกติ ควรใช้อาทิตย์ละครั้งหรือเมื่อรู้สึกว่าเลนส์สกปรก น้ำยาตัวนี้จะมาในรูปแบบของขวดเล็กๆเหมือนขวดยาหยอดตา หรือจะเป็นเม็ดๆเพื่อเปิดใช้ครั้งละเม็ดค่ะ (ระวัง! ห้ามนำไปหยอดตานะคะ)



4. น้ำตาเทียม

น้ำตา เทียมจะเป็นขวดเล็กๆเหมือนยาหยอดตาหรือจะเป็นแบบหลอดเล็กๆก็ได้ (สามารถพกไว้ใช้ตลอดวัน) ใช้หยอดเมื่อรู้สึกว่าตาแห้งหรือมีสิ่งสกปรกเข้าตาค่ะ ที่สำคัญ ควรเลือกใช้น้ำตาเทียมที่ใช้กับคอนแทคเลนส์เท่านั้น เพราะน้ำตาเทียมธรรมดาจะทำให้เลนส์มัวค่ะ



5. น้ำเกลือ

มีราคาถูก สามารถนำมาใช้ล้างคอนแทคเลนส์หรือล้างตลับก็ได้ แต่ไม่ควรนำมาแช่เลนส์ เพราะบางคนอาจแพ้และแสบตาเมื่อใช้น้ำเกลือค่ะ

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552

"คอนแท็กต์เลนส์"ช่วยสัตว์ชราตาบอด สร้างชีวิตใหม่ให้มองเห็นอีกครั้ง



สัตว์ ต่างๆ ตั้งแต่กระต่าย ยีราฟ เสือ สิงโต นกฮูก ที่เป็นตาต้อ จะไม่ตาบอดต่อไปอีกแล้ว เพราะบริษัท เอสแอนด์วีเทคโนโลยี ของเยอรมัน ผ่าตัดใส่คอนแท็กต์เลนส์ให้

คอนแท็กต์เลนส์นี้เรียกว่า "อะครีลิก อินทราคิวลาร์ เลนส์" (Acrylic intraocular lenses) โดยสัตวแพทย์ผู้ผ่าตัดจะฝังเลนส์นี้ไว้ในดวงตาสัตว์ที่เกือบมองไม่เห็นจาก การเป็นโรคต้อ ทำให้มันมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น เทคโนโลยีใหม่ของเอสแอนด์วีเทคโนโลยีสร้างความสนใจให้กับผู้คนต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งซีเวิลด์ในซานดิเอโกที่ขอซื้อเลนส์เพื่อนำไปผ่าตัดให้กับสิงโตทะเล สวนสัตว์ในโรมาเนียที่นำเลนส์ไปผ่าตัดให้กับสิงโต มูลนิธิเวิลด์ ไวลด์ไลฟ์ฟันด์นำเลนส์ไปผ่าตัดให้กับหมีสีน้ำตาลในป่าของประเทศจีน

เลนส์พิเศษนี้สามารถใช้กับสัตว์ทั้งเล็กและใหญ่

และ แม้จะมีราคาแพง แต่เจ้าของจำนวนมากที่เห็นสัตว์เลี้ยงเป็นสมาชิกในบ้านยอมจ่ายเงินเพื่อให้ พวกมันกลับมามองเห็นเหมือนเดิม ซึ่งสำหรับสัตว์แล้วการที่ประสาทสัมผัสที่มีต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งอย่าง ใดเสียไป อาจทำให้พฤติกรรมมันเปลี่ยน เช่น ก้าวร้าวมากขึ้น หรือนิ่งเฉยไม่สนใจอะไรเลย การมองไม่เห็นยังทำให้การมีเพศสัมพันธ์เฉื่อยชาลง การมีลูกจึงน้อยลงไปด้วย

ดร.คริสทีน ไครน์เนอร์ นักเคมีเจ้าของเอสแอนด์วีเทคโนโลยี กล่าวว่า "สัตว์ที่ผ่าตัดใส่เลนส์พิเศษค่อนข้างยากคือสัตว์ใหญ่อย่างช้างและแรด เพราะเมื่อสลบและนอนยาวเหยียด ความดันหัวใจจะมากขึ้น และขณะนี้มีสัตวแพทย์จากทั่วโลก เช่น ออสเตรเลีย


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ปุจฉา-วิสัชชนา

ใน 1 วันสามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้กี่ชั่วโมงและควรจะทำอย่างไร เมื่อเคยเป็นโรคตาแห้งจากการใส่คอนแทคเลนส์เป็นระยะเวลานานๆ ?

ระยะเวลาที่แนะนำคือ 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่ช่วงเวลาของการใส่อาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาวะของลูกตาที่แตกต่าง กันไปของผู้ที่ใส่ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีอาการตาแห้งจากการใส่คอนแทคเลนส์เพียงแค่ 4 ชั่วโมง ซึ่งขณะที่บางคนอาจจะได้รับบาดเจ็บจากดวงตาและบางครั้งอาจจะเกิดจากการใส่ คอนแทคเลนส์เพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ดังนั้นโปรดปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา และดูแลรักษาสุขภาพตาของคุณอยู่เสมอ ถ้าคุณรู้สึกว่าตาแห้งขณะที่สวมใส่คอนแทคเลนส์ มันอาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่คุณอยู่ในขณะนั้น เช่น แอร์คอนดิชั่น, มีลมแรง, ระดับความชื้นต่ำ และอื่นๆ,การใช้สารหล่อลื่นของคอนแทคเลนส์ เช่นเดียวกับ ยาหยอดตายี่ห้อ Blink ที่มีส่วนผสมของ Sodium Hyaluronate ( HA ), ส่วนผสมจากโดยธรรมชาติที่สามารถค้นพบได้ในร่างกายของคุณ .นั่นคือสามารถที่จะอมน้ำ 1,000 เท่าน้ำหนักของมัน ,อีกทั้ง มันไม่เป็นอันตรายต่อดวงตาของคุณเพราะปราศจากสารกันเสีย


การใส่คอนแทคเลนส์ในเวลานอนจะปลอดภัยหรือไหม ?
ไม่แนะนำและไม่ปลอดภัยสำหรับคอนแทคเลนส์ที่ใช้ใส่ทุกวัน เพราะดวงตาของคุณจะรับความเสี่ยงมากขึ้นจากการขาดอ๊อกซิเจน โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ถ้าคุณต้องการใส่คอนแทคเลนส์ในเวลานอน


การใส่คอนแทคเลนส์ว่ายน้ำจะปลอดภัยหรือไม่ ?
เราแนะนำให้คุณสวมใส่แว่นตาเพื่อความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณต้องใส่คอนแทคเลนส์สำหรับว่ายน้ำ กรุณาเลือกคอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยนทิ้งแบบรายวัน เพราะไม่ต้องมีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค อย่างไรก็ตาม น้ำจากสระว่ายน้ำ และน้ำทะเลมีสิ่งสกปรก และเชื้อจุลินทรีย์ และมันจะเพิ่มอัตราของการติดเชื้อที่กระจกตา เมื่อเวลาที่ใส่คอนแทคเลนส์ (กระบวนการ Metabolism ลดลงเนื่องจากการขาดออกซิเจน )คอนแทคเลนส์แบบราย 2 สัปดาห์, เลนส์ที่ใช้แล้วทิ้งแบบรายเดือนและ คอนแทคเลนส์ถาวร จึงไม่แนะนำให้ใช้ใส่สำหรับว่ายน้ำเพราะสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เหมือนกับ เชื้อ acanthamoeba สามารถพบได้ในสระว่ายน้ำ,และคอนแทคเลนส์ของคุณสามารถติดเชื้อโรคเหล่านี้ได้

ฉันสามารถใส่คอนแทคเลนส์ร่วมกับเพื่อนได้ไหม ?
คอนแทคเลนส์เป็นอุปกรณ์การรักษาทางการแพทย์ และเหมาะสมสำหรับใช้ส่วนตัวของแต่ละคน การแลกเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ยังสามารถแพร่เชื้อแบคทีเรียเป็นอันตรายต่อกันได้, ซึ่งสามารถนำไปสู่การติดโรคติดต่อทางตาหรือสภาวะอันตรายต่อดวงตาอื่นๆได้

ฉันจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคอนแทคเลนส์เลนส์ของฉันสะอาด?
โปรดปฏิบัติตามขั้นตอนทั้ง 7 ขั้นตอน เพื่อการใส่คอนแทคเลนส์ที่มีคุณภาพ

  1. ล้างมือให้สะอาดและทำให้แห้งก่อนที่จะใส่หรือถอด คอนแทคเลนส์
  2. ทำความสะอาดตลับใส่คอนแทคเลนส์และทำให้แห้งอยู่เสมอ
  3. ถูทำความสะอาดคอนแทคเลนส์เพื่อการทำความสะอาดเป็นพิเศษ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
  4. ห้ามใส่คอนแทคเลนส์เกินระยะเวลาที่กำหนดไว้
  5. ไม่ควรนำน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์ที่ใช้แล้วกลับมาใช้อีก
  6. ไม่ควรสัมผัสปลายขวดของน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์
  7. ถอดและหยุดใส่คอนแทคเลนส์ ถ้าเกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับตาของคุณ
ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณสามารถทำได้มากกว่านั้นถ้าคุณต้องการความสะอาดและความปลอดภัยในการสวมใส่

ฉันควรจะใส่คอนแทคเลนส์ก่อนหรือหลังจากการแต่งหน้า?
คุณควรใส่คอนแทคเลนส์ก่อนแต่งหน้า และควรถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อนการล้างเครื่องสำอางของคุณ เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ เนื่องจากน้ำมันจากเครื่องสำอาง สิ่งแปลกปลอมที่เป็นสารเคมีในเครื่องสำอางหรือแม้กระทั่งสารต่างๆที่ติดอยู่บนนิ้ว จะทำให้คอนแทคเลนส์สกปรกค่ะ สัมผัสกับคอนแทคเลนส์

ผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์ควรดูแลรักษาดวงตาอย่างไรในขณะเดินทาง?
ถ้าเป็นการเดินทางโดยทางบก ทำการดูแลรักษาเช่นเดียวกับปกติ ควรถอดคอนแทคเลนส์ก่อนนอนทุกครั้ง สำหรับในการเดินทางไกล มีข้อแนะนำดังนี้
1.อากาศบนเครื่องที่ค่อนข้างแห้ง จะทำให้คอนแทคเลนส์สูญเสียความชื้นไปอย่างรวดเร็ว ให้ใช้น้ำยาหยอดตาทุกๆ สองชั่วโมงเพื่อคงความชุ่มชื้นให้กับดวงตา และให้ทำเช่นเดียวกันกับการเดินทางไปประเทศที่มีอากาศหนาว
2. นำแว่นตาไปในระหว่างการเดินทางด้วย เพื่อเปลี่ยนใส่กับคอนแทคเลนส์หรือสำรองไว้ในกรรีที่คอนแทคเลนส์มีปัญหาหรือสูญหาย
3. นำแว่นกันแดดไปด้วยเพื่อปกป้องดวงตาจากแสงแดดและการสะท้อนของแสงยูวี
4.ถอดคอนแทคเลนส์เมื่อคุณรู้สึกไม่สบายตา ทำความสะอาดและแช่ไว้ในน้ำยา Multi-purpose อาจจะลองใส่คอนแทคเลนส์อีกครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้ายังคงมีปัญหาเช่นเดิม ให้ถอดออกและอย่าพยายามใส่อีกเพื่อป้องกันความบาดเจ็บที่อาจจะเกิดกับดวงตา
5. นำยาหยอดตาที่มียาปฏิชีวนะ เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เกร็ดความรู้สำหรับผู้เริ่มใส่คอนแทคเลนส์

สำหรับผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์แล้วเรื่องการดูแลรักษานั้นถือเป็นเรื่องปกติค่ะ แต่สำหรับมือใหม่หัดแอ๊บแล้วอาจจะยังไม่รู้เทคนิคมากนัก วันนี้เรามีเกร็ด เคล็ดลับเล็กๆน้อยๆ ในการดูแลคอนแทคเลนส์มาฝากค่ะ

1. หมั่นตัดเล็บ ดูแลไม่ให้คม อาจเกี่ยวให้เลนส์ขาดได้
2. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งที่จับเลนส์
3. ใส่เลนส์ให้เรียบร้อยจึงแต่งหน้า และถอดเลนส์ก่อนล้างเครื่องสำอางออก
4. ถ้าไม่สบายตาขณะใส่เลนส์
- ลองหยดน้ำตาเทียม (Lens Lubricant) ช่วยหล่อลื่นให้เลนส์มี การเคลื่อนไหวอาจสบายขึ้น
- ถ้าไม่หาย ให้ถอดเลนส์ออก ทำความสะอาด และลองใส่ใหม่
- ลองส่องดูว่า เลนส์มีรอยฉีกขาด เพราะขอบที่คมอาจขูดผิวตาดำ ทำให้เคือง
- ถ้าถอดเลนส์แล้วยังไม่หายเคือง ต้องรีบมาพบแพทย์
5. ถ้าตาแดง มีขี้ตามาก น้ำตาไหลผิดปกติ ให้หยุดใส่เลนส์
6. คุณควรมีแว่นตาสำรองเพื่อเวลาต้องถอดเลนส์จะได้ไม่ลำบาก
7. คุณควรมีตลับเล็กๆ บรรจุน้ำยา CL ไว้สำรองในกระเป๋า เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน คุณสามารถถอด เลนส์ได้เสมอ ไม่ปล่อยให้ตาอักเสบมากจนเกินไป
8. คุณควรหาเวลาไปพบแพทย์เป็นระยะสม่ำเสมอถ้าคุณใส่เลนส์ถอดทุกว้น คุณควรพบแพทย์ทุก 4-6 เดือนถ้าคุณใส่เลนส์นอน คุณควรพบแพทย์ทุก 3 เดือน
9. ทุกครั้งที่มีปัญหา เจ็บและเคืองผิดปกติ คุณควรหาโอกาสตรวจดูตาคุณ ทันทีที่ทำได้

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ค่ะ

การแพ้คอนแทคเลนส์ G.P.C. (Giant Papillary Conjunctivitis)

ภาวะการแพ้คอนแทคเลนส์ G.P.C. (Giant Papillary Conjunctivitis) เป็นอาการที่พบได้อยู่เสมอโดยเฉพาะกลุ่มที่ใส่เลนส์ข้ามคืนเป็นประจำ เนื่องจากเลนส์ที่ใส่นอนได้มักมีปริมาณน้ำในเนื้อเลนส์สูง ทำให้เกิดคราบโปรตีนเกาะได้ง่าย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราอยู่ในภาวะการแพ้คอนแทคเลนส์ G.P.C. หรือไม่ เราสามารถสังเกตุได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้ค่ะ

อาการของผู้ที่แพ้คอนแทคเลนส์

- ใส่เลนส์ไม่ทน แสบ เคืองตา คันตา
- ตื่นนอนตอนเช้ามักมีขี้ตาเสมอ
- ตามัวบ่อยๆ เวลากระพริบตา เลนส์จะเลื่อน ภาพมัว
- ต้องเปลี่ยนเลนส์ย่อยๆ กรณีใส่เลนส์ชั่วคราว

สาเหตุของการแพ้คอนแทคเลนส์
- เลนส์เก่าเกินอายุใช้งาน
- การทำความสะอาดไม่ดีพอ คราบโปรตีนเกาะมาก
- เนื้อเลนส์อมน้ำมาก และโปรตีนเกาะง่าย
- เลนส์ไม่เกาะตา จากความโค้งไม่เหมาะสม
- เลนส์มีขอบหนา ระคายเคือง
- ผู้ใส่มีโรคภูมิแพ้ หรือแพ้สารเคมีในน้ำยาแช่เลนส์

การรักษา
- แนะนำวิธีดูแลเลนส์ที่เหมาะสม
- ถ้าจำเป็นต้องใส่เลนส์ ให้ใช้เลนส์ชั่วคราว และเปลี่ยนเลนส์ใหม่ถ้ารู้สึกไม่ สบายตา
- เปลี่ยนความโค้งและชนิดเลนส์ให้เหมาะสม
- เปลี่ยนน้ำยาที่เหมาะสม
- ให้ยาระงับอาการ และปรับสภาพเยื่อบุตา
- ถ้าจำเป็น อาจต้องใช้เลนส์กึ่งแข็งกึ่งนิ่ม
- ห้ามไม่ให้ใส่เลนส์นอน หรือติดต่อกันมากวัน

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ค่ะ

ภาวะตาแห้ง คืออะไร

ภาวะตาแห้ง เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อดวงตาข้างใดข้างหนึ่งผลิตน้ำตาออกมาน้อย หรือน้ำตาที่ผลิตออกมาขาดส่วนประกอบที่จะช่วยหล่อลื่นและป้องกันพื้นผิวของดวงตา

น้ำตามีความสำคัญอย่างไร
น้ำตาเป็นขบวนการป้องกันทางธรรมชาติ ถูกผลิตโดยต่อมน้ำตารอบๆ ดวงตา หลั่งออกมาเพื่อป้องกันและให้ความชุ่มชื่นแก่ผิวรอบๆ ดวงตา

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะตาแห้ง
1. อายุ โดยทั่วไปอายุเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากอัตราการไหลของน้ำตา และประสิทธภาพของฟิล์มน้ำตาจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น เช่น อายุ 40 ปี จะมีการ ผลิตน้ำตาเพียงครึ่งหนึ่งของอายุ 10 ปี และภาวะตาแห้งนี้ จะเกิดทั้งผู้ชายและ ผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนจะเกิดได้มากกว่า
2. สิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะตาแห้งได้ เช่น การใช้ สายตา หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ การดูทีวี การอยู่ในห้องปรับอากาศ รวมทั้งภาวะ มลพิษทางอากาศ
3. คอนแทคเลนส์ ประมาณ 20-30% ของผู้ใส่คอนแทคเลนส์ จะเกิด ภาวะตาแห้ง เนื่องจากเลนส์จะมีคุณสมบัติชอบดูดน้ำ
4. ปัจจัยอื่นๆ เช่น การใช้ยาบางชนิด พยาธิสภาพของโรคบางอย่าง

อาการทั่วไป
โดยทั่วไป ภาวะตาแห้งจะมีอาการดังต่อไปนี้
* แสบตา ตาแดง
* น้ำตาไหล
* ตาแห้ง
* เคืองตา
* แพ้แสง
* ระคายเคืองคล้ายมีผงในตา

การรักษา
เริ่มต้นบรรเทาภาวะตาแห้ง โดยใช้สารหล่อลื่นบริเวณดวงตา ซึ่งสารเหล่านี้จะมีสภาวะคล้ายน้ำตามนุษย์ ช่วยป้องกันและให้ความชุ่มชื่นแก่ดวงตา ที่เรียกกันว่า น้ำตาเทียม ส่วนการรักษาที่แท้จริงยังไม่มี วิธีที่ดีที่สุดคือพบจักษุแพทย์ เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจและแนะนำวิธีป้องกัน และบรรเทาอาการภาวะตาแห้งที่เกิดขึ้น


ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์เลสิค โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ค่ะ

กรณีศึกษา: ภูมิแพ้ตา

สาวๆที่ใส่คอนแทคเลนส์ทั้งคงจะเคยเห็นคำแนะนำสำหรับผู้เริ่มใส่คอนแทคเลนส์จากร้านขายคอนแทคเลนส์แล้วว่า คุณควรไปพบจักษุแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อทำการตรวจสุขภาพของดวงตาก่อนที่จะใส่คอนแทคเลนส์นะคะ เพื่อตรวจสอบว่าดวงตาของคุณมีการติดเชื้อใดๆที่ยังไม่ปรากฏอาการออกมาหรือไม่ คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้ตาหรือไม่ ดวงตาของคุณมีการผลิตน้ำตาออกมาน้อยหรือที่เรียกว่าตาแห้งหรือไม่ แล้วค่าสายตาที่เหมาะสมสำหรับคอนแทคเลนส์ของคุณนั้นคือเท่าไร คุณแพ้วัสดุที่ใช้ในการผลิตคอนแทคเลนส์ชนิดใดบ้าง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของดวงตาคุณเอง คือ เมื่อคุณรู้สถานะของดวงตาคุณแล้ว คุณจะสามารถหลีกเลี่ยง หรือรู้ว่าคุณเองเหมาะที่จะใส่คอนแทเลนส์หรือไม่

เมื่อหลายวันก่อนแอฟบังเอิญไปอ่านเจอกระทู้หนึ่งของจีบัน กล่าวถึง การเตือนภัยคอนแทคเลนส์กับภูมิแพ้ตา เลยเอามาโพสท์ไว้ให้เพื่อนๆอ่านเพื่อเป็นกรณีศึกษาค่ะ ถ้าหากเพื่อนๆเกิดอาการคล้ายคลึงกับเจ้าของบทความข้างล่างนี้ล่ะก็ อย่าชะล่าใจไปนะคะ รีบไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงทีค่ะ :D
-----------------------------------------------------------------------------



เกริ่นเลยแล้วกันนะคะ ; DDD

จินเป็นคนสายตาสั้นค่ะ แต่ไม่ปลื้มการใส่แว่นน(>д<)°°
เลยใส่คอนเทคแบบใสๆค่ะ ใส่มาก็นานแล้วเหมือนกัน 2 ปีกว่าา
แต่พอมีเจ้า maxim ออกมา ก็ซื้อใส่แทนเลนส์ใสไปเลยค่ะ

แล้วก็ใส่มากนานมากกกกก ,, ,
ร่วมปี จนกระทั่งเริ่มมีความผิดปกติที่ตาค่ะ。。。(ノд・。)
คือเหมือนกับว่า เจ้าแม๊กซิมนี่จะชอบไปติดอยู่ครึ่งๆตาค่ะ
เหมือนกับมันไม่ยอมลงมาครอบตาดำทั้งหมด แต่จะครอบแค่ครึ่งเดียว

ตอนนั้นก็ไม่เอะใจค่ะ ก็เอานิ้วนี่แหละ จิ้มๆดึงๆมันลงมา
(;¬д¬) บางทีก็คิดว่าเปนเพราะคอนเทค / น้ำยา หรือ ว่าตาอาจจะแห้ง
ก็เลยเปลี่ยนเลนส์คู่ใหม่ทุกครั้งที่เป็นค่ะ

เป็นมาหลายเดือนเหมือนกัน
จนกระทั่งตรงบริเวณหัวตาเริ่มๆเป็นเส้นเลือดฝอยๆ ออกมา
แล้วตรงดิ่งเข้าลูกตาดำค่ะ แล้วก็เคืองตามากก(TдT)
สีตาดำก็เริ่มจางลงง แต่รู้ไหมคะ ? (>д<) ตอนนั้นดีใจ ๕๕๕๕
เพราะมันสวยมากกก ( ไม่รู้เรื่องเล๊ยยย )

แล้วก็มีเหมือนกับเป็นคราบโปรตีนเปนก้อนเลยนะคะ (ノд・。)
ก้อนแบบนิ่มๆ ที่หัวตา สีขาววๆ
ตอนนั้นก็ยังไม่ไปหาหมอค่ะ ( อินี่ดื้อด้านมาก )
คิดว่าเปนเพราะเลนส์สี เลยเปลี่ยนมาใส่เลนส์ใส

แต่ก็ไม่ช่วยอะไรค่ะ ยังเหมือนเดิม (/д\)
จนกระทั่งมันไม่ไหวแล้ววว ขอบตาดำเปนแดงงๆน่ากลัวมากกก
เลยไปหาหมอค่ะ



หมอก็บอกว่า .. . .. ..
ถ้ามาช้ากว่านี้อีกซักอาทิตย์นึงจินต้องควักลูกตาออก!(ノ゚д゚)ノ
ตกใจมากกกกกก ไม่คิดว่ามันจะอะไรขนาดนี้ค่ะ แล้วหมอก็บอกอีกว่า
เพิ่งจะผ่าตาคนไข้ไปเมื่อวานเองค่ะ ใส่คอนเทคเหมือนกัน
แล้วหมอก็ด่าาาาาๆ - - คือ ไม่เชิงด่าหรอกค่ะ
เหมือนจะตักเตือนแล้วก็ตำหนิเรามากกว่า (>д<)

คุณหมอบอกว่าเลนส์สีจะมีรูออกซิเจนน้อยกว่าเลนส์ใสค่ะ
แล้วตาดำของเราก็ต้องการออกซิเจนด้วยแล้วเหมือนกับว่า
เลนส์ใสก็มีรูออกซิเจนน้อยอยู่แล้ว
แต่เรายังทำให้รู้มันน้อยลงไปอีกด้วยการใส่เลนส์สี
ทำให้เกิดเส้นเลือดฝอยออกมาจากหัวตาค่ะ

แล้วผนังตาด้านในก็เปนผื่นค่ะ
หมอบอกเยอะมากกกกกกกกกกกกกกกกก
ไอเจ้าผื่นๆนี่แหละค่ะที่น่ากลัว (゚д゚)

เพราะต่อไปเจ้าผื่นนี่มันก็จะบวมมมม
เกิดหนองง แล้วก็จะติดเชื้อ ทำให้ต้องควักลูกตาออกไปเลยค่ะ (ノ゚д゚)ノ

หมอบอกว่าส่วนหนึ่งอาจจะเพราะ เราเป็นภูมิแพ้ตา แพ้สารเคมีในคอนเทค
เพราะการที่เราไปซื้อคอนเทคตามร้าน เค้าไม่ตรวจตาให้เราหรอกค่ะ
เค้าแค่จะวัดสายตาแค่นั้น คุณหมอบอกว่าจริงๆคนเราควรจะตรวจเชคสภาพตา
ว่าเราใส่คอนเทคได้รึเปล่า เราเป็นภูิมแพ้ไหม น้ำตาเราแห้งรึเปล่า

คุณหมอก็จ่ายยามา ยาเยอะมากกกกก 3 ชุด
กับหยอดอีกหนึ่ง แล้วก็ยาแก้แพ้อีกหนึ่ง
คุณหมอบอกตาเราแพ้ได้หลายอย่าง แพ้ลมแอร์ แพ้ฝุ่น แพ้เกสร แพ้นู่นแพ้นี่
เราไม่อาจทราบได้ค่ะ เลยต้องป้องกันไว้ โดยการหยอดยากันแพ้ค่ะ
แล้วหมอก็บอกว่า ห้ามใส่คอนเทคเลนส์ตลอดชีวิต!
Ψ(´д`)Ψ

แต่ตอนนั้นทั้งตกใจทั้งกลัวเลยไม่ใส่อีกเลย ๕๕๕
บางทีก็ไม่ใส่แว่น เดินน เพื่อนก้็ถามว่า มองเห็นหรอ
คือมองเห็นน่ะเห็นอยู่หรอกค่ะ แต่มันไม่เหนรายละเอียดด ;[[
แต่ถ้าอยู่บ้านก็ใส่นะคะ


ตอนนี้ผ่านมา 5 เดือนแล้วค่ะะ (*^д^)
ไปซื้อยาแก้แพ้ทุกเดือน บางทีก็ซื้อมาตุนหลายๆขวด หยอดแล้วรู้สึกดีมากๆเลยค่ะ
แล้วก็กลับมาใส่คอนเทคอีกครั้งง ๕๕๕๕๕๕ o(*≧д≦)o แบบใสนะคะ
ภรรยาของคุณหมอแอบบอกไว้ค่ะ ตอนไปซื้อยาแก้แพ้
ว่าคนเปนภูมิแพ้ใส่ได้นะคะคอนเทค แต่ต้องหยอดยาแก้แพ้ไปด้วย ทุกๆ 3 ชั่วโมง
แล้วก็ไม่ควรใส่เกิน 6 ชม. ต่อวันค่ะ


ตอนนี้เลยใส่เฉพาะตอนไปมหาลัยค่ะ
จะไปแล้วถึงใส่ พอกลับมาก็รีบถอดค่ะ กลัวววว

พูดมาซะยาวเลยย ๕๕๕๕

อยากถามสาวๆว่าคนไหนเป็นภูมิแพ้บางจ๊า?? ; DD
แล้วก็บางคนถ้าไม่จำเป็นก็อย่าใส่เลยนะคะเจ้าคอนเทคเนี่ยยย
มันน่ากลัวจิงๆค่ะ เจอกับตัวถึงรู้ค่ะ

-----------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณบทความ ★ เตือนภัยคอนเทค กับ ภูมิแพ้ตา ค่ะ :] จากคุณ JiNN♥ และ เวปจีบันค่ะ


โพสท์เสร็จแล้วก็วิตกว่ายอดขายฉันจะร่วงมั้ยนี่ อึ๋ยยยย~
("_ _)

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เคล็ดไม่ลับ กับ การดูแลคอนแทคเลนส์!

จริงๆแล้วการใช้คอนแทคเลนส์นั้นไม่ได้ยากเย็นและอันตรายอย่างที่ใครๆคิดกัน แต่เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของการใส่คอนแทคเลนส์นั้นอยู่ที่การดูแลรักษาความสะอาด ถึงแม้ว่าคอนแทคเลนส์ที่คุณใส่จะเป็นแบบรายเดือนคือมีอายุแค่ 30 วันก็ตามที แต่การดูแลรักษาความสะอาดก็เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากคอนแทคเลนส์นั้นต้องสัมผัสกับดวงตาโดยตรง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและความสบายของดวงตา การดูแลรักษาคอนแทคเลนส์จึงป็นเรื่องสำคัญมาก ทุกครั้งที่เราทำการถอดคอนแทคเลนส์ เราต้องทำความสะอาดเสมอเพื่อทำการฆ่าเชื้อโรค ด้วยผลิตภัณฑ์สำหรับคอนแทคเลนส์โดยเฉพาะ เช่น น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ น้ำยาละลายคราบโปรตีน เป็นต้น

การทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ด้วยการล้างน้ำยาทุกครั้งนั้น จะช่วยให้เมือกตาหรือสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานนั้นให้หลุดออกไป ซึ่งส่วนมากจะเป็นสารจำพวกโปรตีนเสื่อมสภาพที่เข้ามาเกาะสะสมบนคอนแทคเลนส์ ส่วนการแช่น้ำยานั้น จะเป็นการช่วยกำจัดเชื้อโรคอีกทางหนึ่งซึ่งถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะมันสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคที่จะเป็นอันตรายกับดวงตาสวยๆ ของคุณที่กำลังตามมาเป็นขบวน (หากคุณไม่รักษาความสะอาดดีๆ) และเพื่อเป็นการเพิ่มความกระจ่างในการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ เราก็มีเคล็บลับบ้าง ไม่ลับบ้าง มาแบ่งปันให้เพื่อนรู้กันค่ะ เพื่อที่จะช่วยให้คอนแทคเลนส์ของคุณ สะอากสดใสตลอดอายุขัยก่อนที่มันจะไปแห้งกรอบอยู่ในถังขยะกทม.

- ปฏิบัติตามคำแนะนำการดูแลรักษาคอนแทคเลนส์ โดยอ่านคำแนะนำข้างขวดอย่างละเอียด เพราะน้ำยาดูแลรักษาคอนแทคเลนส์บางชนิด อาจเหมาะสมกับคอนแทคเลนส์บางชนิดเท่านั้น ไม่ควรมิกซ์แอนด์แมทช์ น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ต่างชนิดกัน เพราะมันอาจจะเป็นอริกัน แล้วจะพาลสร้างความเดือนร้อนให้กับคอนแทคเลนส์ ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ของคุณเอาได้

- การเก็บรักษา ควรแช่คอนแทคเลนส์ในน้ำยาและเก็บไว้ในตลับแช่คอนแทคเลนส์ แล้วปิดฝาให้สนิทไม่อย่างนั้นเชื้อโรคอาจจะเข้าไปสร้างความเดือดเนื้อร้อนตาเอาได้นะคะ

- เมื่อหยิบคอนแทคออกจากตลับแช่เลนส์แล้ว ควรเทน้ำยาแช่นั้นทิ้ง ไม่ต้องเสียดาย ทิ้งเลยคะ (ประหยัดกับตาติดเชื้อเลือกเอาอันไหนจ๊ะ) เสร็จแล้วล้างตลับแช่ด้วยน้ำยาคอนแทคเลนส์ เปิดฝาทิ้งไว้ให้แห้งสักพัก พอถึงเวลาใช้งาน ก็เติมน้ำยาแช่เลนส์ และใส่เลนส์ลงไปเก็บไว้เหมือนเดิม

- อย่าล้างคอนแทคเลนส์ด้วยน้ำประปา เนื่องจากน้ำประปาอาจจะมีสิ่งเจือปนอยู่ ซึ่งจะทำให้คอนแทคเลนส์สกปรกได้ ที่สำคัญคือคอนแทคเลนส์อาจจะหายไปกับสายน้ำขณะที่ล้างได้ อันนี้จะทำให้คุณเปลืองเงินซื้อคอนแทคเลนส์คู่ใหม่ซะเปล่าๆ (แต่ถ้าบ้านรวยก็แล้วไป จึ๋ยยย~)

วิธีการง่ายๆเหล่านี้ อาจจะดูเหมือนไม่ค่อยสำคัญเท่าไรนัก แต่ถ้าสาวๆมองข้ามขั้นตอนเหล่านี้ไป นอกจากจะทำให้คอนแทคเลนส์อยู่กับเราได้ไม่นานแล้ว ยังจะมีผลกระทบต่อดวงตาสวยๆ ของสาวๆ อย่างใหญ่หลวงเลยทีเดียวค่ะ เพราะฉะนั้นสาวมั่นทั้งหลายไม่ควรจะมองข้ามเรื่องเล็กๆน้อยๆเหล่านี้นะจ๊ะ

ข้อแนะนำในการใช้คอนแทคเลนส์
1. ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ในที่ๆมีลมแรงๆโดยไม่มีแว่นกันลม (ฝุ่นจะเข้าตา และทำให้ระคายเคือง)
2. ถ้ามีโอกาสถอดคอนแทคเลนส์บ่อยเท่าไร ยิ่งดี เพื่อให้ดวงตาได้พัก
3. ไม่ควรใส่ทั้งวันและทั้งคืน หรือใส่นอน เพราะตื่นขึ้นมาคุณจะรู้สึกว่าขี้ตาเต็มเบ้าตาเลย (ร่างกายไม่ยอมรับส่งแปลก ปลอมอะ) และจะทำให้ดวงตาคุณแย่ลง ทั้งเรื่องเชื้อโรค และน้ำในตาอะ
4. ถ้าเงินถึงและต้องการรักษาสุขภาพดวงตา ซื้อแบบรายวัน เพื่อลดสิ่งสะสมของคอนแทคเลนส์ (ฝุ่น หรือพวกโปรตีน)
5. มั่นล้างทำความสะอาด คอนแทคเลนส์ของท่านอย่างสมำเสมอ (บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้)
6. น้ำยายี้ห้อไหนที่ใช้แล้วรู้สึกระคายเคืองให้ทำการเปลี่ยนยี้ห้อทันที
7. อย่าเผลอใส่คอนแทคเลนส์ลงว่ายน้ำโดยเด็ดขาด (มันจะหายไปโดยไม่รู้ตัว)
8. ถ้าคอนแทคเลนส์หลุด ห้ามใช้น้ำประปาในการใส่คอนแทคเลนส์โดยเด็ดขาด (ถ้าจำเป็นจริงๆก็ได้ หนูเคยทำ แต่แสบตามากไม่แนะนำ)
9. ข้อให้สนุกกับการมองเห็นที่แตกต่างครับ (ตอนที่ไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์)

ใคร..ไม่เหมาะจะใส่คอนแทคเลนส์

ปัจจุบันนี้ เราคงต้องยอมรับว่า ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็จะเห็นสาวๆตาแบ๊วกันเต็มไปหมด จากที่ฮิตเป็นแฟชั่นจนกลายเป็นหนึ่งในสิ่งที่ขาดไม่ได้ของสาวๆ (บางคน) แต่ใครจะรู้บ้างว่าไม่ใช่ทุกคนนะคะ ที่จะสามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้ เพราะยังมีคนบางประเภทที่ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์ แล้วคุณจะเป็นหนึ่งในบุคคลที่ไม่ควรสวมใส่คอนแทคเลนส์หรือไม่ ลองมาดูกันค่ะ

1. ผู้ที่มีสุขภาพตาไม่ดี เช่น
  • เป็นต้อลม
  • ต้อเนื้อ
  • ตาแดง
  • กระจกตาไม่รับรู้ความรู้สึก
  • ตาแห้ง
  • ตาบวมและผู้ที่กระพริบตาครึ่งตา
  • ... เป็นต้น
2. มีโรคประจำตัวบางโรค เช่น
  • โรคเบาหวานมีอาการบวมเป็นแผลถลอก แผลหายช้าและอักเสบง่าย ค่าสายตาไม่คงที
  • โรคไขข้ออักเสบ ทำให้ตาแห้งการทำความสะอาดเลนส์และการใส่ต้องตรวจและติดตามผลบ่อยกว่าปกติ
  • โรคความดันโลหิตสูง มีผลทำให้น้ำในร่างกายไม่คงที่
  • โรคภูมิแพ้ มีโอกาสแพ้เนื้อวัสดุที่ผลิตคอนแทคเลนส์และแพ้น้ำยาได้ จะทำให้มีอาการตาแดง, ตาแห้งและคันตา
  • ตั้งครรภ์ ทุกอย่างในร่างกายจะปรับสภาพใหม่ มีผลทำให้กระจกตาบวม ควรแนะนำให้ใส่หลังคลอดแล้ว 3-4 เดือน
3. ผู้ที่ต้องทานยาบางประเภทเป็นประจำ เช่น
  • ยา ANTIHISTAMINE รักษาโรคภูมิแพ้
  • ยา ANTIDIABETIC รักษาโรคเบาหวาน
  • ทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานหลายปี มีผลทำให้น้ำที่กระจกตามีมากขึ้น 78% จะมีอาการกระจกตาบวม
4. ผู้ที่ทำงานบางประเภทที่ต้องประสบกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นประจำ เช่น
  • มีฝุ่นละอองมาก
  • มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจำ
  • มีควันบุหรี่หรือควันพิษ รวมถึงเขม่าต่างๆ
  • มีไอระเหยของสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตราย
5. ผู้ที่อายุไม่เหมาะสม เช่น เด็กเกินไปหรือมีอายุมากเกินไป ไม่สามารถรับผิดชอบตัวเองได้


นอกเหนือจากบุคคล 5 ประเภทข้างบนนี้แล้ว ก็สามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้หมดค่ะ
แต่เพื่อความมั่นใจยิ่งๆขึ้นไป ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนสวมใส่นะคะ ^^

ด้วยความปรารถนาดีจาก Qtlens.com ค่ะ
XD

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข้อดี ข้อเสีย ของคอนแทคเลนส์แต่ละประเภท

การเลือกใช้คอนแทคเลนส์ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับตนเองนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากคอนแทคเลนส์มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น คอนแทคเลนส์รายปี คอนแทคเลนส์รายวัน คอนแทคเลนส์รายเดือน หรือ คอนแทคเลนส์รายสัปดาห์ นอกจากนี้การเลือกคอนแทคเลนส์ยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งเรื่องของวัตถุดิบที่ใช้ผลิต เรื่องของความโค้งและขนาดเลนส์ โดยวันนี้เราจะพูดถึงเฉพาะ Soft Contact Lens กันอย่างเดียวก่อนนะคะ เนื่องจาก Soft Contact Lens เป็นเลนส์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน (ปัจจุบันเลนส์แบบ Hard และ RGP ไม่เป็นที่นิยมแล้ว)

การเลือกประเภทของเลนส์ตามระยะเวลาการใช้งาน

คอนแทคเลนส์ ชนิด เปลี่ยนรายปี
ข้อดี - คอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยนรายปี เป็นคอนแทคเลนส์ที่มีความคงทนสูง มีให้เลือกหลายประเภท ทั้งสำหรับสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง รวมทั้งคอนแทคเลนส์สีหรือแฟชั่น สำหรับค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อนำมาคำนวณเฉลี่ยต่อวันแล้วถือได้ว่าคอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยนรายปีนี้มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดค่ะ
ข้อเสีย - คอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยนรายปีต้องการความเอาใจใส่ในการดูแลรักษาเลนส์ค่อนข้างมาก

คอนแทคเลนส์ ชนิด เปลี่ยนรายเดือน
ข้อดี - สะดวกในการใช้งานระดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับคอนแทคเลนส์แบบรายปี เนื่องจากมีขั้นตอนในการดูแล และ ทำความสะอาดน้อยกว่าคอนแทคเลนส์แบบรายปี อีกทั้งคอนแทคเลนส์ชนิดเปลี่ยนรายเดือนยังมีรุ่นที่สามารถแก้ไขสายตาเอียงได้ดี
ข้อเสีย - ยังมีค่าใช้จ่ายและความจำเป็นต้องดูแลรักษาอยู่บ้าง เลนส์ที่ผลิตในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักไม่สามารถใส่ต่อเนื่องได้เกิน 8 - 10 ชั่วโมง หากใส่นานกว่านี้อาจเป็นอันตรายต่อกระจกตาได้ เว้นแต่เป็นรุ่นที่ออกแบบมาพิเศษอย่างเช่น Ciba O2-Optix เนื่องจากใช้ ซิลิโคน ไฮโดรเจล เป็นส่วนประกอบในการผลิต ทำให้กระจกตารับ O2 ได้มากขึ้น โดนสามารถใส่ได้ประมาณ 10-16 ชั่วโมง/วัน แต่บางท่านก็ไม่สามารถใส่เลนส์รุ่นนี้ได้ เนื่องจากเป็นเลนส์ที่มีส่วนประกอบของน้ำน้อย ทำให้ตัวเลนส์ค่อนข้างแข็งกว่าบางยี่ห้อที่มีส่วนประกอบของน้ำเยอะ แต่ข้อเสียหลักของเลนส์ที่มีส่วนประกอบของน้ำสูงคือตาแห้งง่ายแต่ข้อดีก็คือจะใส่ค่อนข้างสบายกว่าพวกที่มีน้ำประกอบน้อย

คอนแทคเลนส์ ชนิด เปลี่ยนราย 2 สัปดาห์
ข้อดี - มีลักษณะจำเพาะใกล้เคียงกับคอนแทคเลนส์แบบรายเดือน แต่กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะออกแบบเลนส์ออกมาดีกว่าแบบรายเดือน ไม่ว่าจะเป็นความหนา หรือ วัสดุในการผลิต ทำให้ใส่ค่อนข้างสบายกว่าคอนแทคเลนส์แบบรายเดือน จึงนิยมใช้มากในกลุ่มคนทำงานรายได้ปานกลาง เนื่องจากราคาเฉลี่ยเมื่อคิดต่อวันแล้วสูงขึ้นกว่า 2 แบบแรกเพียงเล็กน้อย
ข้อเสีย - ยังมีค่าใช้จ่าย และความจำเป็นต้องดูแลรักษาอยู่บ้าง เลนส์ที่ผลิตในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักไม่สามารถใส่ต่อเนื่องได้เกิน 8 - 10 ข.ม. แต่ก็มีบางรุ่นที่ให้ใส่ต่อเนื่องได้นาน แต่อายุการใช้งานก็จะสั้นลง เหลือประมาณ 1 สัปดาห์

คอนแทคเลนส์ ชนิด เปลี่ยนรายวัน
ข้อดี - เหมาะสมอย่างยิ่งกับทุกเพศทุกวัย เนื่องจากเป็นเลนส์ที่ต้องการการดูแลรักษาน้อยที่สุดไม่ต้องล้าง ไม่เปลืองน้ำยาอีกทั้งเลนส์รายวันส่วนใหญ่ ยังสามารถให้ระยะเวลาในการใส่ต่อวันที่ยาวนานกว่า โดยเฉพาะหลายๆ ท่าน ที่เป็นนักแรมทาง ที่ชอบท่องเที่ยวไปที่ต่างๆ ที่ไม่ค่อยสะดวกในการทำความสะอาด เพียงแค่ถอดทิ้งก่อนนอน เมื่อตื่นเช้ามา ก็จะพบกับเลนส์คู่ใหม่ ที่ปราศจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ และให้ภาพที่ชัดใสสบายตา
ข้อเสีย - ราคาเฉลี่ยค่อนข้างสูง อีกทั้งในตลาดเมืองไทย ยังมีขายไม่แพร่หลาย ส่วนใหญ่แต่ละร้านจะมีให้เลือกไม่มากนัก และยังไม่มีชนิดที่แก้ไขสายตาเอียงได้นั่นเอง


เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็เลือกคอนแทคเลนส์ใส่ให้เหมาะกับการใช้ของตัวเองนะคะ

ขอให้มีความสุขกับคอนแทคเลนส์ของคุณค่ะ

วันนี้ Qtlens สวัสดี..

XD

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การทำเลสิก

การทำเลสิก (LASIK) มาจากคำว่า Laser Insitu Keratomoleusis ซึ่งเป็นวิธีการรักษาสายตาสั้นด้วยเลเซอร์ โดยจะทำการผ่ากระจกตาออกมาก่อน แล้วยิงเลเซอร์เข้าไปเพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้แบนลง เนื่องจากคนสายตาสั้นมีจุดโฟกัสของแสงไปตกอยู่ที่หน้าจอประสาทตา การยิงเลเซอร์จะทำให้เกิดการหักเหของแสงเปลี่ยนไป และมาตกที่จุดโฟกัสตรงจอประสาทตาพอดี และเมื่อยิงเลเซอร์เสร็จแล้ว จึงค่อยนำกระจกตามาปิดเหมือนเดิม

คนที่จะทำเลสิกได้ต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสายตาสั้นคงที่เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี และไม่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ต้อ เป็นต้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการทำเลสิกตกประมาณข้างละ 2 หมื่นกว่าบาท สำหรับโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชน หากเป็นโรงพยาบาลของรัฐก็อาจจะถูกกว่าข้างละ 3,000-4,000 บาท

ข้อดีของเลสิกก็คือเราไม่ต้องมานั่งสวมแว่น กลัวแว่นจะหลุด หรือ ใส่คอนแท็กเลนส์

ข้อเสีย เป็นเรื่องของการเห็นแสงฟุ้ง แสงมัว โดยรายงานในต่างประเทศที่ทำวิจัยผลกระทบจากการทำเลสิกพบว่า คนที่ทำเลสิกจะพบกับปรากฏการณ์ที่ เรียกว่า “TLARE” หรือ “HALO” คือจะเห็นลำแสงเป็นแฉกเป็นรุ้ง จึงไม่แนะนำ ให้คนขับรถบรรทุกที่ต้องเดินทางตอนกลางคืนทำเลสิก เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างมาก

ส่วนอีกปรากฏการณ์หนึ่งก็คือ CONTRAST SENTIVITY คือการเปรียบเทียบแสงที่อาจจะวูบลงไป หรือมองเห็นแสงไม่แจ่มนั่นเอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำผู้ที่สนใจจะทำเลสิกด้วยว่าก่อนจะตัดสินใจ ต้องชั่งข้อดีข้อเสียให้ชัดเจนเสียก่อน เหมือนกับการมองสิ่งอื่นๆที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียทั้งนั้น



ขอขอบคุณวีดีโอจาก mthai ค่ะ

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คอนแทคเลนส์.. เขาทำกันยังไงนะ!?

บังเอิญไปเจอคลิปรายการ How's It Made ของช่อง The Sciene Channel, Discovery มาค่ะ ซึ่งมันเป็นตอน How's It Made Contact Lenses พอดีเลย..
พอดูเสร็จแอปก็รีบเอามาฝากเพื่อนๆ เลยค่ะ เผื่อว่าจะมีใครอยากรู้อยากเห็นเหมือนแอปว่า คอนแทคเลนส์ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่นี้ มีขั้นตอนการผลิตอย่างไรบ้าง.. มาดูกันเลยดีกว่าค่ะ Let's Go!!



ขอบคุณความรู้ดีๆ จาก รายการ How's It Made, Discovery Channel

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Blue Glacier - ภูเขาน้ำแข็งสีน้ำเงินที่เก่าแก่กว่าล้านปีกำลังละลาย!!

ภาพสวยๆของ Blue Glacier (ภูเขาน้ำแข็งสีน้ำเงิน) ที่มีอายุกว่าล้านปี

http://www.alaska-in-pictures.com/data/media/16/blue-glacier-face_6774.jpg
http://www.alaska-in-pictures.com/data/media/16/le-conte-glacier_6772.jpg
http://www.travel-destination-pictures.com/data/media/43/sawyer-glacier-alaska_185.jpg

และวันนี้ผลพวงจาก "Global Warming" ปรากฏการณ์ธรมชาติที่ถูกสร้างขึ้นมาจากความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ได้ และ ความมักง่าย ของมนุษย์โลก ที่ร่วมกันสร้างมานานหลายชั่วอายุคน..
ปรากฏการณ์ที่ทำให้เราได้พบเห็นอีกหลายๆปรากฏการณ์
Global Warming
ปรากฏการณ์ ที่ทำให้ มนุษย์ กระตือรือร้นที่จะรักษ์โลก
ปรากฏการณ์ ที่ทำให้ มนุษย์ หันมาใช้วัสดุธรรมชาติ แทน สิ่งประกิษฐ์แสนล้ำ
ปรากฏการณ์ ที่ทำให้ มนุษย์ มีรายได้มากขึ้น โดยการออกผลิตภัณฑ์รักษ์โลกมาขายมากมาย แทนการรณรงค์ให้นำวัสดุที่มีอยู่แล้วมา re-use

ในฐานะผู้อ่าน บทความนี้เป็นบทความที่แฝงความประชดประชัน
ในฐานะผู้เขียน ขอบอกว่าเราไม่ได้กล่าวหาหรือต่อว่า ใคร เลย
เพราะแท้จริง เรา ก็เป็นหนึ่งในมนุษย์ที่ร่วมสร้างปรากฏการณ์นี้ แต่ เราเขียน เพื่อเตือนสติตัวเราเอง
หลายครั้งหลายคราที่เราฮิตจะรักษ์โลก และ มากกว่าหลายครั้งหลายคราที่เราลืมทำมัน

"Global Warming"
ปรากฏการณ์ที่ทำให้เรารู้ว่า จริงๆมนุษย์ก็ไม่ได้รักโลกเท่าไรเลย

ถ้าเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาทรัพยากรบนโลก.. ถ้าเราสามารถมีชีวิตอยู่ที่ไหนก็ได้บนจักรวาลนี้..
ถ้าทุกที่เป็นเหมือนโลกที่เคยเป็น
เราจะยังรณรงค์ให้รักษ์โลกกันอยู่ไหม หรือ เราก็แค่ย้ายโลกไปเรื่อยๆ
เหมือนเวลาที่เราทำอะไรพังแล้วซ่อมไม่ได้ เราก็ทำแค่ ซื้อใหม่
...........


และวีดีโอที่เรากำลังจะได้ดูต่อไปนี้ คือ หนึ่งในผลงานของสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดที่สุดในโลก ที่เรียกว่า "มนุษย์"
การละลายของภูเขาน้ำแข็งสีน้ำเงินที่เก่าแก่ มีอายุมานานกว่าล้านปี!!




ขอบคุณภาพสวยๆ จาก Alaska และ วีดีโอดีดี จาก Mthai
และที่สำคัญ..
ขอบคุณ "ความเห็นแก่ตัว" "ความมักง่าย" ทั้งหลาย ที่ทำให้เราได้ดูภาพการทำลายที่สวยงามแบบนี้

ขอบคุณ!

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มารู้จักสารในสีของผักและผลไม้ที่เราทานกันเถอะ

หลายคนคงเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไม..ผัก และผลไม้ถึงมีสีสันที่แตกกันทั้งสีเขียว สีม่วง สีเหลือง สีแดง ทราบกันหรือไมว่า..สีสวยๆของผักผลไม้เหล่านี้ ยังมีสารที่ให้ประโยชน์แตกต่างกันด้วยนะค่ะ แล้วสารที่ว่าจะอยู่ในผักผลไม้สีอะไรบ้างนั้นต้องตามมาดูกัน..

คาโรทีนอยด์

คาโรทีนอยด์ คือ เม็ดสีเหลือง แสด ที่ละลายในไขมัน ในผักใบเขียว คาโรทีนอยด์อยู่ในคลอโรพลาสต์ ซึ่งมีคลอโรฟิลล์อยู่ด้วย สีเขียวของคลอโรฟิลล์จะกลบสีเหลืองของคาโรทีนอยด์จนมองไม่เห็น

คาโรทีนอยด์เป็นสารพวกไฮโดรคาร์บอนชนิดไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่ประกอบด้วยคาร์บอน 40 อะตอม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แคโรทีน และเบตาแคโรทีน แคโรทีนมีคุณค่าทางโภชนาการ บางครั้งเรียกว่า โพรวิตามินเอ สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอที่ลำไส้เล็ก

การหุงต้มธรรมดาไม่มีผลต่อสี หรือคุณค่าทางอาหาร คาโรทีนอยด์ไม่ละลายน้ำทำให้เป็นการป้องกันไม่ให้สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ แต่เนื่องจากโมเลกุลของคาโรทีนอยด์ไม่อิ่มตัว จึงถูกออกซิไดส์ได้ เมื่อทิ้งให้ถูกอากาศนานๆ จะทำให้สูญเสียวิตามินเอ และทำให้คาโรทีนอยด์ในอาหารตากแห้งเปลี่ยนสี วิธีป้องกัน คือ การลวกผัก และรมควันกำมะถัน หรือคลุกซัลไฟท์ ก่อนที่จะนำผลไม้ไปตากแห้ง

คลอโรฟีลล์

คลอโรฟีลล์ เป็นเม็ดสีที่ให้สีเขียวแก่พืช อยู่ในคลอโรพลาสต์คลอโรฟีลล์ใช้ในการสังเคราะห์แสงของพืช คลอโรฟีลล์ดูดพลังงานจากแสงแดดไว้เพื่อสร้างคาร์โบไฮเดรตจากน้ำ และก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์
คลอโรฟีลล์เป็นโมเลกุลใหญ่ ในพืชที่ใช้เป็นอาหาร พอคลอโรฟีลล์เอ และบี ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับฮีโมโกลบินในเลือด มีข้อต่างคือ ฮีโมโกลบินมีเหล็ก แต่คลอโรฟีลล์มีแมกนีเซียม เมื่อได้รับความร้อนไฮโดรเจนจะเข้าไปแทนที่แมกนีเซียมในโมเลกุลของ คลอโรฟีลล์ได้ง่าย จะได้สารที่ชื่อว่าฟิโอไฟติน ซึ่งมีสีเขียวอมน้ำตาล

เมื่อแมกนีเซียมถูกแทนที่แล้ว จะเติมแมกนีเซียมกลับเข้าไปในโมเลกุลอีกยาก แต่การเติมเกลืออาซีเตค ของเหล็กสังกะสีและทองแดง จะช่วยให้สีเขียวสดใหม่ แต่วิธีนี้ไม่ใช้กันในการหุงต้มผัก เพราะคลอโรฟีลล์ไม่ละลายน้ำ น้ำต้มผักใบเขียวจึงมีสีเขียวเพียงเล็กน้อย คลอโรฟีลล์ที่บริสุทธิ์สามารถถูกทำลายด้วยไขมัน เมื่อใส่ผักใบเขียวลงในน้ำเดือด จะเขียวสด และดูใสขึ้นเพียงพักเดียว ต่อมาจะกลายเป็นสีอมเหลือง

ฟลาโวนอยด์

ฟลาโวนอยด์ แม้เม็ดสีหลายชนิดที่จัดอยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์จะมีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึง กัน แต่ก็มีคุณสมบัติแตกต่างกันมาก อาจแบ่งฟลาโวนอยด์ออกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่มคือ แอนโธซานติน ซึ่งมีสีเหลืองนวล แอนโธไซยานิน ซึ่งมีสีม่วงแดง และแทนนินที่ไม่มีสี แต่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้ง่าย

รู้อย่างนี้แล้ว ก็หันมากินผักและผลไม้กันเยอะๆ จะดีกว่านะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีอยู่คู่กับเราตลอดไปค่ะ


Credit: Dailynews

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สวยใสจากภายใน ด้วย 4 อาหารผิว

Antiaging Medicine หรือ การรับประทานอาหารที่มีสารต่อต้านริ้วรอย ชะลอวัย กำลังมาแรง

สวยใสจากภายใน ด้วย 4 อาหารผิว


Antiaging Medicine หรือ การรับประทานอาหารที่มีสารต่อต้านริ้วรอย ชะลอวัย กำลังมาแรง ทั้งในประเทศอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ส่วนใหญ่สารอาหารดังกล่าวจะคัดสรร สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ การเลือกรับประทานผัก ผลไม้ และอาหารเสริม ที่มีส่วนผสมของสารต่อต้านความชราจึงเป็นอีกทางเลือกของความสวยที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ไม่มีคำว่าช้าเกินไป แต่ใครเริ่มเร็วกว่าก็ยิ่งยืดความอ่อนเยาว์ให้ตัวเองได้ยาวนานกว่า และนี่คือสารอาหารที่จะช่วยคงความงามแห่งผิวพรรณจากภายในสู่ภายนอกที่เราขอแนะนำ


Niacin / Vitamin B3
ไนอาซิน หรือ วิตามินบี 3 เป็นวิตามินตัวเดียวที่ร่างกายสังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโน ช่วยบำรุงสมองและประสาท รักษาสุขภาพของผิวหนัง ลิ้น และเนื้อเยื่อของระบบย่อยอาหาร จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ฮอร์โมนเพศและช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ไนอาซินมีในอาหารทั่วไปที่ได้จากสัตว์และพืช แหล่งที่มีมากคือ เนื้อสัตว์, เนื้อปลา, ถั่ว, ข้าว, เครื่องในสัตว์ แหล่งที่มีปานกลางได้แก่ มันฝรั่ง, ธัญพืช, แหล่งที่มีน้อยคือ น้ำนม, ไข่, ผัก และผลไม้


วิตามินเอ
วิตามิน เอ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ เรตินอยด์ (Retinoids) และแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) วิตามินเอเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยในเรื่องการป้องกันการเสื่อมอายุของผิวหนัง การซ่อมแซมผิวหนังที่เสียไป นอกจากนี้วิตามินเอยังมีความสำคัญต่อกระบวนการเติบโตของผิวหนัง และเป็นสารสำคัญที่ช่วยทำให้ผิวหนังมีการทำงานอย่างปกติ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันมะเร็งและเสริมสุขภาพตา แหล่งอาหารที่พบคือ ไข่, นม, เนย, ปลาแซลมอน, ปลา Halibut, ผักใบเขียว เช่น บร็อกโคลี, ผักโขม, แอสพารากัส, มะละกอ, แคนตาลูป, มะเขือเทศ, ฟักทอง



วิตามินบี-คอมเพล็กซ์
วิตามิน ในกลุ่มนี้ มีความสำคัญต่อสุขภาพผิวหนังเป็นอย่างมาก ช่วยในกระบวนการผลิตพลังงานภายในเซลล์ เช่น วิตามินบี 2 ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ วิตามินบี 3 ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และทำให้ผิวหนังไม่ซีด วิตามินบี 12 ช่วยในการแบ่งเซลล์ วิตามินบี 9 ช่วยในเรื่องการแบ่งและเจริญเติบโตของเซลล์ นอกจากนี้ กรดโฟลิกยังช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง แหล่งอาหารที่พบมากคือ บร็อกโคลี, มันฝรั่ง, เห็ด, แครอท, มะเขือเทศ, กะหล่ำปลี, ผักโขม, กล้วย, แอปเปิ้ล, มะเขือ, ผลไม้ในกลุ่มส้ม, ไข่, เนื้อไก่, เนื้อปลาแซลมอน และปลาทูน่า


Vitamin C
วิตามิน ซีเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการสังเคราะห์และช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทั้งนี้คอลลาเจนจะไม่สามารถทำงานได้หากขาดวิตามินซี นอกจากนี้วิตามินซียังมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว และชะลอการเกิดริ้วรอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การใส่ใจดูแลตัวเองด้วยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่สม่ำเสมอ นับเป็นหนึ่งในเคล็ดลับความงามที่พูดง่ายแต่ทำยาก แต่ WP ก็เชื่อว่า ถ้าเรามีความตั้งใจจริงก็สามารถสร้างสรรค์ตัวเองให้ดูสวยอ่อนเยาว์ได้โดยไม่ต้องพึ่งเทคนิคศัลยกรรม ยิ่งโดยเฉพาะในยุคนี้ มีอาหารเสริมวิตามินรสชาติอร่อยมากมายมาให้เลือกเป็นทางลัดด้วยแล้วยิ่งสบาย งั้นเรามาเริ่มกินและดื่มเพื่อผิวพรรณกันตั้งแต่นี้เลย...ดีไหม


Credit: นิตยสาร Women Plus

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ภัยคอนแทคเลนส์ "อะแคนทะมีบา"


ดวงตา คือ หน้าต่างที่ทำให้เรามองเห็นโลกกว้าง ถ้าไม่ดูแลรักษาให้ดีก็อาจทำให้เราก้าวเข้าสู่โลกมืด หรือ มีความผิดปกติทางสายตารุนแรงโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากละเลยข้อควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดก็อาจเป็นเหมือนการเปิดประตูต้อน รับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มองไม่เห็นอย่าง "อะแคนทะมีบา" เข้ามารุกรานและทำอันตรายต่อดวงตา

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.พญ.พนิดา โกสียรักษ์วงศ์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "อะแคนทะมีบา" เป็นโปรตัวซัวแบบเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ในน้ำและดิน มีช่วงชีวิต 2 แบบ คือ

1. แบบซีสต์ มีขนาด 10-25 ไมครอน เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เพียงแต่จะฝังตัวอยู่นิ่งๆ
2. แบบโทรโฟซอยต์ ที่เคลื่อนไหว มีขนาด 15-45 ไมครอน จะเปลี่ยนรูปร่างจาก ซีสต์ มีฤทธิ์ทำลายดวงตา


อย่างไรก็ตาม เชื้ออะแคนทะมีบาทั้ง 2 แบบ สามารถทนทานอยู่ได้นานในสิ่งแวดล้อมทุกรูปแบบ เช่น หนาวจัด ร้อนจัด แห้งแล้ง ขาดอาหาร สระว่ายน้ำที่ใส่คลอรีน หรือแม้แต่บ่อน้ำร้อน

เกี่ยวข้องอย่างไรกับคนใส่คอนแทคเลนส์
ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ สามารถพบกระจกตาอักเสบเนื่องจากติดเชื้ออะแคนทะมีบาได้ โดยส่งผลทำให้เกิดอาการดังนี้ ปวดตามาก สู้แสงไม่ได้ กระจกตาขุ่น ฝ้า เป็นแผลอักเสบที่กระจกตา ในบางรายดูคล้ายอักเสบเนื่องจากติดเชื้อไวรัสเริม

วิธีรักษา
ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ในส่วนของการรักษา โดยทั่วไปจะต้องหยอดตาด้วยยาฆ่าเชื้อนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องผสมจากน้ำยาบางชนิดที่ไม่มีขายในท้องตลาด โดยจะต้องหยอดตาบ่อยๆ เป็นเวลานานหลายเดือน หรืออาจเป็นปี และเฝ้าติดตามดูอาการเป็นระยะๆ นานหลายปี เนื่องจากเชื้ออะแคนทะมีบาสามารถมีชีวิตอยู่ในรูปแบบของซีสต์ได้นานหลายสิบ ปี ดังนั้นเมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีเชื้อโรคที่ไปเป็นอาหารชั้นดีของเชื้อ อะแคนทะมีบา ซีสต์ดังกล่าวก็จะแปลงร่างเป็นโทรโฟซอยต์ทำให้ดวงตาอักเสบทันที

ทำอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อ
1. ล้างมือทำความสะอาดโดยการฟอกสบู่หลาย ๆ ครั้ง ก่อนหยิบจับคอนแทคเลนส์
2. น้ำยาทำความสะอาดล้างเลนส์ ควรใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน ไม่เก่าเก็บเกิน 2 เดือนหลังจากเปิดใช้แล้ว
3. ขัดถูล้างเลนส์ทั้ง 2 ด้านเป็นเวลาพอสมควร ตลอดจนล้างขัดถูตลับแช่เลนส์ให้สะอาดทุกครั้งก่อนใส่น้ำยาแช่เลนส์ที่ เปลี่ยนใหม่ทุกวัน เพราะโรคนี้มักพบในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มบ่อยกว่าชนิดแข็ง โดยเฉพาะไม่ล้างทำความสะอาดเลนส์ทุกวันหรือใส่นอน
4. ควรนำตลับแช่เลนส์อบไมโครเวฟทุก 2-3 สัปดาห์ และเปลี่ยนตลับใหม่ทุก 2-3 เดือน เนื่องจากเชื้อโรคนี้อยู่ทนทาน

หากมีอาการหรือพฤติกรรมต่อไปนี้ อย่าใส่คอนแทคเลนส์
1.เปลือกตาอักเสบ
2.ตาแห้ง
3.เป็นโรคภูมิแพ้
4.ไม่มีเวลาดูแลล้างทำความสะอาดคอนแทคเลนส์

เนื่องจากเชื้ออะแคนทะมีบาเป็นสาเหตุสำคัญของอาการกระจกตาอักเสบและยังส่งผลให้เกิดแผลที่ดวงดา ที่ร้ายไปกว่านั้นคือมีความอดทนต่อยาที่ใช้รักษาทุกชนิด ทำให้ต้องหยอดยาเป็นเวลานาน และในบางรายอาจไม่ตอบสนองต่อยา เป็นผลให้เชื้ออาจมีการลุกลามไปทั่วทั้งกระจกตา จนเกิดอาการอักเสบทั้งลูกตาได้

การรักษาต้องหยอดยาเป็นเวลานาน ถ้ามีอาการอักเสบมาก จักษุแพทย์จะทำการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาให้ แต่ก็สามารถกลับมามีเชื้อชนิดนี้ได้อีก จึงต้องเฝ้าติดตามดูอาการเป็นเวลานาน และในบางรายอาจมีอาการหนักถึงขั้นที่ต้องได้รับการผ่าตัดเอาลูกตาออกในที่สุดแม้ว่าจะผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาแล้วก็ตาม เนื่องจากสามารถกลับมามีเชื้อชนิดนี้ได้อีก

ดังนั้นการใส่คอนแทคเลนส์แล้วปฏิบัติตัวไม่ถูกวิธี มีสิทธิติดเชื้อจนตาบอดได้ ยิ่งเห่อใส่ตามแฟชั่น ยิ่งต้องควรระวังมากกว่าปกติ เพราะหากดูแลดวงตาและรักษาคอนแทคเลนส์ไม่ถูกวิธี อาจมีเชื้อโรคเข้าสู่ดวงตาได้ง่าย หรือแค่ฝุ่นละอองปลิวเข้าตา ก็อาจพาเชื้อ อะแคนทะมีบา เข้าไปได้ด้วยเหมือนกัน ส่วนผู้ที่ไม่มีเวลาทำความสะอาดล้างเลนส์ แนะนำให้ใส่ชนิดรายวันแล้วทิ้ง หรือเปลี่ยนเป็นใส่แว่นตาจะปลอดภัยกว่า เพื่อให้ดวงตาคู่สวยของคุณมองเห็นโลกสดใสและจะอยู่คู่ชีวิตคุณได้ตลอดไป.

นวพรรษ บุญชาญ : สัมภาษณ์

Credit: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์